S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 118
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความสำเร็จ ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี(2562-03-08) ภาณุพงษ์ แดงสีบัววัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) ศึกษาระดับปฎิบัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จขององค์กรจำแนกตามปัจจัยด้านองค์กร 3) ศึกษาระดับอิทธิพลของกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความความสำเร็จขององค์กร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในนิคม อุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี รวม 303 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบมาตรส่วน 5 ระดับ โดยใช้โปรแกรม สาเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปฎิบัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.97, SD = .31) 2) ความสาเร็จขององค์กรแตกต่างกัน ตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อความสาเร็จขององค์กรโดยรวม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งได้แก่ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านการฝึ กอบรมและ พัฒนาบุคลากร และด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพ โดยมีระดับความสามารถในการอธิบายอยู่ที่ร้อย ละ 79.4รายการ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:19:58Z) ณัฐกานต์ ภัทร์ประทานพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling Techniques เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีคือ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดทางตรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และการตลาดทางตรง ไม่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีรายการ กลยุทธ์ทางการตลาดทีมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี(2562-03-09) สายฝน นักผูกงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนีย ในเมืองพัทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา โดยจำแนกลักษณะประชากรตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ สัญชาติ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพัทยา ประสบการณ์ในการมาเที่ยวของผู้รับบริการ ความถี่ในการรับบริการ 3) เพื่อศึกษาถึงระดับอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ซึ่งผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการคลับอินซอมเนียทั้งหมดจำนวน 195 รายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่มและการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 35 ปี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป เป็นสัญชาติไทย อาศัยอยู่ในพัทยามากกว่า 3ปีขึ้นไป เคยมีประสบการณ์มาใช้บริการ มีความถี่ในการรับบริการ 1 -2 ครั้ง ด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นเห็นด้วยกับปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.01) แล้วเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับด้านลักษณะทางกายภาพ ( = 4.09) มากที่สุด และเห็นด้วยรองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ( = 4.07) ด้านราคา ( = 4.06) ด้านบุคคล ( = 4.01) ด้านทำเลที่ตั้ง ( = 3.99) ด้านกระบวนการ ( = 3.95) และด้านการส่งเสริมการขาย ( = 3.89) ตามลำดับ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมกับคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ โดยพนักงานทำงานรวมกันอย่างมีระบบและรวดเร็วทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกประทับใจในการมาใช้บริการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จได้ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความสนุกสนานรื่นเริงในการใช้บริการจากคลับอินซอมเนียในเขตเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริง ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความรู้สึกที่ดีและคุ้มค่าเมื่อได้มาใช้บริการคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริงรายการ การจัดการส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โครงการบ้านบ่อกบ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง(2562-03-09) บวรลักษณ์ แตงจุ้ยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อโครงการบ้าน บ่อกบ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าโครงการบ้านบ่อกบ จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของ ลูกค้าโครงการบ้านบ่อกบ ซึ่งผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในบ้านเลขที่ ที่ซื้อจากโครงการบ้านบ่อกบ จำนวน 220 คน จากจำนวนประชากร 477 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่ม และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สมรส แล้ว มีการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา เป็นพนักงานบริษัทเอกชน / รัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับส่วนประสมทางการตลาดของโครงการด้านบุคคล มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ซื้อขาย และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ ด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า พบว่า โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อตัวโครงการและที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมาคือ มีความพึงพอใจที่จะแนะนำเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักต่อ และมีความพึงพอใจเมื่อเทียบกับ ความความคาดหวังก่อนซื้อ ตามลำดับรายการ การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง(2552-04-23T05:49:17Z) ปริญา เกษเดชวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ เพื่อทราบถึงสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยกลุ่มประชากรที่เลือกทำการวิจัยได้แก่ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 126 บริษัท จากจำนวน 191 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวัดระดับสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ รายละเอียดผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ได้แก่ การวัดระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่า F test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดในการวิจัยที่กำหนดให้ ขนาดองค์กร ประเภทองค์กรและประเภทธุรกิจเป็นตัวแปรอิสระ นโยบายของการบริหารค่าตอบแทน การประเมินค่างาน การเขียนลักษณะเฉพาะของงาน การจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน การสำรวจค่าจ้างเงินเดือน การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนและการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์ได้คำนวณค่าคะแนนกลางของตัวแปรต่าง ๆ แล้วนำมาพิจารณาความเกี่ยวข้องกัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ในด้านนโยบายการบริหารค่าตอบแทนในองค์กร ด้านการประเมินค่างาน และการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ด้านการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน และการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมจำแนกตามขนาดขององค์กร ตามลักษณะขององค์กร ตามประเภทธุรกิจพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้น ยกเว้นสภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามประเภทธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านนโยบายเป็นรายคู่พบว่า ประเภทธุรกิจยานยนต์ ยางสารเคมี เหล็กและโลหะ และธุรกิจอื่นๆมีการบริหารค่าตอบแทนด้านนโยบายมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ธุรกิจเหล็กและโลหะ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนจำแนกตามประเภทธุรกิจเป็นรายคู่พบว่าประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะมีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และยาง สารเคมี ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่ายานยนต์ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานในการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมพบว่าประเภทธุรกิจยาง สารเคมี มีการบริหารค่าตอบแทนมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะ กระจกและเฟอร์นิเจอร์และธุรกิจอื่น ๆ มีการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์รายการ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในเขตอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี(2552-01-16T07:22:45Z) ชลกร รัตนวิมลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรีเพื่อให้นำผลการวิจัยนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารงานบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริหารงานบุคคลในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ใช้แบบสอบถาม จำนวน 195 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับลักษณะปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าจำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: ANOVA) พบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรบุคคลในด้านการบริหารแรงงานสัมพันธ์ โดยรวม อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายของการบริหารจัดการ ด้านความสัมพันธ์ในองค์กร ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2. สภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรบุคคล จำแนกตามเพศและการมีสหภาพแรงงานหรือไม่มีสหภาพแรงงานโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความแปรปรวนแตกต่างสภาพการปฏิบัติงานในการบริหารแรงงานสัมพันธ์ โดยจำแนกตามอายุ ประสบการณ์ ขนาดขององค์กร (จำนวนพนักงาน) ลักษณะองค์กร และประเภทธุรกิจ/ ประเภทอุตสาหกรรม นั้นมีความแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ การประเมินแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตถุงยางอนามัย(2553-06-10T09:16:01Z) พิสุทธินี พูลฉันทกรณ์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในฝ่ายผลิตของบริษัทฯ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตถุงยางอนามัย และเพื่อประเมินแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของแผนกต่างๆ ในฝ่ายผลิตของบริษัทฯ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดขอบเขตในการศึกษาให้อยู่ในส่วนของฝ่ายผลิตเท่านั้น โดยภาพรวมของการศึกษาวิจัยได้นำเครื่องมือ Quick Scan Method เข้ามาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างภายในขององค์กร กระบวนการผลิต กระบวนการทำงานในแต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิต ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการสัมภาษณ์ และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจาก 13 แผนกที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิต แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงของคุณภาพและเชิงปริมาณ จากการศึกษาพบว่า การไหลของข้อมูลในโซ่อุปทานภายในบริษัทในส่วนของการผลิตนั้นยังไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากขาดการประสานงานกันอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแต่ละแผนกให้ความสำคัญที่แตกต่างกัน ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของโซ่อุปทานลดลง เกิดผลกระทบโดยตรงกับทางด้านการวางแผน การผลิต การจัดส่ง รวมไปถึงการบริหารงานหรือควบคุมการทำงาน เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการพัฒนาโซ่อุปทานของบริษัทที่สำคัญต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในทุกๆ ด้าน ทั้งเรื่องของต้นทุน การตอบสนอง ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่น คุณภาพ และระดับการให้บริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดรวมทั้งจัดการในกระบวนการที่สำคัญในด้านของการวางแผนงาน (Plan) เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันในการปฏิบัติงานรายการ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน โรงกลึงโลหะแห่งหนึ่งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ(2562-03-08) เพ็ญผกา บุตยพรรณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน 2) ศึกษาระดับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพนักงาน 3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโดยจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานธุรกิจโรงกลึงแห่งหนึ่งในอาเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จานวน 125 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติพรรณนาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธ์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันองค์การของพนักงานอยู่ในระดับสูง 2) ระดับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนรายด้าน ได้แก่ ด้านผลตอบแทน ด้านกระบวนการ และด้านปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน 3) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลจาแนกตาม ตาแหน่งงานและรายได้ที่ได้รับแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านผลตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรมด้านกระบวนการ และการรับรู้ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา(2553-06-10T09:28:53Z) มัทนา โสพิพัฒน์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการของ ผู้เข้ามาใช้บริการ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองที่ รวดเร็ว ด้านความไว้วางใจ ด้านความเอาใจใส่ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพและเพื่อเปรียบเทียบการ รับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จำแนกตามลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิด (close-ended questionaire)แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ จำนวน 5 ข้อ ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการบริการที่มีต่อผู้ใช้บริการของ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนอง ที่รวดเร็ว ด้านความไว้วางใจ ด้านความเอาใจใส่ และด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ซึ่งเป็นมาตรวัด ของ Parasuraman และคณะในปี 1988 เครื่องมือนี้เรียกว่า Servqual สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. การรับรู้คุณภาพบริการของผู้เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมีคุณภาพมาก โดยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาเรียงอันดับจาก ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความไว้วางใจ ด้านการตอบสนอง และด้านการเอาใจใส่ ตามลำดับ2. การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จำแนกตามลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ พบว่า - การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามเพศไม่ แตกต่างกัน - การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามอายุไม่ แตกต่างกัน - การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามระดับ การศึกษาไม่แตกต่างกัน - การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามอาชีพมี แตกต่างกัน ดังนี้ อาชีพแม่บ้าน, ลูกจ้างบริษัท, ค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัวมีการรับรู้คุณภาพบริการ มากกว่าอาชีพรับราชการ - การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามรายได้ต่อ เดือนมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ผู้ใช้บริการที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท, 20,001-30,000 บาท, 30,001-40,000 บาท และ มากกว่า 40,001 บาท มีการรับรู้คุณภาพบริการน้อยกว่าผู้ใช้บริการ ที่มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาทรายการ การรับรู้ต่อการจัดการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ : กรณีศึกษา ศูนย์บริการสาธารณสุขเนินพะยอม จังหวัดระยอง(2551-02-14T18:56:40Z) วิไลรัตน์ สีเหมือนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจ ต่อบริการรักษาพยาบาล ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เนินพยอม และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล กับการรับรู้ต่อการจัดบริการของผู้รับบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 - วันที่ 9 สิงหาคม 2549 ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้การจัดบริการภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับที่จากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือการบริการด้านขั้นตอนบริการ ด้านสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบุคลากร เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้ต่อการจัดบริการด้านบุคลากรควรปรับปรุงจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอกับผู้รับบริการ และห้องยาให้มีความสะดวก และถูกต้อง 2. ความพึงพอใจต่อการบริการภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ รองลงมา ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากบริการ ส่วนความพึงพอใจต่อความสะดวกที่ได้รับจากบริการ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจปานกลาง และที่ควรปรับปรุงคือการให้บริการของห้องจ่ายยาให้มีความสะดวกมากขึ้น 3. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ กับการรับรู้ต่อการจัดบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้กับการรับรู้ต่อการจัดบริการ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านขั้นตอนการบริการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตัวแปร อายุ และอาชีพ ของด้านสถานที่มีความแตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ และระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ กับความพึงพอใจต่อการบริการ ด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัย และการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการพบว่าไม่แตกต่างกัน 5. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ต่อการจัดบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์กันทุกด้านรายการ การวิเคราะห์ปัจจัยในการคัดเลือกและปัญหาของผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี(2562-03-08) วิชัย ศรีเชียงพิมพ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี (2 ) เพื่อศึกษาระดับปัญหาของผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ (3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี จำแนกโดยลักษณะส่วนบุคคล (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี จำแนกโดยลักษณะองค์กร กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของโครงการและบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการ จำนวน 200 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย (1) ปัจจัยในการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.94, SD = 0.48) (2) ปัญหาของผู้รับเหมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.40, SD = 0.83) (3) การคัดเลือกผู้รับเหมา มีความแตกต่างจำแนกตามลักษณะทางลักษณะส่วนบุคคลในด้าน อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ที่ผ่านมา และประสบการณ์ในบริษัท ส่วนปัญหาของผู้รับเหมามีความแตกต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคลในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ที่ผ่านมาและประสบการณ์ในบริษัทและ (4) ปัจจัยด้านการคัดเลือกผู้รับเหมามีความแตกต่างตามลักษณะองค์กรด้านประเภทโครงการ ความเป็นเจ้าของ ระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ มูลค่าของงาน จำนวนพนักงานออฟฟิศ จำนวนคนงานและลักษณะบริษัทที่ทำงาน ส่วนปัญหาของผู้รับเหมามีความแตกต่างกันตามลักษณะองค์กรด้านประเภทโครงการ ความเป็นเจ้าของ ระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ มูลค่าของงาน จำนวนพนักงานออฟฟิศ จำนวนคนงานและลักษณะบริษัทที่ทำงาน ตามลำดับรายการ การศึกษาความพึงพอใจของครู และเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การ กรณีศึกษา โรงเรียนสุอารีวิทยา(2553-06-09T08:04:11Z) ทิฆัมพร วงษ์ขวัญเมืองการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของครู และเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การ กรณีศึกษา โรงเรียนสุอารีวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 36 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปวนทางเดียว และเมื่อพบว่าความแตกต่างกัน จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยการทดสอบตามวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุ 26 - 30 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีตำแหน่งครู และมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการจัดการองค์การมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่าด้านที่เหลือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและปานกลางโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำ ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ ด้านการบังคับบัญชา และด้านการจูงใจ ความพึงพอใจของครูและเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การ กรณีศึกษา โรงเรียนสุอารีวิทยา จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะดังนี้ ผู้บริหารควรมีนโยบายในการสนับสนุนการยกระดับความพึงพอใจของครูและเจ้าหน้าที่ด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจ สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมระหว่าง ผู้บริหารและครู เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียนได้พบปะพูดคุยกันบ่อยมากขึ้น ในส่วนของผู้บริหารควรให้โอกาสพนักงานในการได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพิจารณาในการพัฒนาและ ปรับปรุง และดำเนินการเพื่อลดปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การให้คำชมเชยกับครู หรือเจ้าหน้าที่ที่มีผลการปฏิบัติงานดี หรือการมอบหมายงานที่ยากขึ้นให้ครู หรือเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวครู หรือเจ้าหน้าที่ การจัดโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การ ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ตลอดจนการลดทัศนคติเชิงลบออกจากความคิดของบุคลากรด้วยรายการ การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดของโครงการธุรกิจอพาร์ทเมนท์ให้เช่า บริเวณซอยวัดหนองสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ(2552-01-16T07:44:47Z) ชุลีพร บุญปลูกการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดของโครงการอพาร์ท-เมนท์ให้เช่าบริเวณ ซอยวัดหนองสังข์ ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยการวิเคราะห์ทางการตลาด จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เช่าที่พักอาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อายุ 15 ปีขึ้นไป จ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 370 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จากการวิเคราะห์การแข่งขัน พบว่า ภัยคุกคามที่ส่งผล คือ อำนาจการต่อรองของ ผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า มีอำนาจการต่อรองสูง คู่แข่งขันที่มีอยู่เดิม มีความเข้มข้นของการแข่งขันปานกลาง ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่ แรงผลักดันของคู่แข่งขันรายใหม่อยู่ในระดับต่ำ ในด้านสินค้าทดแทน มีผลกระทบปานกลาง อำนาจการต่อรองของผู้ป้อนปัจจัยการผลิต มีผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องบริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน จากการเรีบยเทียบพฤติกรรมใช้ห้องพักอาศัยของผู้เช่า จำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ พบว่า เพศ แตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพักแตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพักแตกต่างกัน และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพัก ผู้ที่เช่าพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่มีวัตถุประสงค์ของการมาเช่าพักเพื่อศึกษาต่อ ให้ความสำคัญระดับมากในเรื่องห้องพักมีระบบรักษาความปลอดภัย ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในห้องกว้างขวาง ราคาห้องพักที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนมาก เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่ยังไม่มีรายได้มากนัก เหตุผลสำคัญส่วนใหญ่ที่เลือกที่พักอาศัย คือ ต้องการสถานที่พักใกล้กับสถานศึกษา ทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ซึ่งจากทำเลที่ตั้งในโครงการนี้ก็มีทำเลที่ตั้งที่ไม่ไกลจากสถานศึกษามากนัก และตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน บริเวณใกล้เคียงมีโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ต่าง ๆ มากมาย เช่น บิ๊กซี และแม็คโคร เป็นต้น พร้อมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ร่มรื่น โดยภาพรวมของโครงการอพาร์ทเมนท์ให้เช่านี้ หากมีการจัดการระบบความรักษาปลอดภัย ตั้งราคาห้องพักที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง มีทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนจากการทำการวิเคราะห์แล้วทำให้สรุปได้ว่า โครงการอพาร์ทเมนท์ให้เช่าบริเวณ ซอยวัดหนองสังข์ ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีความเป็นไปได้ทางการตลาดรายการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานในการใช้งาน เทคโนโลยี GPS ของบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา(2562-03-09) ภัคจิราพัชร์ ตุ่มไทยสาครวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี ระบบ GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้า 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้า จําแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบ ความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้าจําแนกตามปัจจัยด้าน องค์กรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้ปฏิบัติงานในบริษัทและห้างหุ้นส่วน จํากัด ที่ใช้งาน ระบบ GPS มีจํานวน 126 คนที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ในเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยโปรแกรม สําเร็จรูปทางสถิติด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่การแจกแจง ความถี่ค่าร้อยละการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้ การวิเคราะห์ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ในการ ทดสอบสมมติฐานหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของ ผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ให้ความสําคัญมากที่สุดคือ ด้านระบบการ ให้บริการซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.33 โดยภาพรวมเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อยได้แก้ด้านภาพลักษณะของบริษัท ด้านระบบการให้บริการ ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง ด้าน ประสิทธิภาพในการทํางาน ด้านเวลาและด้านที่ให้ความสําคัญน้อยที่สุดคือด้านป้ญหาของการใช้ ตามลําดับ ซึ่งป้จจัยที่ส่งผลระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS คือด้านประสบการณ์ใน การทํางานด้าน GPS และด้านประเภทสถานประกอบการมีผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้งาน เทคโนโลยี GPS อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ การศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้าง ในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี(2552-04-24T09:11:45Z) พนารัตน์ พรเศรษฐ์เมธากุลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสถิติ chi-square และ ค่า Cramer’s V ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างหรือลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโดยมีอายุระหว่าง 26 – 30 ปี ระดับการ ศึกษา มัธยมศึกษา หรือ ปวช. สถานภาพสมรส ภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวนสมาชิกพัก 2 คน และส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมการเลือกเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ ก่อนการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยไม่ได้สำรวจเปรียบเทียบที่พักมากที่สุด ประเภทที่พักอาศัยมากที่สุด คือ บ้านเช่า ผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยมากที่สุดคือ ตัวเอง ราคาค่าเช่าต่อเดือนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ ต่ำกว่า 1,500 บาท ระยะเวลาที่เข้า พักอาศัย มากกว่า 2 ปี สาเหตุสำคัญที่ทำให้ย้ายที่พักอาศัยมากที่สุด คือ ที่พักอาศัยไม่สะอาดและทรุดโทรม ประเภทการชำระค่าน้ำและค่าไฟฟ้า คือ แบบติดมิเตอร์แยก 2. การตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ด้านลักษณะห้องเช่า ด้านราคา ด้านทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อม ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการบริการ อยู่ในระดับมากทุกประเด็น 3. ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกจ้าง แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกเช่าที่พักอาศัย แตกต่างกัน ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน เพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของลูกจ้างแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกเช่าที่พักอาศัยไม่แตกต่างกัน 4. ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกจ้างแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ระดับการศึกษา ภูมิลำเนาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยแตกต่างกัน 5. การตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ด้านลักษณะห้องเช่า ด้านราคา ด้านทำเลที่ตั้งและสภาพ แวดล้อม ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบริการ มีความสัมพัธ์กับพฤติกรรมการเลือกเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้าง ด้านการสำรวจเปรียบเทียบที่พักอาศัย ประเภทที่พักอาศัย ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ราคาค่าเช่าต่อเดือนของที่พักอาศัยในปัจจุบัน ระยะเวลาในการเข้าพักอาศัย สาเหตุสำคัญที่ทำให้ย้ายที่พักอาศัย และการชำระค่าน้ำ ค่าไฟรายการ การศึกษาระดับสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร(2551-02-14T17:54:27Z) วนันธร ภัตร์จันทร์การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในด้านต่างๆ ของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะในด้านต่างๆ ของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โคยกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับบริหารและปฏิบัติการของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 400 คน โดยแบบสอบถามซึ่งมี 2 ส่วน ส่วนที่1ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่2 แบบสำรวจความสามารถในการวางแผน จัดระบบ กำหนดและควบคุมในการดำเนินงานของผู้จัดการฝ่ายผลิต และได้นำไปทดสอบ(Pre-Test)กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 ราย โดยได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .8514 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานในส่วนของการวัดระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อระดับสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า สมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครมีสมรรถนะด้านการวางแผนการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 อันดับสองคือ ด้านการสื่อสาร อันดับสามคือ ด้านความสามารถในการควบคุมตนเอง อันดับสี่คือ ด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม อันดับที่ห้าคือ ด้านความสามารถเชิงกลยุทธ์ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความสามารถในการรับรู้เรื่องระหว่างประเทศ และผลการวิจัยยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน จะมีความคิดเห็น ต่อสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญในทุกๆ ด้าน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในด้านของอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ต่อเดือน จำนวนพนักงานในโรงงาน จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในบางหัวข้อย่อยรายการ การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี(2552-04-23T07:09:46Z) อุษณาวี ศรีสุขการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งเพื่อเปรียบเทียบสภาพการ ปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เพื่อนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางปฏิบัติงานสำหรับ ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รายละเอียดของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 การวัดระดับสภาพการปฏิบัติ อุปสรรคและปัญหาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: ANOVA)โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ ได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวความคิดในการวิจัยที่กำหนดให้ โดยมีเพศอายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ขนาดองค์กร ลักษณะองค์กร ประเภทองค์กร เป็นตัวแปรต้น และ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือก การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ การบริหารค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาองค์กร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า ระดับสภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือก การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาองค์กร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามเพศ โดยผู้บริหารที่มีเพศแตกต่างกันมีสภาพการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีสภาพการปฏิบัติงานมากกว่าเพศชาย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน ขนาดองค์กร ลักษณะองค์กร ประเภทขององค์กร พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามเพศ และขนาดองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดย เพศชายมีอุปสรรคและปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเพศหญิง และองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน 50-100 คน 101-200 คน มีอุปสรรคและปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมมากกว่าองค์กรที่มีจำนวนพนักงานน้อยกว่า 50 คน และองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน มากกว่า 200 คน มีอุปสรรคและปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมน้อยกว่าองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน 101-200 คน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุปสรรคและปัญหางานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามอายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน ลักษณะองค์กร ประเภทขององค์กรพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ การศึกษาสภาพการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา(2551-02-14T18:25:35Z) วรากร ศรีวิฑูรย์ศักดิ์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี และ(2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา โดยจำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปี ในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ และด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบที (t test )ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance )ในการทดสอบความแตกต่างด้านชั้นปีที่ศึกษา และคณะ ที่ศึกษาและเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยทดสอบตามวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศ กลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่าเพศชาย 2. ชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 1มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่าชั้นปีที 3 และปีที่ 4 3. คณะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นมากกว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์รายการ การสำรวจระดับความคิดเห็นและระดับความต้องการในการฝึกอบรม กรณีศึกษาโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม(2551-02-14T17:10:00Z) กรพินท์ ชาวนาการศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม เพื่อศึกษาถึงความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคมและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกอบรมของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับงาน และอายุงาน มีเครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) ในการทดสอบความแตกต่างด้านอายุ ระดับงานและอายุงาน กับความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กร และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Lease Square Method ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ การจัดทำแผนการเรียนรู้ รองลงมาคือการผลิตสื่อการเรียนรู้ และ การวัดผลและประเมินผลการเรียนของนักเรียน ตามลำดับ ในการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นด้านการฝึกอบรมของบุคลากร โดยรวมและด้านการปฏิบัติงาน จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความต้องการในการฝึกอบรมด้านโอกาสในการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม เพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศหญิง และ ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม และ ด้านการปฏิบัติงาน เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศชาย ด้านอายุ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านระดับงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอายุงาน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย บุคลากรที่มี อายุงาน 31 ปีขึ้นไปมีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่มีอายุ 11-20 ปีรายการ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด(2551-06-17T08:32:30Z) จรัสศรี สิ้นทองค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจของพนักงาน บริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ลักษณะงาน สถานภาพการสมรสและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ปี 2549 จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one - way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด มีระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยรวมจำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ลักษณะงาน สถานภาพ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านเพศซึ่งเพศหญิงมีขวัญและกำลังใจมากกว่าเพศชาย และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 1 ปี 1 ปีถึง 2 ปี มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากกว่าพนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 2 ปีขึ้นไป