S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 118
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม(2551-02-13T09:10:58Z) พัฒนา ทะนุชิตการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมของลูกค้า ของบริษัท แวน เลียวเวน (ประเทศไทย)จำกัด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน จาก 135 บริษัทที่เป็นลูกค้าของบริษัท แวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรต้นมี 2 ส่วนด้วยกันคือ ด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย ส่วนตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จะประกอบด้วย ความถี่ในการซื้อท่อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด และจากนั้นได้นำไปหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามโดยใช้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน โดยได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .7210 และนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้การวิเคราะห์จากโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จากกลุ่มตัวอย่างพบว่าตัวอย่างที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ภูมิลำเนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะมีการตัดสินใจในการซื้อท่อไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ในด้านความถี่ในการซื้อท่อต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ สำรวจความคิดเห็นของพนักงานต่อผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมของพนักงาน(2551-02-13T09:19:16Z) วิภาพร ประทุมรุ่งการวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน ต่อผลสัมฤทธิ์การฝึก อบรมของพนักงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และ ตำแหน่งงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 120 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t -tast) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำให้เกิดการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยการทดสอบ LSD ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 120 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายมากที่สุด จำนวน 55 คน ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุ 21-30 ปี มากที่สุด จำนวน 53 คน ผู้ตอบแบบสอบมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มากที่สุด จำนวน 52 คน ผู้ตอบแบบสอบถามมีประสบการณ์ในการทำงาน 7 ปี ขึ้นไป มากที่สุด จำนวน 45 คน ผู้ตอบแบบสอบถามมีตำแหน่งพนักงานทั่วไป มากที่สุด จำนวน 74 คน พบว่าผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม ค่าเฉลี่ย 2.14 อยู่ในระดับน้อย และเมื่อแยกเป็นข้อย่อยจากมากไปหาน้อย คือ 1)ท่านอยากให้มีการจัดการฝึกอบรมทุก ๆ 1 เดือน 2)การฝึกอบรมช่วยให้ประหยัด ช่วยลดความสิ้นเปลืองของวัสดุ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) การฝึกอบรมช่วยลดระยะเวลาของการเรียนรู้ให้น้อยลง 4) ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน 5) มีระดับที่เท่ากันอยู่ 3 ระดับ ก็คือ การฝึกอบรมช่วยทำให้การทำงานของท่านสัมฤทธิ์ผลเพิ่มขึ้น, การฝึกอบรมช่วยกระตุ้นความสนใจในการปฏิบัติงานของท่านให้มีจิตใจรักงาน, การฝึกอบรมเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของผู้บังคับบัญชา 6) การฝึกอบรมเป็นการกระตุ้นเตือนท่านให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้า 7) การฝึกอบรมช่วยให้ท่านแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง และปรับปรุงวิธีการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 8) พนักงานใหม่ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมการทำงานจะเป็นลักษณะของการลองผิดลองถูก ซึ่งทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณขององค์กร พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมของพนักงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมมากกว่าเพศชาย พบว่า พนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมของพนัก งานในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมมากกว่าเพศชาย พบว่า พนักงานที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ในการฝึก อบรมของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ พบว่า ประสบการณ์ในการทำงานมีผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ พบว่า ตำแหน่งงานในหน้าที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญรายการ ความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ของประกันสังคม(2551-02-14T02:31:35Z) พัชรา สันทองการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ของประกันสังคมในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความความคิดเห็นของผู้ประกันตน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกันตนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จ.ชลบุรี ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ประกันตนกับการให้บริการทางการแพทย์ของประกันสังคมในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรีจำแนกตามเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยผู้ประกันตนเพศหญิงมีระดับความคิดเห็น ด้านตรวจรักษาของแพทย์และพยาบาล และด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าผู้ประกันตนเพศชาย จำแนกตามอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีอายุไม่เกิน20ปีมีความคิดเห็นที่มีต่อบริการทางการแพทย์ มากกว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 21-30 ปี และ 31-40 ปี ในทุกด้าน จำแนกตามระดับการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีระดับการศึกษาน้อยมีความคิดเห็นต่อการบริการทางการแพทย์มากกว่าผู้ประกันตนที่มีระดับการศึกษาสูง จำแนกตามรายได้พบว่า ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริการทางการแพทย์แต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีรายได้สูงมีความคิดเห็นกับการบริการทางการแพทย์น้อยกว่าผู้มีรายได้น้อย จำแนกตามสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนใช้บริการพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผู้ประกันตนที่ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่ายมีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านเวชระเบียนมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย ส่วนผู้ประกันตนที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่ายรายการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์การและความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการ(2551-02-14T03:16:36Z) สุภธิดา ดังโพนทองการวิจัย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์การและความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อองค์การ กรณีศึกษา : บริษัท เค แอนด์ เอ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีต่อปัจจัยภายในองค์การ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีทรัพยากรที่เพียงพอ ความพึงพอใจสิ่งแวดล้อมภายนอกของงาน ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น ความท้าทายของงาน สิทธิส่วนบุคคลในการทำงาน การทำงานและการดำเนินชีวิตโดยรวม เพื่อศึกษาระดับความผูกพันที่มีต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ ความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน ความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ ของบริษัทเค แอนด์ เอ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จำนวน 187 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social sciences) for Windows เพื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพื้นฐานคือค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยภายในองค์การ ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การอยู่ใน จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับความผูกพันต่อ องค์การ พบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ ความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน และความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ 2. การมีทรัพยากรที่เพียงพอ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ ความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุนและความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ 3. ความพึงพอใจสิ่งแวดล้อมภายนอกของงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ และความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ ส่วนความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจสิ่งแวดล้อมภายนอกของงานโดยมีความสัมพันธ์กันในทางลบ และมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อย 4. ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่นกับความผูกพันต่อองค์การ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ ความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน และความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ 5. ความท้าทายของงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์ ความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน และความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ 6. สิทธิส่วนบุคคลในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากอารมณ์และความผูกพันอันเนื่องมาจากการลงทุน แต่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันอันเนื่องมาจากหน้าที่ โดยมีความสัมพันธ์กันในทางลบ และมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อยที่สุดรายการ การสำรวจระดับความคิดเห็นและระดับความต้องการในการฝึกอบรม กรณีศึกษาโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม(2551-02-14T17:10:00Z) กรพินท์ ชาวนาการศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กรของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม เพื่อศึกษาถึงความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคมและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกอบรมของบุคลากรโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับงาน และอายุงาน มีเครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) ในการทดสอบความแตกต่างด้านอายุ ระดับงานและอายุงาน กับความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมในองค์กร และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Lease Square Method ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนา ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ การจัดทำแผนการเรียนรู้ รองลงมาคือการผลิตสื่อการเรียนรู้ และ การวัดผลและประเมินผลการเรียนของนักเรียน ตามลำดับ ในการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นด้านการฝึกอบรมของบุคลากร โดยรวมและด้านการปฏิบัติงาน จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความต้องการในการฝึกอบรมด้านโอกาสในการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม เพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศหญิง และ ด้านวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม และ ด้านการปฏิบัติงาน เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมมากกว่าเพศชาย ด้านอายุ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านระดับงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอายุงาน พบว่า ด้านโอกาสในการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย บุคลากรที่มี อายุงาน 31 ปีขึ้นไปมีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่มีอายุ 11-20 ปีรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากรในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-02-14T17:32:48Z) มาชิดา โกรัตนะการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของประชากรในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งทำการทดสอบสมมติฐาน ในการวิจัยโดยการทดสอบด้วยค่าไค-สแควร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านการตลาดพบว่าประชากรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยด้านการ จัดจำหน่ายมาก และให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาดระดับปานกลาง 2. ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในด้านต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าปัจจัยทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากร ปัจจัยด้านราคา มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากร ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากร ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ประชากร สรุปปัจจัยด้านการตลาดและประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของประชากรรายการ การศึกษาระดับสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร(2551-02-14T17:54:27Z) วนันธร ภัตร์จันทร์การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในด้านต่างๆ ของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะในด้านต่างๆ ของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โคยกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับบริหารและปฏิบัติการของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 400 คน โดยแบบสอบถามซึ่งมี 2 ส่วน ส่วนที่1ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่2 แบบสำรวจความสามารถในการวางแผน จัดระบบ กำหนดและควบคุมในการดำเนินงานของผู้จัดการฝ่ายผลิต และได้นำไปทดสอบ(Pre-Test)กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 ราย โดยได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .8514 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานในส่วนของการวัดระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อระดับสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า สมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้จัดการฝ่ายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครมีสมรรถนะด้านการวางแผนการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 อันดับสองคือ ด้านการสื่อสาร อันดับสามคือ ด้านความสามารถในการควบคุมตนเอง อันดับสี่คือ ด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม อันดับที่ห้าคือ ด้านความสามารถเชิงกลยุทธ์ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความสามารถในการรับรู้เรื่องระหว่างประเทศ และผลการวิจัยยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน จะมีความคิดเห็น ต่อสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายผลิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญในทุกๆ ด้าน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในด้านของอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ต่อเดือน จำนวนพนักงานในโรงงาน จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในบางหัวข้อย่อยรายการ สำรวจความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทเฮ้าส์โฮลด์ ซิสเท็ม จำกัด(2551-02-14T18:14:06Z) ฉัตรแก้ว กฤตยารักษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในบริษัท เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทาง มาตรการและกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้ดีมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยแบ่งออกเป็น ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่างๆ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด และด้านบุคคลหรือพนักงาน ผลการวิจัยแสดงว่า ลูกค้ามีระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ด้านที่ลูกค้าพอใจมากได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไปสามารถทำความสะอาดที่นอนและบ้านได้ตามสาธิต ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีข้อมูลอ้างอิงอย่างชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์สามารถป้องกันตัวไรฝุ่นได้ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทใช้งานง่ายและสะดวกสบาย เป็นที่บ่งชี้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทนั้นมีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจและพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์จำแนกตามเพศโดยภาพรวมรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมและรายด้านทุกด้านจำแนกตามอายุแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพของผลิตภัณฑ์จำแนกตามระดับการศึกษาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่ากลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมและรายด้านทุกด้านจำแนกตามสถานภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมและรายด้านทุกด้านจำแนกตามอาชีพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมและรายด้าน ทุกด้านจำแนกตามรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ พบว่ากลุ่มรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มีความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมมากกว่ากลุ่มรายได้ 10,001-20,000 บาท กลุ่มรายได้10,001-20,000 บาท มีความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมน้อยกว่ากลุ่ม รายได้ 20,001-30,000 บาท 30,001-40,000 บาท และ40,001 บาทขึ้นไป การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่างๆ จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์กับความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่างๆ มีความสัมพันธ์กัน มีความสัมพันธ์กันทางด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคคลหรือพนักงานรายการ การศึกษาสภาพการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา(2551-02-14T18:25:35Z) วรากร ศรีวิฑูรย์ศักดิ์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี และ(2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา โดยจำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปี ในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ และด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบที (t test )ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance )ในการทดสอบความแตกต่างด้านชั้นปีที่ศึกษา และคณะ ที่ศึกษาและเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยทดสอบตามวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศ กลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่าเพศชาย 2. ชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 1มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่าชั้นปีที 3 และปีที่ 4 3. คณะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นมากกว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์รายการ การรับรู้ต่อการจัดการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ : กรณีศึกษา ศูนย์บริการสาธารณสุขเนินพะยอม จังหวัดระยอง(2551-02-14T18:56:40Z) วิไลรัตน์ สีเหมือนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจ ต่อบริการรักษาพยาบาล ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เนินพยอม และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล กับการรับรู้ต่อการจัดบริการของผู้รับบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 - วันที่ 9 สิงหาคม 2549 ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้การจัดบริการภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับที่จากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือการบริการด้านขั้นตอนบริการ ด้านสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบุคลากร เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้ต่อการจัดบริการด้านบุคลากรควรปรับปรุงจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอกับผู้รับบริการ และห้องยาให้มีความสะดวก และถูกต้อง 2. ความพึงพอใจต่อการบริการภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ รองลงมา ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากบริการ ส่วนความพึงพอใจต่อความสะดวกที่ได้รับจากบริการ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจปานกลาง และที่ควรปรับปรุงคือการให้บริการของห้องจ่ายยาให้มีความสะดวกมากขึ้น 3. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ กับการรับรู้ต่อการจัดบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้กับการรับรู้ต่อการจัดบริการ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านขั้นตอนการบริการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตัวแปร อายุ และอาชีพ ของด้านสถานที่มีความแตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ และระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ กับความพึงพอใจต่อการบริการ ด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัย และการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการพบว่าไม่แตกต่างกัน 5. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ต่อการจัดบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์กันทุกด้านรายการ สำรวจทัศนคติของประชาชนจังหวัดชลบุรีที่มีต่อการบริหารขององค์กรบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี(2551-06-17T06:24:44Z) ณัฐพงษ์ วงศ์สถิตย์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทัศนคติที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี กับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง จากการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง ที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ในด้านต่างๆ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงมีทัศนคติต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่แตกต่างกัน ในทุกๆ ด้าน สำหรับ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน พบว่า มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน ในด้าน การศึกษา และการกีฬา ด้านการท่องเที่ยว และ ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ แต่มีทัศนคติต่างกัน ในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการส่งเสริมอาชีพและรายได้ ด้านการสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ และ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม โดยเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18-30 ปี มีความคิดเห็นต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการส่งเสริมอาชีพและรายได้ และการสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 31-59 ปี มีทัศนคติต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการส่งเสริมอาชีพและรายได้ การสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ และด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน พบว่า มีทัศนคติต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ต่างกัน ในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ แต่มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน ในด้านอื่นๆ และเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน นักศึกษา มีความคิดเห็นต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มตัวอย่างที่มีธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย มีทัศนคติต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่รับราชการหรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่มีที่อยู่ในเขตอำเภอที่ต่างกัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเขตอำเภอที่ต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่ต่างกัน ในทุกๆด้านยกเว้นด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งมีความแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีความไม่แตกต่างกันในทุกๆด้านรายการ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด(2551-06-17T08:32:30Z) จรัสศรี สิ้นทองค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจของพนักงาน บริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ลักษณะงาน สถานภาพการสมรสและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ปี 2549 จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one - way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด มีระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ็น. ที. พี. ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยรวมจำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ลักษณะงาน สถานภาพ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านเพศซึ่งเพศหญิงมีขวัญและกำลังใจมากกว่าเพศชาย และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 1 ปี 1 ปีถึง 2 ปี มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากกว่าพนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 2 ปีขึ้นไปรายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด(2551-06-17T09:32:18Z) ปรีดาพร บุญเพ็งวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภายในบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ขั้นเงินเดือน ตำแหน่งงานปัจจุบัน ที่พักอาศัยปัจจุบัน สถานภาพการสมรส ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานภายในบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่ รายละเอียดส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ได้แก่ การวัดระดับความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า t-test และค่า F-test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ทรีเฟส เทรดดิ้ง จำกัด อยู่ในระดับพอใจอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่าความพึงพอใจของพนักงานในด้านเงินเดือนและสวัสดิการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( X=3.83 ) ในข้อที่ว่าการพบปะสังสรรค์หรืองานเลี้ยง ระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( X=4.15) ในข้อที่ว่าด้วยเรื่องเงินเดือนที่ท่านได้รับในปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีพของท่านและครอบครัวมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=3.35) และด้านสถานภาพการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X=4.18) ได้แก่ สภาพทั่วไปของที่ทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( X=4.33) และความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( X=4.03) ซึ่งจากระดับความพึงพอใจดังกล่าว ควรมีการปรับปรุงแก้ไขในด้านเงินเดือนที่ไม่พียงพอต่อการดำรงชีพ สวัสดิการและความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ ที่ช่วยให้พนักงานเกิดความพึงพอใจ ด้านเงินเดือนควรปรับฐานเงินเดือนให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของกรมแรงงานหรือการให้ฐานเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา รวมถึงความสะดวกสบายของเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อที่องค์การจะได้รับประโยชน์สูงสุด และจากการ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ขั้นเงินเดือนปัจจุบัน ตำแหน่งงานที่ปฏิบัติในปัจจุบัน ที่พักอาศัยปัจจุบัน และสถานภาพการสมรส ที่แตกต่างจะมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัจจัยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ในมุมมองผู้ปฏิบัติงาน(2551-06-19T02:46:48Z) อนุพงศ์ พูลสมบัติการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ในมุมมองของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และรายได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของโรงพยาบาสวรรค์ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 152 คน ผลจากการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความคิดเห็นอันดับที่ 1 คือ ด้านความน่าเชื่อถือ อันดับที่ 2 คือ ด้านความปลอดภัย อันดับที่ 3 คือ ด้านความสามารถ อันดับที่ 4 คือ ด้านความเข้าใจผู้รับบริการ อันดับที่ 5 คือ ด้านความเชื่อถือได้ อันดับที่ 6 คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร อันดับที่ 7 คือ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันดับที่ 8 คือ ด้านความสุภาพ อันดับที่ 9 คือ ด้านลักษณะภายนอก และอันดับสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านความสะดวก และเมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า เพศต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน อายุต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสาร ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 21 – 30 ปี กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 31 – 40 ปี และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 41 ปี สถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ระดับตำแหน่งงานต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสารที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับตำแหน่งงานข้าราชการ มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับตำแหน่งงานลูกจ้างประจำ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้านรายการ พฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทย(2551-06-19T03:27:33Z) วิรัลพัชร วิริตการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย และปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาดกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเกาะเสม็ด จำนวน 200 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าสถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการค่าทดสอบความสัมพันธ์โดยไค-สแควร์( Chi-square) จากสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความสัมพันธ์กัน 1.ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ(Product) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.ปัจจัยด้านราคา(Price) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย(Place) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อระบบความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทไทยแท้งค์เทอร์มินัล(2551-06-20T06:59:01Z) รพีพรรณ สุระประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระบบความปลอดภัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในการทำงานโดยการเปรียบเทียบดังกล่าวจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานบริษัทไทยแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และ One-Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อปีที่ 10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นโสด มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี และ 11 ปีขึ้นไป 2. ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านนโยบายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานบริษัทเคมี พบว่า เพศ รายได้ สถานภาพ และประสบการณ์ในการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ อายุ และระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .05รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร(2551-06-23T06:59:15Z) วสันต์ กนิฏฐะกุลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ในประเทศไทยรวมถึงความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั้งในปัจจุบันและอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One – way analysis of variance :ANOVA,Chi-square และ LSD ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน-นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาทและ มีสถานภาพโสด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของผู้บริโภคในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร พบว่า เหตุผลที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค คือ Spec ของโน๊ตบุ๊คมากที่สุด เงื่อนไขที่ผู้บริโภคในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร นิยมเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค คือ ชำระด้วยเงินสด เพียงครั้งเดียว เหตุผลที่ผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คจากห้างสรรพสินค้า คือ สะดวกสบาย ใกล้บ้าน ติดต่อขอรับบริการสะดวกมากที่สุดภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน สื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร มากที่สุด คือ สื่อทางโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกๆ ด้านรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา : บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด(2551-07-02T08:29:02Z) นิกร ช่วยศรีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สภาพสมรส ระยะเวลาในการปฎิบัติงานที่บริษัทฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 210 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความความคิดเห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานจำแนกตามเพศ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลต่อการตัดสินใจลาออกจากองค์กรมากกว่าเพศหญิง จำแนกตามอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4 ด้านคืออายุแตกต่างกันมีผลในการตัดสินใจในการลาออกด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านปัจจัยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ทางด้านการศึกษาพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านรายได้พบว่าด้านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลในการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ด้านสถานภาพพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยองค์กร และปัจจัยด้านลักษณะงานมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการลาออกอย่างมีนัยสำคัญคือ ปัจจัยด้านด้านลักษณะงาน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานรายการ ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฎิบัติงานพนักงานขับรถเครนในเขตจังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:09:47Z) สมควร สนิทวาจาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับของปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถเครนในเขตจังหวัดชลบุรี จำแนกตามอายุ ประสบการณ์การทำงานในบริษัทปัจจุบัน ขนาดของรถเครนที่ขับ และภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งมีปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ด้านลักษณะงาน ด้านค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านสภาพการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานขับรถเครนในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน137 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประกอบค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถเครนในเขตจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และระดับปานกลาง 4 ด้าน คือ ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพการทำงาน ด้านค่าตอบแทน 2. ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถเครนในเขตจังหวัดชลบุรี จำแนกตามอายุ และประสบการณ์การทำงานในบริษัทปัจจุบัน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามขนาดของรถเครนที่ขับ และภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:19:58Z) ณัฐกานต์ ภัทร์ประทานพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling Techniques เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีคือ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดทางตรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และการตลาดทางตรง ไม่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี