S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ผู้เขียน "กรพินท์ ชาวนา"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การสำรวจระดับความคิดเห็นและระดับความต้องการในการฝึกอบรม กรณีศึกษาโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม(2551-02-14T17:10:00Z) กรพินท์ ชาวนาการศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม เพื่อศึกษาถึงความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคมและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกอบรมของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับงาน และอายุงาน มีเครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) ในการทดสอบความแตกต่างด้านอายุ ระดับงานและอายุงาน กับความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กร และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Lease Square Method ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ การจัดทำแผนการเรียนรู้ รองลงมาคือการผลิตสื่อการเรียนรู้ และ การวัดผลและประเมินผลการเรียนของนักเรียน ตามลำดับ ในการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นด้านการฝึกอบรมของบุคลากร โดยรวมและด้านการปฏิบัติงาน จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความต้องการในการฝึกอบรมด้านโอกาสในการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม เพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศหญิง และ ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม และ ด้านการปฏิบัติงาน เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศชาย ด้านอายุ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านระดับงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอายุงาน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย บุคลากรที่มี อายุงาน 31 ปีขึ้นไปมีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่มีอายุ 11-20 ปี