School of Digital Media
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู School of Digital Media โดย ผู้เขียน "ณัฐกมล ถุงสุวรรณ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 6 ของ 6
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Digital Art: NAN City(ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2567-06-21) ณัฐกมล ถุงสุวรรณหลักการและแนวคิดจากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา เป็นการนำเสนอภาพให้ดูง่ายขึ้น ให้เห็นชัดเจนถึงความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งภาพในแนวนี้จะสามารถส่งเสริมการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกถีงแนวทางในการนำเสนอความสวยงามจากสถานที่จริงมาประยุกต์ผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก เป็นการผสมผสานในด้านเรื่องราวของวัฒนธรรมกับงานศิลปะที่เป็นการออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นมุมมองใหม่ที่ส่งเสริมจินตานาการของผู้ดูแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสถานที่นั้น ๆรายการ Hometown Countryside(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, 2565-05-20) ณัฐกมล ถุงสุวรรณพื้นที่ในส่วนของต่างจังหวัดแต่ละภาคของประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นมีความหลากหลายทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ด้วยความโดดเด่นทางวัฒนธรมไทยที่แสดงออกด้วยความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ด้วยการใช้ชีวิตที่อาจต้องมีการย้ายถิ่นฐานด้วยความจำเป็นบางประการของแต่ละคนทำให้การนึกถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยอยู่อาศัยเป็นความสุขในใจเมื่อได้ย้อนคิดไปถึงภาพเหล่านั้น เกิดเป็นภาพจำที่นึกถึงเมื่อไรก็สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในใจได้ การนำเสนอภาพจำที่เป็นเรื่องราวที่ได้รับรู้หรือที่อยู่ในความทรงจำสามารถถ่ายทอดผ่านการแสดงออกได้จากหลายรูปแบบ และเพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป (ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2555, P. 139) จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาพจำอันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม ที่เป็นภาพจำของผู้เขียนเพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิกรายการ Thai Stylize(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2566-05-26) ณัฐกมล ถุงสุวรรณรูปแบบงานศิลปะและวัฒนธรรมของไทยมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะแสดงออกผ่านสื่อประเภทใด ทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบงานศิลปะวัฒนธรรมแบบไทย ๆ นั้นก็สามารถคงอยู่และยังคงความโดดเด่นมาจนทุกวันนี้ท่ามกลางรูปแบบงานศิลปะรูปแบบใหม่ด้วยแนวกราฟิกต่าง ๆ เช่น Minimal Style, Stylized Style, Abstract, Realistic เป็นต้น ความเป็นไทยก็สามารถผสมผสานไปกับแนวทางของศิลปะได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาพจำอันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จะสามารถเป็นทางหนึ่งในการแสดงออกถึงความร่วมสมัยของศิลปวัฒนธรรมไทยได้ จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิกรายการ กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily(วารสารดีไซน์เอคโคคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2567-07) วิชัย โยธาวงศ์; ณัฐกมล ถุงสุวรรณกระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) 1. เพื่อการศึกษาแนวคิดและทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงในสภาวะไร้การควบคุมผ่านรูปแบบงานศิลปะดิจิทัล 2) เพื่อการวิเคราะห์ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะที่สื่อและแสดงถึงแนวความคิดผ่านรูปแบบและเทคนิค 3) สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ในการสื่อสารแนวความคิดและความงาม วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานที่กี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยผลการวิจัยได้ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากภาพที่ได้เตรียมไว้และนำไปทดลองทำต่อในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ตัวผลงานด้วยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ด้วยทัศนธาตุ (Visual Elements) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศสมมุติโดยใช้โครงสีเอกรงค์ (Monochrome) ผสานกับรูปทรงที่เลือกนำมาใช้ในการสื่อสารแนวความคิดและวิเคราะห์นามธรรมที่แฝงในตัวงานที่เสร็จสมบูรณ์ที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและสร้างการรับชมที่แปลกใหม่ การประเมินผลงานที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยเทนนิคการทำงานที่แตกต่าง สามารถสื่อสารความหมายแนวความคิดและเนื้อหาที่แฝงในเชิงสัญลักษณ์คติทางเทวนิยมที่เลือกมาใช้เสนอทางความเชื่อที่แสดงออกได้มาซึ่งรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” และมีการต่อยอดผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอผลงานผ่านการสื่อสารในแบบ Immersive Art หรืองานแสดงศิลปะแบบดำดิ่ง ซึ่งเป็นการนำเสนองานในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงงานศิลปะได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวผลงานและรูปแบบการสร้างผลงานและนำเสนอผลงานสื่อสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบที่ผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แตกต่างออกไปต่อไปรายการ การพัฒนาเกมเพื่่อการท่องเที่่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้แนวคิดเกมิฟิเคชัน กรณีศึกษาจังหวัดน่่าน(วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564) ณัฐกมล ถุงสุวรรณ; ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์งานศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อในรูปแบบของเกมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดเกมิฟิเคชันชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดของเกมิฟิเคชัน เพื่อหาหลักการในการออกแบบเกมิฟิเคชันในสื่อประเภทเกม ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรับรู้ในเนื้อหาสาระ เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมไทยที่เชื่อมโยงกับในพื้นที่ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ศึกษาการออกแบบด้านสุนทรียะทางภาพในเกม เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบภาพในเกม เพื่อการส่งเสริม และสร้างแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิธีดำเนินการใช้วิธีวิจัยแบบผสม ด้วยการศึกษาแนวคิดทางด้านเกมิฟิเคชัน แนวการใช้รูปแบบของศิลปะของการออกแบบภาพในเกม ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน เกมิฟิเคชัน และด้านการออกแบบเกม รวมถึงการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย คือในช่วงอายุ 22-39 ปี ที่เล่นเกมมือถือและชอบท่องเที่ยว ในเรื่องของพฤติกรรมการเล่นเกม แรงจูงใจในการ เล่นเกม แรงกระตุ้นในเกิดความผูกพันในเกม และด้านของความงาม (Aesthetic) รูปแบบของศิลปะ (Art Style) ในเกม ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ได้เป็นแนวทางในการออกแบบเกมิฟิเคชัน ดังนี้ 1) ประเภทผู้เล่นที่จะเป็นกลุ่มหลักได้แก่ Explorers คือผู้เล่นที่ชอบค้นหา และชอบความมีอิสระ 2) รูปแบบที่จูงใจในการเล่น คือความมีอิสระในการเล่น 3) ประเภทของแรงกระตุ้นในเกิดความผูกพัน และเข้ามาเล่นซ้ำบ่อย ๆ คือการพัฒนาในเกม (Progress) ของตัวละคร หรือเลเวลขึ้นไปเรื่อย ๆ 4) Art Style รูปแบบศิลปะในเกม เป็นแนว Stylized ที่เป็นแนวการออกแบบภาพเกินจริง ที่เปิดโอกาสให้ ใส่จินตนาการลงไปในภาพได้ ผสมกับความเป็น Minimal คือการลดทอนรายละเอียดลงไปรายการ การออกแบบกราฟิกสำหรับเกมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองน่าน(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 2564-05-27) ณัฐกมล ถุงสุวรรณการศึกษาวิจัยเรื่องการออกแบบกราฟิกสำหรับเกมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองน่านชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกราฟิกในเกม 2) เพื่อหาแนวทางในการออกแบบกราฟิกในเกมที่สามารถส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อนำเสนอต้นแบบกราฟิกที่เชื่อมโยงกับพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้เนื้อหาการออกแบบจากพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองน่านเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีเรื่องราวทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมหลายรูปแบบที่น่าสนใจในการนำมาเผยแพร่ต่อคนรุ่นใหม่ โดยมีผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเป็นเจเนอเรชั่นวายซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเปิดรับข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายผ่านสื่อดิจิทัลโดยเฉพาะจากการเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือ ระเบียบวิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานด้วยการศึกษารูปแบบของกราฟิกในเกม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิกเกมรวมถึงการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเป้าหมายที่เล่นเกมมือถือและชอบการท่องเที่ยวในเรื่องของรูปแบบของกราฟิกในเกมที่ชอบ จากการศึกษาวิจัยค้นพบว่ารูปแบบของกราฟิกในเกมที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายชอบมากที่สุดคือแนวภาพแบบ Stylized (ทันสมัย เกินจริง) นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบของกราฟิกในเกม ผลจากการเก็บค่าความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่องานกราฟิกต้นแบบมีความพึงพอใจในเรื่องของการสื่อสารถึงพื้นที่และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วยภาพกราฟิกในเกมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด