11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 59
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน(2554-09-24T03:14:40Z) โชคดี ยี่แพร่งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในโครงการ ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะจากการก่อสร้าง 2) ศึกษากระบวนการจัดการขยะจากการก่อสร้าง และ 3) นำเสนอแนวทางในการจัดการขยะของ โครงการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ วิศวกรควบคุมงาน หรือบุคคลที่รับรู้สถานการณ์หน้างาน จาก โครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทอาคารพักอาศัย ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างในส่วนของการสัมภาษณ์จำนวน 30 ตัวอย่าง และในส่วนการออกแบบ สอบถามจำนวน 61 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาสัดส่วนของขยะที่เกิดจากวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด และสัดส่วนของขยะจากวัสดุ ก่อสร้างในการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ 1 อาคาร พบว่าวัสดุกลุ่มบรรจุภัณฑ์ของวัสดุต่างๆ และ วัสดุกลุ่มไม้รูปพรรณ เป็นวัสดุที่ก่อให้เกิดขยะจากกระบวนการก่อสร้างมากที่สุด การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะจากการก่อสร้าง พบว่าสภาพปัญหาที่ทำให้เกิดขยะใน กระบวนการก่อสร้างแยกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก คือ สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโครงการ และ สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติงาน โดยสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโครงการมีสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดขยะจากการก่อสร้างคือ การสื่อสารกับส่วนปฏิบัติงานไม่ชัดเจน และการขาดการ วางแผนงานก่อสร้าง ส่วนสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติงานมีสาเหตุหลักที่สำคัญคือ คนงานขาด ทักษะในการทำงาน และการแก้ไขงานเนื่องจากผลงานไม่ได้มาตรฐาน II จากการออกแบบสอบถามผู้จัดการโครงการแต่ละโครงการถึงการให้ระดับความสำคัญของ ขั้นตอนในกระบวนการจัดการขยะ พบว่าขั้นตอนที่โครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ ความสำคัญมากที่สุดคือ การศึกษาแบบก่อนลงมือทำงาน และการสั่งงานที่ชัดเจน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะจากการก่อสร้าง พบว่า แนวทางการจัดการขยะจากการก่อสร้างมี 12 แนวทาง ซึ่งเมื่อนำมาทำแบบสอบถามผู้จัดการโครงการ พบว่าแนวทางที่นำมาปฏิบัติแล้วเกิดประสิทธิภาพในการจัดการขยะมากที่สุดคือ การจัดทำแผนงาน ก่อสร้าง และการศึกษาแบบก่อนลงมือทำงาน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการลดปริมาณขยะจาก การก่อสร้างรายการ การจัดการใช้เครื่องทำน้ำเย็นในลานน้ำแข็งเพื่อการประหยัดพลังงาน(2554-09-24T08:04:13Z) ธนาธิษณ์ ห้าวหาญวิทยานิพนธ์นี้ได้รับการศึกษาระบบการทำงานของลานน้ำแข็ง ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการลดพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการทำงานของลานน้ำแข็งรายการ การตรวจสอบอาคารด้านสถาปัตยกรรมเพื่อวางแผนป้องกัน(2554-09-24T09:29:40Z) สนาน ตันเฮงอาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 เป็นอาหารใหญ่พิเศษสูง 36 ชั้น มีพื้นที่รวม 118,000 ตารางเมตร ขออนุญาตก่อสร้างปี 2537 เริ่มใช้งานปี 2543 เปิดใช้งานมาเป็นเวลา 10 ปี ดำเนินธุรกิจเป็นสำนักงานให้เช่ารายการ การนาโปรแกรมประยุกต์ใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยอานวยความ สะดวกในการสื่อสาร และ การควบคุมงานก่อสร้าง ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต : กรณีศึกษาบริษัท อ.ชาวสวน คอนสตรัคชั่น จำกัด(2557-11-20T12:11:25Z) โอปอล ไพรสณฑ์การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การทดลองการนาโปรแกรมประยุกต์ใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการสื่อสาร และ การควบคุมงานก่อสร้างผ่านทาง อินเทอร์เน็ต :กรณีศึกษาบริษัท อ.ชาวสวน คอนสตรัคชั่น จำกัด เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังจากการนาโปรแกรมประยุกต์ มาใช้เพื่อหาแนวทางใหม่ในการลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และทาให้การบริหารงานก่อสร้างทาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้ศึกษาเลือกที่จะเปิดให้ทางผู้ปฎิบัติงานผู้ศึกษาได้ทาการทดลองให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆคือ กรรมการผู้จัดการ, วิศวกร, สถาปนิกและโฟร์แมน ทาการทดลองใช้งานเพื่อเลือกเพียง 1 Application ที่ได้คะแนนสูงสุดไปทาการทดลองตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน โดยผู้ใช้งานต้องสร้างข้อมูลและกาหนดค่าต่างๆขึ้นมาเองในค่าน้าหนัก (Weight) โดยการกาหนดค่าน้าหนักของเกณฑ์การวิเคราะห์ เพื่อให้ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับผู้ร่วมงานส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ การศึกษานี้ยังได้มีการเปรียบเทียบกับ โปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ ซึ่งหลักการทางานและวิธีการใช้งานของตัวซอฟต์แวร์ดังกล่าวใกล้เคียงกันและ เพื่อนาข้อมูลที่ทาการศึกษาไปเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ จากการศึกษาทดลองพบว่าจากการเปรียบเทียบหัวข้อดังต่อไปนี้คือ 1. ความเหมาะสมด้านราคา 2. COORDINATION 3. ความสะดวกในการใช้งานของบุคลากรในองค์กร โดยมีที่มาจากความนิยมของผู้ใช้ การดาวน์โหลดใน App Store การเลือกใช้ Application ที่ใช้ในด้านการสื่อสารและใช้ในการประสานงาน 1. Teamviwer 2. Remote System Moniter และ 3. Join me viewer พบว่า Teamviwer เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพดีกว่า การเลือกใช้ Application ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและติดตามการทางานของผู้ควบคุมงาน 1.Tango 2.Line 3.Skype พบว่าSkypeมีความ เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพดีกว่า และการเลือกใช้ Application ที่ใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างโดยใช้กล้อง IP Camera และเครื่องบันทึก AVTECH H.264 4 Channel DVR ซึ่งเครื่องบันทึกข้อมูลซึ่งต้องใช้Application เฉพาะรุ่นจึงจะสามารถอ่านไฟล์จากเครื่องบันทึกได้คือ Application ที่ชื่อว่า Eagle Eyes ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงจาเป็นที่จะต้องใช้ Eagle Eyes ในการศึกษาทดลอง จึงไม่ได้มีการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์หา Application ที่มีความเหมาสมกับการศึกษาทดลองนี้ จาดการทดลองครั้งนี้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการการบริหารจัดการโครงการนั้นโดยสามารถลดปัญหาหน้างานได้ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และทาให้การบริหารงานก่อสร้างทาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ทั้งผู้ทาการศึกษา และผู้ที่สนใจสามารถนาความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการบริหารโครงการได้จริง และเกิดประโยชน์ในสายงานการบริหารงานก่อสร้าง โดยสามารถเปรียบเทียบผลก่อนและหลังทาการศึกษาดังนี้ 1 ไซด์ /1 เดือน ลดจานวนการเข้าไซด์ 8 ครั้ง / เดือน ลดเวลา 16 ชั่วโมงในการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย 4000 บาท ต่อ 1 ไซด์ ลดCost ได้เท่ากับ 33.34% ซึ่งในการทางานจริงจะทาพร้อมกัน 4 ไซด์ ลดจานวนการเข้าไซด์ 32 ครั้ง ลดเวลา 64 ชั่วโมง ลดเวลา 64 ชั่วโมง ใน 1 เดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มแนวทางใหม่ โดยการเลือกใช้ต้องคานึงถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ด้วยรายการ การนำระบบ BIM ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร (M&E AS BUILT DRAWINGS) กรณีศึกษาโครงการโรงแรม เวฟพัทยา(2557-11-18T08:58:03Z) ปัญญาพล จันทร์ดอนการศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ หารทดลองนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงส่วนงานระบบอาคาร (M&E As Built Drawings) กรณีศึกษาโครงการโรงแรมเวฟพัทยาโดยผู้ศึกษาเลือก Software ที่เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี จึงเลือก Software ที่ชื่อว่า Tekla BIMsight มาใช้ทำการศึกษาทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร เฉพาะงานระบบสุขาภิบาลซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของการใช้ Tekla BIMsight ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงซึ่งพบว่า TeklaBIMsight มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจาก Tekla Structure ซึงเป็น Software ที่เป็นฐานข้อมูลของ TeklaBIMsight เป็น Software สำหรับงานโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กเพราะในตัว Software เองมีข้อมูลสำเร็จรูปของเหล็กอย่างครบถ้วน ซึ่งในส่วนของระบบสุขาภิบาลตัว Software ไม่ข้อมูลสำเร็จรูปรองรับผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานต้องสร้างข้อมูลโดยกำหนดค่าต่างๆขึ้นมาเองในส่วนงานระบบสุขาภิบาลทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งานในส่วนนี้ แต่ข้อดีคือ TeklaBIMsight ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับการ Review เพื่อตรวจสอบส่วนต่างๆของงานสุขาภิบาล การแสดงผลของ TeklaBIMsight จะแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติเพื่อประโยชน์ในการวัดระยะต่างๆอีกทั้งยังสามารถ Note บันทึกตำแหน่งภาพหรือจุดต่างๆที่ต้องการใน Models แล้วส่งข้อมูลที่ Note ไปยังผู้ร่วมงานส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งทำเกิดความสะดาวกและเข้าใจได้ง่ายต่อผู้ใช้งาน และยังสามารถใช้งานบนแท็บเล็ตภายใต้ Application ที่ชื่อว่าTeklaBIMsight Note ซึ่งจะช่วยเกิดความสะดวกรายการ การนำเอารายงานอุบัติเหตุในการทำงานก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการจัดการด้านความปลอดภัย(2554-09-24T05:21:41Z) ภากร วงตะธรรมการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุในงานก่อสร้างและเสนอแนะมาตรการ ป้องกันและเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล รายงานอุบัติเหตุในงานก่อสร้างด้านบุคลที่เกิดขึ้นของบริษัทข้ามชาติ ณ หน้างานก่อสร้างโครงการวาง ท่อส่งก๊าชธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการเรื่อง Accident/Incident Investigation ของ International Loss Control Institute, Inc. is a part of Det Norske Veritas Industry A/S. Modern Safety Management USA.1996 เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดระบบการ จัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าในภาพร่วมของปัญหาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้านบุคคลที่ต้องแก้ไข ด้วยการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่มีอยู่แล้ว จำนวน 5 ระบบได้แก่ ระบบ การ ส่งเสริมทั่วไป เช่น ระบบการสนทนาเรื่องความปลอดภัย ระบบบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับความ ปลอดภัย ระบบธงหรือแผ่นป้ายความปลอดภัย, ระบบการวิเคราะห์และขั้นตอนปฏิบัติงาน, ระบบ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (ในส่วนของการบังคับใช้ให้เป็นไปตามข้อกำหนด), การตรวจสอบ และบำรุงรักษาตามแผน (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน), ระบบการควบคุมด้านสุขภาพอนามัย ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ในกรณีที่หน่วยงานที่มี โปรแกรมทางด้านความปลอดภัยอยู่แล้วควรทบทวน ทำการปรับปรุงวิเคราะห์ระบบให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อเทคโนโลยีก่อสร้างเสมอ และ เมื่อนำระบบการจัดการทางด้านความปลอดภัยมาใช้แล้วจำเป็นที่ จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจวัดเพื่อประเมินผลการปฎิบัติงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่และการ ทำรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ/เหตุการณ์ผิดปกติควรมีการตรวจสอบวัดคุณภาพของแบบฟอร์มของ รายงานสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ไข II การศึกษาครั้งนี้พบว่ารายงานการสอบสวนอุบัติเหตุมีรายละเอียดไม่เพียงพอ/แบบฟอร์ม รายงานอุบัติเหตุไม่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยเทียบกับทฤษฏีในวิชาการจัดการความปลอดภัยดังนั้นการ ตรวจสอบวัดคุณภาพของแบบฟอร์มของรายงานสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อใช้เป็นข้อมูลในเปรียบเทียบ จะ ช่วยให้ การวิเคราะห์ถูกต้องแม่นยำขึ้นรายการ การบริหารก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์ กรณีศึกษา :โครงการไวน์ คอนเนคชั่นเดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่(2557-11-19T09:23:02Z) ศราวุธ จาปานันท์งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารการก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์และเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานภายในโครงการ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหา โดยแบ่งลักษณะของการศึกษาการบริหารงานออกเป็น 4 หมวด คือ ศึกษาหลักการและเหตุผล ศึกษาแนวคิดในการบริหารโครงการ ศึกษาปัญหาและสาเหตุ รวมถึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาดังกล่าว การดาเนินวิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ แบบเฉพาะเจาะจงจานวนทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย โดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่าโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์นั้น ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับสูง มีประสบการณ์ และความเข้าใจในการบริหาร มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย โดยสามารถสรุปหลักการและแนวคิดของการบริหารงานได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลาและแผนการดาเนินงาน ด้านงบประมาณ ด้านรูปแบบอาคารและความสวยงาม ด้านความสัมพันธ์กับที่ตั้งโครงการ ด้านความสัมพันธ์กับระบบการจัดการ ด้านประสิทธิภาพในการทางาน ด้านเทคนิคที่ใช้ในการก่อสร้าง ด้านความปลอดภัย และจากการวิจัยสามารถสรุปประเด็น I ของปัญหาและสาเหตุได้ทั้งสิ้น 5 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านวัตถุประสงค์โครงการ ปัญหาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านวิธีการและการจัดการ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการติดต่อประสานงานข้อมูลและข่าวสาร ดังนั้นผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ที่ควบคุมและจัดการ การบริหารโครงการจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องของทั้งด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม และการจัดการอย่างดี เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถในการคาดการณ์ และสอดประสานระบบงานส่วนต่างๆ ควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน ความเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของแต่ละโครงการเป็นสาคัญรายการ การบริหารจัดการพื้นที่อาคาร(ส่วนรับประทานอาหาร(2554-09-25T02:16:58Z) วิจิตรา ยวดยิ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การบริหารจัดการพื้นที่อาคารโรงอาหาร(ส่วนรับประทานอาหาร) คือการจัดการ(Management)พื้นที่ในส่วนนั่งรับประทานอาหาร (Dining space) และการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ให้ถูกต้องตรงกับลักษณะใช้งานรายการ การบริหารอาคารชุดพักอาศัยคอนโคมิเนียมระดับสูง กรณีศึกษา อาคารชุดอกัสตัน สุขุมวิท 22(2554-09-24T07:52:15Z) ตฤษนันท์ บุญมั่งการศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้พักอาศัยอาคารชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสิ่งที่ เป็นความพอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่บริษัทผู้บริหารอาคารชุดได้ดำเนินการอยู่ เพื่อนำข้อมูลจากผู้ พักอาศัย มาปรับปรุงงานของการบริหารงานอาคารชุด ของบริษัท ABC จำกัด ให้เกิดการพัฒนา และก้าวหน้าโดยเฉพาะด้านบุคลากร และการสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมา รองรับความต้องการของผู้พักอาศัยอาคารชุดรวมถึงการวางแผนการก่อสร้างและการจำหน่าย อาคารชุดในอนาคตซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วยโดยมีแบบสัมภาษณ์ ผู้พักอาศัยอาคารชุดในเรื่องความพึงพอใจในด้านต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรม และการบริหารจัดการ อาคารชุดเป็นเครื่องมือในการศึกษา และขอบเขตการศึกษาครอบคลุมเฉพาะความต้องการความ คิดเห็นของผู้ที่ได้พักและอาศัยในอาคารชุดที่มีต่อ บริษัท ABC จำกัด ผู้บริหารงานอาคารให้เท่านั้น ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2553 กรอบแนวคิดในการศึกษา กำหนดแนวทฤษฎีของกลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับหน้าที่ ใน การศึกษามุ่งเน้นเรื่องความต้องการ ความพึงพอใจ ความคิดเห็นต่อการบริหารงานอาคารชุดของ บริษัทผู้บริหารอาคารชุด ผลการศึกษาพบว่า ผู้พักอาศัยอาคารชุดมีความพึงพอใจกับการให้บริการ ของทีมงานฝ่ายจัดการอาคารชุดเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการด้านต่างๆ ความเป็นผู้มี หัวใจในการบริการแก่ผู้พักอาศัยอาคารชุดทุกคนจากทีมงานฝ่ายจัดการ ตลอดจนการแจ้งกลับ ข่าวสารอย่างถูกต้องรวดเร็วแก่ผู้พักอาศัย จึงเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการบริหารงาน ความ ปลอดภัยและความสะอาดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้พักอาศัยต้องการมากเช่นกัน แม้แต่เรื่องการจัดห้อง สันทนาการ สระว่ายน้ำ ซึ่งผู้พักอาศัยก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาและ อุปสรรคสำคัญของงานบริหาร คือความร่วมมือจากผู้พักอาศัยอาคารชุดยังมีระดับที่ไม่มากนักใน การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางฝ่ายบริหารจัดขึ้น สิ่งที่ควรนำเข้ามาเสริมในการบริหารจัดการคือ มี หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานกับผู้พักอาศัยอาคารชุดให้ เข้าร่วมกิจกรรมหรือการเข้าร่วมสรรหาความคิดในการบริการด้านต่างๆ ที่ผู้พักอาศัยมีความพึง พอใจสูงสุด ข้อเสนอแนะ บริษัทผู้บริหารงานอาคารชุด ควรนำข้อมูลเข้าเกี่ยวข้องกับ การจัดกิจกรรมเพื่อให้สัมพันธ์ต่อกลุ่มของผู้พักอาศัยให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ อาชีพ ความ ต้องการ ระยะเวลาเดินทางจากบ้านไปทำงาน และจากที่ทำงานถึงบ้าน ซึ่งโดยสรุปคือ ด้านการ บริการ ต้องทำให้ตรงจุดที่ลูกค้าต้องการ ต้องให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ถูกต้อง รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของบริษัท ผู้บริหารงานอาคารชุดได้มีความรู้ ความชำนาญ มากขึ้น และยังมีการเสริมทักษะด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อบริการผู้พักอาศัยอาคารชุดให้ได้ตรง ตามต้องการมากที่สุดใส่ข้อความ คำสำรายการ การประยุกต์ใช้ Enterprise Content Management (การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูล) ในงานบริหารจัดการทรัพยากรอาคารกรณีศึกษา การบริหารจัดการการขอใช้สิทธิที่จอดรถ ของผู้พักอาศัยนิติบุคคลอาคารชุด(2557-11-16T05:15:41Z) ณัฏฐณิชา อัศวพลังกูลการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ ได้ทำการศึกษาการออกแบบเว็บเพจ โดยมีวัตถุปะสงค์ เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการ งานบริหารทรัพยากรอาคารชุด ส่วนของเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน, คุณสมบัติ และสิทธิของผู้ทำเรื่องขออนุมัตินำรถเข้าจอดในลานจอด สามารถช่วยให้การจัดการเกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ในด้านการติดต่อสื่อสาร และในด้านความถูกต้องของการอนุมัติสิทธิการใช้ลานจอด แนวทางในการออกแบบและจัดทำเว็บเพจ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า เทคโนโลยี ECM สามารถเข้ามาประยุกต์ได้อย่างลงตัว นั่นคือตอบโจทย์องค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ 1.ด้านเอกสาร เพื่อบริหารการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล สำหรับองค์ประกอบหลักของการบริหารงานด้าน FM ในสองแกนหลัก คือ People และ Place ซึ่งค่อนข้างผูกอยู่กับเอกสารต่างๆ ค่อนข้างมาก 2.ด้านกระแสงานต่างๆ โดยในกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นจริง ในการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับคอนโดมิเนียมนั้น กระแสงาน (workflow) ที่เป็นอยู่นั้น มักเป็นกระแสงานที่ต้องมีเอกสารเกี่ยวข้องเสมอ เช่น กระบวนการขอสติ๊กเกอร์จอดรถ ที่เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นต้นรายการ การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร กรณีศึกษา อาคารสถานศึกษา 14 ชั้น(2554-09-24T07:44:56Z) ฐานันต์ วชิรศักดิ์ชัยการค้นคว้าอิสระนี้เป็นการประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร โดยเลือก อาคารสถานศึกษา แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา เนื่องด้วยเป็นอาคารที่ได้รับ ใบอนุญาตก่อสร้างในปี พ.ศ. 2532 ก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 2532 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 เป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกำหนดให้อาคารสูงและ อาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้ทำให้ อาคารกรณีศึกษา ไม่ได้จัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยถือว่าเป็นส่วนสำคัญและเป็นพื้นฐานในการบริหาร ทรัพยากรอาคาร เนื่องจากอัคคีภัยถือเป็นอุบัติภัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ ชื่อเสียงอย่างสูง โดยเฉพาะอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีผู้ใช้อาคารเป็นจำนวนมาก การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารกรณีศึกษา จะทำให้ทราบถึง ข้อบกพร่องในด้านการป้องกันอัคคีภัย นำไปสู่การวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุง การศึกษานี้ได้นำเอาข้อกำหนดด้านการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540)) มาจัดทำเป็น แบบสำรวจและประเมิน การเก็บข้อมูลดำเนินการ โดยสอบถามข้อมูลจากผู้จัดการอาคาร แบบ และเอกสารต่าง ๆ ของอาคาร และจากการสำรวจโดยตนเอง ข้อบกพร่องและจุดเสี่ยงที่พบจาก การสำรวจและประเมินจะนำมาวิเคราะห์หาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ และนำ วิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงต่อไป III ผลการสำรวจและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารกรณีศึกษา พบ ข้อบกพร่องทั้งหมด 22 รายการ จากรายการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 42 รายการ โดยเป็นสภาพที่ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมาย 19 รายการ และปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายแต่ขณะทำ การสำรวจพบว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ 3 รายการ เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงและเตรียมพร้อม รับมือเหตุอัคคีภัย ในการเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงนั้น ได้คำนึงถึงความรุนแรงของผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุและความยากในการปรับปรุง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดการอาคารและ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้อาคารมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัย ถือเป็นความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้อาคาร และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการ บริหารทรัพยากรอาคาร ในส่วนสุดท้าย ได้นำเสนอแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านอัคคีภัย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ แผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ และการ ติดตามประเมินผล ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นแผนในการดำเนินงานสำหรับ อาคารในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนรายการ การประเมินประสิทธิภาพทางหนีไฟ กรณีศึกษา อาคารสำนักงาน 32 ชั้น ย่านสุขุมวิท(2554-09-24T08:36:50Z) จิระศักดิ์ สะอาดการค้นคว้าอิสระนีเ้ป็นการประเมินประสทธิภาพทางหนีไฟ โดยเลือกอาคารประเภท สำนักงานที่ตัง้อยู่ย่านสุขุมวิท เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้ขออนุญาตและก่อสร้างก่อนปีพ.