ARC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 6 ของ 6
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Communities’ Environment Improvement Network: Strategy and Process toward Sustainable Urban Poor Housing Development(Thammasat University, 2549) Prayong Posriprasert; Nattawut Usavagovitwong“Baan Mankong” program is presently the government’s major policy in urban poor housing development in Thailand, undertaken by Community Organization Development Institute (CODI). The main strategy of the program is to upgrade living conditions, secure tenure as well as community capacity building through communities’ self-proposed projects and people participation process. This paper is derived from the experience in the development practice of a case study on Bang Bua canal in Bangkok, where on both sides of the waterfront are presently illegally occupied by a group of neighborhoods. These communities have invaded into public land and settled their housing trespassing into the canal. The previous attempts by the local authority to evict the waterfront urban poor communities, for being the cause of water pollutions and other associated environmental problems, had led to a long conflict in urban development. To achieve the goals of sustainable community development, it is vital that not only the core problems of urban poor housing such as the lack of secure tenure and development funding are systematically solved, but also to evoke residents’ participation and people awareness on environment related issues. The Bang Boa community development scheme under the “Baan ManKong” program is expected to highlight initial guidelines and strategies for urban poor settlements’ redevelopment of other waterfront area of Bangkok. This paper will discuss how the process of community capacity building and empowerment have been undertaken and will be initiated, particularly in establishing various networks as a significant development strategyรายการ ความเหลื่อมล้ำในเมืองมหานคร: บทปริทรรศน์ความรู้ในบริบทประเทศไทย(Built Environment Inquiry Journal 17(2): 157-178, 2561-12) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์; ขวัญพร บุนนาค; นภัส วัฒโนภาสการศึกษาความเหลื่อมล้ำในเมืองมหานครได้อภิปรายพหุลักษณ์ของอาการและสาเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำโดยจำเพาะลงในลักษณะเชิงพื้นที่เมืองของบริบทของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าการศึกษาก่อนหน้าที่เกี่ยวกับประเด็นความเหลื่อมล้ำมีอยู่จำกัด จากการทบทวนวรรณกรรมของคณะผู้วิจัยได้พบอาการและสาเหตุของความเหลื่อมล้ำอันสามารถอนุมานเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นสาเหตุและปรากฏการณ์ความเหลื่อมล้ำของเมืองมหานครภายใต้บริบทของประเทศไทยได้พอสังเขป โดยด้านหนึ่งนั้นเมืองมหานครเป็นภูมิ-เศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและระเบียบโลก (Global City) ในฐานะประตูทางเข้าของระบบทุนเชิงภูมิศาสตร์ (Capital Gateway) ในอีกด้านหนึ่งจากบริบทเฉพาะของประเทศไทยที่การรวมศูนย์เชิงอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้ควบแน่นไปกับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่อย่างกรุงเทพมหานครและขยายตัวออกสู่ปริมณฑล คณะผู้วิจัยสรุปถึงมูลเหตุของกลไกการสร้างความเหลื่อมล้ำซึ่งภาวการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อคนจนเมือง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความเหลื่อมล้ำในทรัพยากรและที่ดินต่อมิติด้านสิทธิที่จะอยู่ในเมือง 2) ความเหลื่อมล้ำในมิติด้านการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่การพัฒนา และ 3) ความเหลื่อมล้ำในมิติการเข้าถึงและการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองรายการ การร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ: เจตคติ, กระบวนการ และโอกาสของคนเมือง(ASA, 2562-12-28) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์รายการ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการยศาสตร์กับการออกแบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19(หนังสือประมวลบทความในงานประชุมวิชาการ SPU EDUCATIONAL TRANSFORMATION TO THE NEW NORMAL หัวข้อ โอกาสและความท้าทายการจัดการเรียนการสอนในช่วงภาวะวิกฤต Covid-2019 และ New Normal กรุงเทพฯ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563. 586 หน้า., 2563-07-31) อานนท์ พรหมศิริบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการยศาสตร์กับการออกแบบภายในเพื่อให้เนื้อ หาสอดคล้องกับวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19 (Post COVID-19) โดยมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อม พฤติกรรม และสังคมของมนุษย์หลังสถานการณ์โรคระบาด ทำให้เกิดแนวทางการดำรงชีวิตในรูปแบบความปรกติใหม่ หรือ New normal อันเป็นผลมาจากการปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ควบคู่ไปกับความพยายามรักษาและฟื้นฟูศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ มีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร เกิดการบ่ายเบนเบนออกจากความคุ้นเคยอันเป็นปกติมาแต่เดิมในหลายมิติ ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ โดยสิ่งใหม่เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติรูปแบบใหม่จนในที่สุด ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีกระทบโดยตรงกับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของมนุษย์ที่นำไปสู่การออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน โดยจากการศึกษาข้อมูลแนวทางการดำรงชีวิตในรูปแบบความปรกติใหม่นั้นสามารถสรุปแนวทางหรือหลักเกณฑ์การยศาสตร์เพื่อการออกแบบภายในได้เป็นสาระสำคัญ 6 หัวข้อใหญ่ คือ การลดความหนาแน่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การแบ่งเขตการใช้พื้นที่ การสัญจร ระบบถ่ายเทอากาศและการลดการสัมผัส ซึ่งจะนำไปสู่การนำเสนอการเรียนรู้ในกับนักศึกษาเพิ่มเติมจากบทเรียนพื้นฐานและเป็นชุดองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนและการออกแบบในยุคปัจจุบันและอนาคตต่อไปรายการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รายวิชาสหกิจศึกษาการออกแบบภายใน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19”(หนังสือประมวลบทความในงานประชุมวิชาการ SPU EDUCATIONAL TRANSFORMATION TO THE NEW NORMAL หัวข้อ โอกาสและความท้าทายการจัดการเรียนการสอนในช่วงภาวะวิกฤต Covid-2019 และ New Normal กรุงเทพฯ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563. 586 หน้า., 2563-07-31) ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์การปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในรายวิชา สหกิจศึกษาการออกแบบภายใน (ภาคเรียนที่ 2/2562) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019: COVID - 19) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการไปแล้วครึ่งทาง อีกทั้งมหาวิทยาลัย ศรีปทุมได้ออกประกาศ ขอหยุดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาก่อนกำหนด รวมทั้งให้ใช้ระบบการเรียนการสอน ออนไลน์และการประชุมออนไลน์แทน เพื่อควบคุมสถานการณ์และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยรูปแบบแบบบทบาทสมมติ (Role Playing) สร้าง สถานการณ์จำลองให้มีความใกล้เคียงต่อการปฏิบัติงานจริง ด้วยรูปแบบการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ทดแทนการปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ ให้กับกลุ่มนักศึกษาที่ยุติการปฏิบัติงาน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการสอนออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกฝนพัฒนาทักษะวิชาชีพ และการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา จนครบกำหนดเวลาตามแผนดำเนินการรายวิชา และเป็นไปตามเป้าหมาย ของสหกิจศึกษาที่มีความต้องการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการทำงานในด้านการ พัฒนาอาชีพรายการ ‘โครงการกรุงเทพเมืองสีเขียว 2030’: กรณีศึกษาของการกระจาย ภารกิจสู่การจัดการพื้นที่สาธารณะระดับละแวกบ้านบนที่ดินเอกชน(วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 2564-07-17) Nattawut UsavagovitwongGreen Bangkok 2030 has been the BMA’s policy by enhancing 30% of the coverage areas of green public space by 2030. Amidst its numerous constraints such as the land acquisition, the post-occupancy management, and thevibrant programming creation, theresearchershavestudied upon the chance in enhancing green public space via the National Health Assembly’s mechanism and via the policy dialoguing among communities, civil actors, state agencies, and private sectors, since 2018. Oneof the conditionshas been incorporating more with private sectors. This study has beenconducted via participatoryobservationontwoneighborhood park’s casestudies inBangkok. By challenging upon the enhancing privately-owned public spaces, two prominent questions are addressed; 1) what the conditions are in persuading private sectors into the comanaging scenarios along with the BMA; and 2) how the operations include non-state agencies in the process? The study highlights that BMA has gained some land plots from private sectors for being public green spaces and enthusiastically engaged in creating good programs upon them because of new land tax policy. However, the study underlies the significant managerial gaps within BMA’s internal bureaucracy to carry on if any exponentially accelerating numbers of neighborhood park project comparing to its limited fiscal expenditure. The recent insights from this study shed some lights upon the triangular model of the working group at the district level including state, community, and private sector as a commission platform.