GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว หายนะภัยจากมนุษย์สู่มนุษย์(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2566-05-18) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutสภาพการณ์เลวร้ายต่างๆ ทางด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่สร้างปัญหาก่อภัยคุกคามร้ายแรงให้กับทุกชีวิตนี้ ล้วนเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์อันตรายที่ได้รับการยืนยันหนักแน่นจากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report: AR6) ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในปี พ.ศ. 2564 ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเพิ่มมากเกินในชั้นบรรยากาศนี้ ได้ส่งผลอันตรายเร่งให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกอย่างใหญ่หลวง ปัจจุบันปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศใกล้แตะระดับ 420 ppm และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปถึง 450 ppm ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นตามมาได้ถึง 2 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบจากก่อนยุคอุตสาหกรรม) ซึ่งถือเป็นจุดหักเหสำคัญที่จะทำให้โลกเข้าสู่จุดเปลี่ยน ด้วยภัยพิบัติต่างๆจะเกิดถี่ขึ้น หนักขึ้น และรุนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพยายามทำทุกวิถีทางที่จะต้องควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ให้ได้โดยเร็ว สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์นี้ จะทวีความรุนแรงถึงคนรุ่นต่อๆ ไปหรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับคนรุ่นปัจจุบันว่าให้ความสำคัญลงมือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้มากน้อยเพียงใดรายการ วิกฤตโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดจาก ความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผลการพึ่งพิงพลังงานกระแสหลักจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคอุตสาหกรรม โดยมีแหล่งปล่อยใหญ่มาจากภาคพลังงาน ผนวกกับการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปรับเปลี่ยนที่ดินมาใช้ขยายพื้นที่ต่างๆ โดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การละลายตัวของนํ้าแข็งขั้วโลก และภัยพิบัติต่างๆ ล้วนทวีความรุนแรงและปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการดำรงอยู่ของมนุษย์ สำหรับ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อไปจนถึงขีดอันตราย สามารถทำได้บนสามแนวทางหลักคือ (1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (2) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ (3) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งผลิต The global warming that causes climate change in today world is a situation that arises from an imbalance in the amount of greenhouse gases, especially carbon dioxide that increasing in the atmosphere, which is the cause of the severe greenhouse effect and which occurs due to the dependency on mainstream energy from fossil fuels that drive the economy of the industrial age world. The industrial age which has a large source of emission from the energy sector as well as having reinforcements from deforestation of the forest in order to change the land to be used to expand the various areas. This phenomenon has increased a severity of climate change, disasters, sea ice melt, which directly impact on environment and human livelihood. Therefore, the solutions to global warming could be achieved by reducing the emission of carbon dioxide in to atmosphere, and removing carbon dioxide from the atmosphere and from the generating sources emission.รายการ การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปกับสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน 2565, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-03-24) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ; กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; สำรวย เหลือล้น; วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์; อัจฉราพร โชติพฤกษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อค้นหาทักษะด้านสังคม (soft skill) ที่ผู้ประกอบการและอาจารย์ที่นิเทศก์งานสหกิจศึกษาต้องการจากนักศึกษาที่เข้าร่วมสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปกับสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม โครงการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาจากเอกสาร รายงาน วารสารและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเชื่อถือได้ และส่วนที่ 2 เป็นการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นของอาจารย์ที่นิเทศก์งานสหกิจศึกษา จำนวน 16 คน และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเป็นข้อคำถามแบบปลายเปิด (open-ended questionnaires) การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านสังคม (soft skill) ของนักศึกษาที่ควรได้รับการบ่มเพาะก่อนเข้าร่วมสหกิจศึกษา มี 16 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ทักษะด้านการสื่อสารและการนำเสนอ 3) ทักษะด้านการคิดเชิงสร้างสรรค์ 4) ทักษะด้านการสร้างนวัตกรรม 5) ทักษะด้านการคิด การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน 8) ทักษะด้านสื่อและเทคโนโลยี 9) ทักษะเฉพาะในสายอาชีพ 10) ทักษะด้านการใช้ชีวิตตามสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน 11) ทักษะด้านทัศนคติ 12) ทักษะความเป็นผู้นำ 13) ทักษะด้านอารมณ์ 14) ทักษะด้านการบริหารเวลา 15) ทักษะด้านการจัดการความคิด และ 16) ทักษะด้านเจรจา นอกจากนี้รูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปสามารถดำเนินการได้ 3 แนวทาง คือ 1) การบูรณาการผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ 2) การบูรณาการผ่านพันธกิจของสถาบันการศึกษากับรายวิชาที่เชื่อมโยงกับพันธกิจของสถาบันการศึกษา และ 3) การบูรณาการข้ามรายวิชาและข้ามศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลางรายการ รบกันไปพลาง ลดโลกร้อนกันไปพลาง(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2565-05-31) มนนภา เทพสุดวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากที่สุดที่กำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นภัยร้ายที่จะเกิดแก่มวลมนุษย์ และส่งผลให้ระบบนิเวศพังทลายลงไป ซึ่งเป็นผลสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน อันเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มนุษย์หได้ใช้พลังงานหลักจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล มนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ จึงจะสามารถชะลอหรือลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นการหยุดการเผาถ่านหิน ลดการใช้น้ำมัน ตลอดจนการปลูกป่าเป็นต้นรายการ ภาวะโลกร้อน(Sripatum University, 2561-12-20) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutบทความนี้ต้องการศึกษาถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสาเหตุ ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน มาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความรุนแรงเกินกว่าปกติ เหตุเพราะมีก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากผลการดาเนินกิจกรรมของมนุษย์ แพร่กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศจนเกินระดับความสมดุลทางธรรมชาติ วิกฤติสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุ และฝนที่ตกมาอย่างหนัก ซึ่งปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้ส่งผลกระทบทั้งต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการดารงอยู่ของมนุษย์ สาหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สามารถทาได้โดยการลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ บนสามแนวทางหลัก คือ 1) การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ 2) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ 3) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งผลิต ซึ่งถึงแม้ความพยายามแก้ปัญหานี้จะมีมานับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบังคับใช้พิธีสารเกียวโต หากแต่ภาวะโลกร้อนก็ยังคงเป็นปัญหาที่จะท้าทายมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต่อไปรายการ อยู่รอดอย่างไร ในยุคโลกร้อน(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2562-05-01) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยมีความร้อนแรงสูงสุดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอันตรายให้หลายพื้นที่โลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) สาเหตุสำคัญของปัญหามาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ และอีกประการหนึ่งมาจากไฟป่าที่มาซ้ำเติมให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น การอยู่รอดของมวลมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับความพยายามในการก้าวพ้นจากยุคพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่ยุคพลังงานทดแทน พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องรายการ หวยหุ้นยุคไทยแลนด์ 4.00(กรุงเทพธุรกิจ, 2562-02-14) อำนาจ วังจีนจากนโยบายหวย 80 บาท ของรัฐบาลที่เริ่มมาตั้งเดือน มิถุนายน 2558 จนถึงปัจจุบันราคาหวยก็ยังไม่ได้ 80 บาทอย่างรัฐตั้งใจ สำนักงานสลากกินแบ่งรับบาลได้เพิ่มจำนวนหวยมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันหวยที่จัดพิมพ์มีจำนวนมากถึง 90 ล้านใบต่องวด หรือ 90 ชุดๆ ละ 1 ล้านใบ คือ ตั้งแต่หมายเลข 000000 , 000001 , 000002 , … , 999999 ทำให้แต่ละงวดจะมีหมายเลขที่ซ้ำกันทุกตัวจำนวน 90 ใบ ทำให้พ่อค้าหัวใสต้องการสนองความต้องการของผู้เล่นหวยที่ต้องการถูกครั้งเดียวมากกว่า 6 ล้านบาท นำหวยที่มีเลขเหมือนกันมาจัดเป็นชุด เป็นออฟชั่นให้เลือก เช่น หวยชุด 40 ล้าน 80 ล้าน จนถึง 180 ล้าน (หมายถึงถูกรางวัลสูงสุดได้ 40 ล้าน 80 ล้าน จนถึง 180 ล้าน) ซึ่งจะมีราคาต่อใบไม่ต่ำกว่า 100 บาท และไม่แบ่งขาย ดังนั้น ความหวังของรัฐบาลให้เกิดเศรษฐีใหม่ 90 คนต่อ 15 วัน หรือ 180 คน ต่อเดือนจึงเป็นไปไม่ได้ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดให้ประชาชนซื้อหวยได้คนละจำนวน 1 ใบ และปัจจุบันนี้จำนวนหวยที่พิมพ์ก็มากกว่าจำนวนประชากรทั้งประเทศอยู่แล้ว เมื่อมีหวยออกมาจำนวนมาก จึงเป็นธรรมดาที่จำนวนผู้ขายก็มากตาม มีทั้งแบบบริการถึงหน้าบ้าน ถึงโต๊ะอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว วัด เทวสถาน ฯลฯ หวยจึงมีขายอยู่แทบทุกที่ทุกเวลา ร้านขายหวยมีมากกว่าร้านสะดวกซื้อ7-11 และปั๊มน้ำมัน ปตท. เสียอีก ส่งผลให้ปัจจุบันมีคนไทยติดการเล่นหวยอย่างหนักถึง 9 ล้านคน มีทั้งคนมีรายได้น้อยและคนมีรายได้มาก คำกล่าวที่ว่าคนจนเล่นหวยคนรวยเล่นหุ้น จึงใช้ไม่ได้ในยุคไทยแลน 4.0รายการ CIPP โมเดลประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ ชีวิตที่ต้องอยู่กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อภาวะโลกร้อน(2551-01-31) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ สรุปผลที่ได้จากการอ่านรายงานวิจัยสถาบัน เรื่อง แนวทางการปฏิรูปการจัดการอุดมศึกษา(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ รายงานการอ่านวิจัยสถาบัน เรื่อง การจัดการเรียนการสอน(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ การใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาอย่างมืออาชีพ(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ โรฮิงญา กับสิทธิมนุษยชนสากล(หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก, 2552-01-28) ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุลรายการ รุนแรงนิยม กับสังคมอุดมการณ์(กรุงเทพธุรกิจ, 2552-02-10) ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุลรายการ อาเซียน ทิศทางที่ยังจับต้องไม่ได้(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2552-03-05) ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุลรายการ การเมืองไม่ใช่ "อวิชชาธิปไตยและไสยศาสตร์"(หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก, 2552-03-31) ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุลรายการ สถาบันอุดมศึกษากับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ นักวิเคราะห์นโยบาย : ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์นโยบาย(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ วิจัยสถาบันคืออะไร ทำไปทำไม(2555-09-04T05:15:21Z) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ ๖๕ ปี "พระธรรมปิฎก" มองอเมริกาผ่านธรรมทัศน์(2555-09-04T05:12:12Z) ธนภณ สมหวัง