ศ. 2535 ก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกำหนดให้ อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด วัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพความปลอดของทางหนีไฟใน ครั้งนีเ้พื่อประเมินและตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ตามกฏหมาย เพื่อให้รู้ ว่าอาคารที่สร้างขึน้ ถูกต้องตามกฏหมายในขณะนัน้ แต่ตอนนีมี้กฏหมายที่ใหม่กว่า ดีกว่าและมี ความปลอดภัยเมื่อศึกษาแล้วทำให้ผู้บริหารทรัพยากรอาคารได้ทราบจุดบกพร่องของเส้นทางหนี ไฟ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อที่จะรักษา ชื่อเสียง ความแข่งขันเรื่งความปลอดภัย เพื่อ ปกป้องและลดความเสี่ยงโดยสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยตามกฏหมาย ฉบับใหม่เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารทรัพยากรอาคารสามารถนำไปประเมินเบือ้งต้นและทำการ ปรับปรุง ผลการสำรวจและประเมินประสิทธิภาพทางหนีไฟของ อาคารสำนักงาน ย่านสุขุมวิท พบไม่ผ่านทัง้หมด 14 รายการ จากรายการที่ทำการสำรวจทัง้หมด 35 รายการ โดยที่ผ่านเป็นไป ตามข้อกำหนดในกฎหมายมี 21 รายการรายการ การศึกษาการนำระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัท เทซ ลิมิเด็ด จำกัด(2554-09-24T05:29:18Z) นันทชัย ก่อกิจโรจน์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ในรูปแบบของแบบสอบถาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนาระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้าง ระหว่างเริ่มการก่อสร้างจนถึงส่งมอบงาน ของแต่ละระดับงานในการควบคุมงานก่อสร้างของทุกประเภทโครงการภายในบริษัท เทซ ลิมิเต็ด จากัด ซึ่งจากผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นและความเข้าใจเกี่ยวกับการนาระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างไปใช้งาน ระหว่างเริ่มการก่อสร้างจนถึงส่งมอบงาน ของแต่ละระดับงานในการควบคุมงานก่อสร้างของทุกประเภทโครงการ อยู่ในเกณฑ์ที่มีการนาไปใช้งานมาก เนื่องจากในการก่อสร้างมีการประสานงานและมีการติดต่อสื่อสารในระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้น เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประสานงานจึงมีความสาคัญ โดยการที่ได้นาระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างจึงมีความสาคัญและเป็นประโยชน์ในการควบคุมงานก่อสร้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของงานบริษัทวิศวกรที่ปรึกษางานก่อสร้าง ซึ่งต้องประสานงานกับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง อาทิเช่น ฝ่ายเจ้าของโครงการ ฝ่ายผู้ออกแบบ และฝ่ายผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น และจากการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการนาระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้าง ระหว่างเริ่มการก่อสร้างจนถึงส่งมอบงาน ของแต่ละระดับงานในการควบคุมงานก่อสร้างของทุกประเภทโครงการ พบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่มีผลกระทบในการนาไปใช้งานปานกลาง เนื่องจากการนาระบบควบคุมคุณภาพ ISO II 9001:2008 ไปใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างนั้น จะมีระบบเอกสารต่างๆ จานวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการนาไปใช้หากผู้ที่นาไปใช้ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบเอกสารควบคุมคุณภาพ ISO 9001:2008 และอาจขาดการแนะนาให้กับทางผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างเข้าใจในระบบควบคุมคุณภาพ ISO 9001: 2008 แล้ว ก็จะมีผลกระทบต่อการนาไปใช้ในการควบคุมงานก่อสร้างรายการ การศึกษาการบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าส่วนกลางในอาคาร(2554-09-24T09:16:59Z) ศักดิ์นรินทร์ ชาดีงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานของเครื่องจักรในระบบปรับอากาศเนื่องจากระบบปรับอากาศเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดถึง 63 เปอร์เซ็นต์ของระบบประกอบอาคารทั้งอาคารรายการ การศึกษาข้อดี ข้อเสียของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน กรณีศึกษา งานตกแต่งร้านค้าในพื้นที่เช่าของห้างสรรพสินค้า ของบริษัท เฟอร์เนีย จำกัด(2557-11-18T08:39:54Z) เดชา วัฒนนามกุลงานตกแต่งภายในมีการแบ่งระบบการจ้างงานออกเป็นหลายรูปแบบ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน โดยเปรียบเทียบด้านต้นทุน และระยะเวลา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการศึกษาข้อดี ข้อเสียของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน ซึ่งขอบเขตของเนื้อหาเป็นงานตกแต่งร้านค้าในพื้นที่เช่าของห้างสรรพสินค้า ของบริษัท เฟอร์เนีย จำกัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบด้านต้นทุน และระยะเวลาของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาระบบการจ้างงานทั้ง 2 ระบบ ในงานตกแต่งภายใน จากนั้นสำรวจ และเก็บข้อมูลจากตัวอย่างโครงการที่มีระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในด้านต้นทุน และระยะเวลา แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วน ผลการวิจัยสรุปว่า ในหมวด 100 Material ของสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าสูงกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 25.79 และร้อยละ 24.53 จากมูลค่าโครงการตามลำดับ ในหมวด 200 Subcontractor จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าต่ำกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 29.92 และร้อยละ 50.93 จากมูลค่าโครงการตามลำดับ ในหมวด 300 Administrative & Expense จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าสูงกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 3.13 และร้อยละ 1.99 จากมูลค่าโครงการ ในหมวด 400 Staff Expenses จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าต่ำกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 1.50 และร้อยละ 4.88 จากมูลค่าโครงการ ส่วนด้านระยะเวลาพบว่าระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยวใช้ระยะเวลาน้อยกว่าระบบการจ้างงานแบบสัญญาแยกส่วนรายการ การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์=A STUDY OF CUSTOMERS SATISFACTION TOWARDS SERVICES MARKETING MIX OF RYU SHABU SHABU SIAM SQUARE(2558-01-22T09:48:00Z) วิไลวรรณ บุญวิเซ็นต์การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ว่ามีผลต่อระดับความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์หรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ จานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ One Way ANOVA จากผลการศึกษาพบว่า 1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยคิดเป็นร้อยละ 53.5 ซึ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 21-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.8 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50.5 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.8และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ากว่าหรือเท่ากับ15,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 42.5 2.ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์จาแนกตามปัจจัยของส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความพึงพอใจในด้านช่องทางการจัดจาหน่ายมากสุดรองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์และการนำเสนอ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการในการทางาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการขาย ลดหลั่นลงมาตามลำดับ 3.ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ที่มีเพศแตกต่างกัน ให้ความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมต่างกันรายการ การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง = WORKING SATISFACTION OF PERSONNELFINANCE DEPARTMENT, BUREAU OF THE ROYAL HOUSEHOLD(2558-01-21T12:43:15Z) สุทธกร เฟื่องกรณ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกองคลังสำนักพระราชวัง จำนวน 120 ราย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาคือ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การหาจำนวน ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation : S.D) ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง ทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากอยู่ 4 ด้าน โดยด้านความมั่นคงในงานและชื่อเสียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการได้รับการยอมรับนับถือมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และด้านนโยบายในการบริหารมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ส่วนด้านที่มี ระดับความพึงพอใจปานกลาง จำนวน 4 ด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมในการทางาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านโอกาส ความก้าวหน้าในหน้าที่การทางานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ตามลำดับรายการ การศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน =THE STUDY OF JOB PERFORMANCE SATISFACTION OF DEPARTMENT OF ALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY(2558-01-21T12:49:25Z) สุปราณี อนุศาสตร์การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1)บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีความพึงพอใจในงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้านนั้น บุคลากรมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัย และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่เหลืออีก 4 ด้าน บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ได้คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสวัสดิการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านค่าตอบแทน 2)บุคลากรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล มีความพึงพอใจ ในงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณารายด้านพบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในงานราย ด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดแบบประจำวัน(2554-09-24T09:39:14Z) บัญชา ก้องปรีชาสกุลการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะ รวมถึงประเมินเวลาในการทำความสะอาด แบบประจำวันของ อาคารชุดปทุมวัน รีสอร์ท ทั้งนี้เพื่อนำเสนอวิธีและขั้นตอนการทำงานเพื่อใช้ใน การลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดให้แก่ฝ่ายบริหารอาคารชุด ปทุมวัน รีสอร์ท เนื่องจากฝ่าย อาคารชุดปทุมวัน รีสอร์ท มีความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริการทำความ สะอาด ทั้งนี้เพื่อนำเงินที่สามารถประหยัดได้ไปใช้ประโยชน์ในการซ่อมบำรุงอาคารชุดในส่วนอื่นที่ สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่อาคารได้ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสอบถาม และการสังเกตการณ์การทำงานจริง จากพนักงานทำ ความสะอาดที่อาคารชุดดังกล่าว รวมถึงการศึกษาลักษณะพื้น ขั้นตอนและกิจกรรมทำความ สะอาด เพื่อทำการวิเคราะห์ และประเมินเวลาที่ต้องใช้ในการทำความสะอาดแบบประจำวัน โดย ใช้หลักการการบริหารเวลา การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารทรัพยากรอาคาร แล้วจึง ทำการสร้างตารางการปฎิบัติงาน โดยสัมพันธ์กับกิจกรรมทำความสะอาดที่ต้องทำเป็นประจำวัน ทุกวัน และพื้นที่ส่วนกลางเท่าเดิม จึงสามารถสันนิฐานในเบื้องต้นได้ว่าความสะอาดยังคงเดิม II จากผลการศึกษาพบว่า อาคารชุดปทุมวัน รีสอร์ทนั้น ใช้เวลาทำความสะอาดต่อวัน 105.5 ชั่วโมง ซึ่งต้องใช้พนักงานทำความสะอาด 11.72 คน (พนักงานทำความสะอาดทำงาน 9 ชั่วโมงต่อ วันต่อคน) จึงสามารถสรุปได้ว่า อาคารชุดดังกล่าว สามารถใช้พนักงานทำความสะอาด 12 คน ก็ เพียงพอแล้ว จากการศึกษาความเป็นไปได้ของการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาด แบบประจำวัน ซึ่งใช้วิธีการวางแผนบริหารทรัพยากรอาคาร การบริหารเวลา และการบริหารทรัพยากรบุคคล มา สร้างแนวทางในการจัดทำตารางการทำงานของพนักงานทำความสะอาด ของอาคารชุดปทุมวัน รี สอร์ท นั้น ตารางการทำงานดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้กับอาคารชุดพักอาศัยอื่น ๆ ที่มีขนาด พื้นที่ ลักษณะพื้น และความต้องการของกิจกรรมทำความสะอาดที่ใกล้เคียงกันได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดของอาคารชุดปทุมวัน รีสอร์ท นั้น จะต้องมีการ ติดตามประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ตลอดจนความพึงพอใจของทั้งผู้พักอาศัยภายใน อาคารหลังจากการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดภายในระยะเวลา 1 เดือนรายการ การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการสร้างถนน กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(2557-11-17T12:49:56Z) เจน จำลองราชการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยความล่าช้าในโครงการก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา สายงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มตัวอย่างสังกัดภาคราชการ และสังกัดภาคเอกชนเทศบาลนครปากเกร็ด กลุ่มตัวอย่างละ 30 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เดือนตุลาคม 2556 จำนวน 60 ชุด และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์และเรียงลำดับจากดัชนีความรุนแรง ซึ่งเป็นการรวมค่าระดับความถี่และระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัยเพื่อหาปัจจัยความล่าช้าสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการก่อสร้างถนน ฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมา จำนวน 60 คน มีความเห็นตรงกัน 6 ปัจจัย ได้แก่ แบบก่อสร้างไม่มีความชัดเจน คลุมเครือหรือไม่ละเอียดพอ การที่ไม่มีเครื่องจักรประจำเป็นของตัวเอง ติดระบบท่อประปาใต้ดิน ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการในพื้นที่ช้า ผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้าง ความคลุมเครือของสัญญาจ้าง และจากการทดสอบค่าทางสถิติของปัญหาร่วมของโครงการก่อสร้างถนนของฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมาที่มีความคิดเห็นตรงกันที่เกิดขึ้นภายในโครงการก่อสร้างถนน ได้แก่ ปัจจัยผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้างเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงอยู่ในระดับสูง และปัจจัยความคลุมเครือของสัญญาจ้าง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงในระดับสูง ผู้ศึกษาหวังว่าปัจจัยความล่าช้าที่ระบุในการศึกษาจะได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวังสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »