School of Digital Media
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู School of Digital Media โดย ผู้เขียน "วิชัย โยธาวงศ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน ’อนิจจัง’(วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด, 2565-03-10) วิชัย โยธาวงศ์กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน“อนิจจัง”เป็นการเสนอการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมดิจิทัลในรูปแบบงานจิตรกรรม2มิติที่มีการถ่ายทอดแนวความคิดในการทำงานผ่านรูปแบบผลงานผลงานจิตรกรรมเทคนิคการปะติดคอลลาจ (collage)จากไฟล์ที่ได้เตรียมไว้ด้วยการทำในคอมพิวเตอร์ที่ผ่านจากแรงบันดาลใจและแนวความคิด จากกระบวนการทางความคิดเป็นที่มาของรูปแบบของผลงานถ่ายทอดในเป็นผลงานที่แตกต่างจากการสร้างงานจิตรกรรมแบบประเพณีในการใช้วัสดุพื้นฐานทางทัศนศิลป์เช่น สี เฟรมผ้าใบ กระดาษหรือเทคนิคที่เคยทำกันมาถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่ร่วมสมัยที่สื่อสารด้วยหลักองค์ประอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ ทัศนธาตุทางศิลปะ(Visual Eniment) ที่นำมาใช้ในการทำงานรวมถึงการวิพากษ์การประเมินผลงานในชุดนี้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาในรูปแบบผลงานทั้งในแง่ที่มาของแนวความคิดในเชิงนามธรรมและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงรูปธรรมที่พร้อมพัฒนาและที่จะนำเสนอผ่านการแสดงงานผลงานนิทรรศการศิลปะในโอกาสต่อไปรายการ กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily(วารสารดีไซน์เอคโคคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2567-07) วิชัย โยธาวงศ์; ณัฐกมล ถุงสุวรรณกระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) 1. เพื่อการศึกษาแนวคิดและทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงในสภาวะไร้การควบคุมผ่านรูปแบบงานศิลปะดิจิทัล 2) เพื่อการวิเคราะห์ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะที่สื่อและแสดงถึงแนวความคิดผ่านรูปแบบและเทคนิค 3) สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ในการสื่อสารแนวความคิดและความงาม วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานที่กี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยผลการวิจัยได้ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากภาพที่ได้เตรียมไว้และนำไปทดลองทำต่อในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ตัวผลงานด้วยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ด้วยทัศนธาตุ (Visual Elements) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศสมมุติโดยใช้โครงสีเอกรงค์ (Monochrome) ผสานกับรูปทรงที่เลือกนำมาใช้ในการสื่อสารแนวความคิดและวิเคราะห์นามธรรมที่แฝงในตัวงานที่เสร็จสมบูรณ์ที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและสร้างการรับชมที่แปลกใหม่ การประเมินผลงานที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยเทนนิคการทำงานที่แตกต่าง สามารถสื่อสารความหมายแนวความคิดและเนื้อหาที่แฝงในเชิงสัญลักษณ์คติทางเทวนิยมที่เลือกมาใช้เสนอทางความเชื่อที่แสดงออกได้มาซึ่งรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” และมีการต่อยอดผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอผลงานผ่านการสื่อสารในแบบ Immersive Art หรืองานแสดงศิลปะแบบดำดิ่ง ซึ่งเป็นการนำเสนองานในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงงานศิลปะได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวผลงานและรูปแบบการสร้างผลงานและนำเสนอผลงานสื่อสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบที่ผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แตกต่างออกไปต่อไปรายการ การพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้ต้องขังในเรือนจำโดยกิจกรรม”ปั้นดิน”สู่โลกหลังกำแพง(วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2565-03-20) วิชัย โยธาวงศ์พระพุทธปฏิมาเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธเป็นการเชื่อมโยงจิตใจให้น้อมนำไปทางใฝ่จิตที่เป็นกุศการทำความดี การได้มีส่วนร่วมหรือการสร้างพระพุทธรูปที่เป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการกระทำที่มีกุศลและได้บุญจากการสร้างองค์พระ จากการได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์พระไม่ว่าจะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมก่อเกิดผลทั้งทางรูปธรรมและทางนามธรรมใน ทางรูปธรรมคือการได้องค์พระพุทธรูป ทางนามธรรมคือความสุขทางใจที่ได้รับและการมีสมาธิจากการที่ได้ลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งงานพุทธศิลป์ในการสร้างองค์พระปฏิมานั้นได้ไปทดลองกับผู้ที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางการปฏิบัติงานด้านนี้มาก่อนได้แก่ผู้ต้องขังชั้นดีในเรือนจำจากการสมัครและได้ผู้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีกระบวนการในการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังผ่านการปฏิบัติงานทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จนสำเร็จลุล่วงได้ชิ้นงานที่ผู้ต้องขังได้ร่วมกันกันก่อเกิดความภาคภูมิใจและการเห็นคุณค่าของตนเองและบุคคลอื่นจากชิ้นงานที่ได้มาสู่การเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ในกิจกรรม นิทรรศการ "จากมือที่เปื้อนบาปสู่มือที่ปั้นบุญ" ทำให้เกิดความสนใจจากจากบุคคลและหน่วยงานภายนอกที่จะขยายผล จากกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้ต้องขังในเรือนจำโดยกิจกรรม”ปั้นดิน” ซึ่งมีการขยายผลต่อยอดอบรมให้กับผู้ที่สนใจภายนอกที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและอบรมเพิ่มเติมระยะสั้น ณ.ทัณฑสถานหญิงกลางขอนแก่นรวมถึงกลุ่มครูอาจารย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานวิจัยของหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จากกระบวนการดังกล่าวอนุมานได้ว่าการสร้างงานปั้นดิน(ปฏิมากรรม)นั้นเป็นการพัฒนาคุณภาพจิตใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าในตัวเองและมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางบวกมากขึ้น และยังก่อให้เกิดความสงบ และมีสมาธิเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่ไปในทางบุญจากการที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวรายการ กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในงานจิตรกรรม วาดด้วยรัก ภักดิ์ด้วยใจ(คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2564-05-27) วิชัย โยธาวงศ์The Marigold Street Art In Bangkok “วาดด้วยรัก ภักดิ์ด้วยใจ”เป็นกิจกรรมที่ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และคนรักศิลปะจากสถาบันที่สอนศิลปะและการออกแบบ 6สถาบัน 7ชิ้นงานได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีซึ่งอยู่ในระยะช่วงเวลาวันที่ 5ธันวาคม2560 ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติและวันคล้ายวันพระราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมกันสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานภาพศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากดอกดาวเรือง หรือชื่อภาษาอังกฤษ “Marigold” ตามแนวคิดรูปแบบการสร้างงาน Street Art in Bangkok เพื่อร่วมแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมในการแสดงออกผ่านรูปแบบผลงานศิลปะของนักศึกษาคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการแสดงออกถึงความรักต่องานศิลปะและในหลวงรัชกาลที่ 9 ทางคณะดิจิทัลมีเดียได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าโครงการเพื่อนำนักศึกษาทำกิจกรรมดังที่กล่าวมาในข้างต้นโดยเริ่มจากการวิเคราะห์โจทย์งานเพื่อหาข้อมูลในการออกแบบผลงาน โดยกำหนดรูปแบบการจัดองค์ประกอบ ของภาพโดยรวมและการกำหนดโครงของสีที่จะสื่อสารเพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมโดยการมีส่วนร่วมในการออกแบบและการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาในชื่อภาพว่า“พ่อหลวงปวงประชา”เพื่อเป็นการระลึกถึงองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และนำผลงานมาจัดแสดงเพื่อเป็นการเผยแพร่ภายใต้นิทรรศการ The Marigold Street Art In Bangkok “วาดด้วยรัก ภักดิ์ด้วยใจ” ณ ลานซังเคน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา