11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ผู้เขียน "ธนดล ถนอมนิรชรชัย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อในสัญญาซื้อขายรถยนต์ใหม่(2557-11-26T12:01:22Z) ธนดล ถนอมนิรชรชัยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ใหม่กับบริษัทผู้ขายรถยนต์ใหม่นั้นมีสาเหตุเกิดจากการไม่พยายามทาความเข้าใจกันเองของทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และต่างก็ยึดถือข้อได้เปรียบเสียเปรียบของบทบัญญัติของกฎหมายที่มีใช้อยู่ ซึ่งตามระบบการค้าเสรีทาให้ผู้ซื้อและผู้ขายต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเสรีภาพในการที่จะทาสัญญาซื้อขายได้อย่างคล่องตัว โดยอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา ดังนั้นในสารนิพนธ์นี้จะวิเคราะห์เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายของผู้ซื้อรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ 1) สิทธิปฏิเสธการรับชำระหนี้ 2) สิทธิปฏิเสธการชำระราคา 3) สิทธิเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซม 4) สิทธิเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ใหม่ 5) สิทธิเรียกค่าเสียหาย 6) สิทธิเรียกราคาคืนหรือสิทธิเลิกสัญญา สิ่งนี้ทำให้บทบาทของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐในปัจจุบันก็ยังถูกมองว่าเป็นแค่ “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่สามารถทำการประสานความเข้าใจระหว่างผู้บริโภคและบริษัทรถยนต์ได้ จึงทำให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ติดตามมาเช่นปัจจุบันนี้ จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องในรถยนต์อาจจะต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการร้องเรียนเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่พบปัญหารถยนต์ชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังที่มีการส่งมอบจากการซื้อขายรถยนต์ใหม่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อหามาตรการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ครอบคลุมชัดเจนมากกว่าเดิม ผู้วิจัยเน้นศึกษาเฉพาะความชารุดบกพร่องตามบัญญัติกฎหมายไทยได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 มีใจความสาคัญว่า “…ผู้ขายต้องรับผิด...” ซึ่งกรณี ที่ผู้ขายต้องรับผิดนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักเกณฑ์ว่าด้วยความ รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องไว้กว้างๆ แต่เพียงว่าในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่อง ผู้ขายต้องรับผิด แต่ไม่ได้บัญญัติ ไว้ด้วยว่าที่ผู้ขายต้องรับผิดนั้น ต้องรับผิดอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของนักกฎหมายและศาลที่จะต้องตีความกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของผู้ขายให้ได้ความกระจ่าง โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายลักษณะ ซื้อขาย ลักษณะหนี้หลักทั่วไป และลักษณะสัญญาเป็นเครื่องช่วย ซึ่งในเบื้องต้นจะต้องทาความเข้าใจให้กระจ่างเสียก่อนว่า ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องของผู้ขายนั้น แท้จริงก็คือความรับผิดเพื่อการไม่ ชำระหนี้นั่นเอง ทั้งนี้ เพราะหนี้ตามสัญญาซื้อขายนั้นหาได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์เท่านั้นไม่หากยังรวมไปถึงหนี้ส่งมอบทรัพย์โดยปราศจากความชารุดบกพร่องซึ่งเป็นหนี้ ที่กฎหมายลักษณะซื้อขายได้รับรองไว้เป็นพิเศษ การที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์สินที่ขายแก่ผู้ซื้อยังไม่พอที่จะเรียกได้ว่าผู้ขายได้ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ก็เรียก ได้ว่าเป็นการไม่ชำระหนี้เหมือนกันสิทธิของผู้ซื้อก่อนที่จะดำเนินการทางกฎหมาย ในปัจจุบันจากปัญหาเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ได้รับการแก้ปัญหาด้วยความชอบธรรมก็ มักจะอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลาง หากไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขให้ได้รับความชอบธรรมก็มีสิทธิที่จะนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้ต่อไปตามสิทธิของผู้ซื้อผู้ศึกษาวิจัยได้ศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้ และขอเสนอแนะให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยที่เกี่ยวกับเรื่องความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่อง ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์ที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ขายได้โฆษณาไว้ รวมถึงกรณีที่ผู้ขายจัดทำคู่มือบกพร่องไม่สามารถทำให้ผู้ซื้อเข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้ทรัพย์นั้นๆ สิ่งนี้เพื่ออุดช่องว่างของ กฎหมายไทยและแก้ไขปัญหาในการตีความกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อให้ได้รับความเป็นธรรม และควรบัญญัติสิทธิของผู้ซื้อ กรณีที่เกิดความชำรุดบกพร่อง โดยระบุให้สิทธิผู้ซื้อเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซม ทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่อง หากผู้ขายไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ ควรกาหนดว่าผู้ขายต้องรับผิดอย่างไรตามหลักกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ระบุความรับผิดของผู้ขายไว้อย่างชัดเจน มีรายละเอียดสาคัญคือ สามารถเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซมรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่องได้ 2 ครั้ง หากเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซมรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่องจานวน 2 ครั้งแล้วไม่ได้ผล ผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาหรือขอเปลี่ยนแปลงทรัพย์ใหม่ได้ หรือขอให้ลดราคาตามสัดส่วนได้หรือผู้ซื้อสามารถเรียกค่าเสียหายได้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องเสียไปเพราะเหตุทรัพย์ที่ซื้อเกิดความชำรุดบกพร่อง อาทิ ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน ค่าลาเลียง ค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดี ค่าเสียหายที่เกิดต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้ซื้อ