College of Logistics and Supply Chain
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Logistics and Supply Chain โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 119
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ A MODEL FOR COMPETITIVE SERVICE LEVEL OF LOGISTICS SERVICE PROVIDERS IN THAILAND - VIETNAM – CHINA(SRIPATUM UNIVERSITY, 2561) PISOOT THANKDENCHAIThe objectives of this research were to develop a casual relationship model for competitive service level of logistics service providers in international transportation to investigate the direct and indirect effects in international transport logistics of Thais, Vietnamese and Chinese service providers. Samples were 509 logistics service providers, of which were 159 were from Thailand, 157 were from Vietnam, and 193 were from China, using purposive sample selection method. Research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM), using Lisrel version 8.80. Findings were the causal relationship model was fit to empirical data with the Chi-square (X2) = 72.75, df = 62, p = 0.165, GFI = 0.98 AGFI = 0.97, RMSEA = 0.018. The direct effects showed that the competitive Service Level (SVL) was affected by Dominant Power on selection (DOM) with coefficient value at 0.37, and also from Service Performance Unit (SPU) as 0.36. The competitive Service Level (SVL) was also affected indirectly by Dominant Power on selection (DOM) at 0.11, followed by Strategic Sourcing Technique (SST) at 0.09 respectively. Moreover, the observed variables valued the reliability in between 0.54 – 0.94. The highest reliability was factors: Cost and Flexibility (Z1, Z3) which were equally at 0.94. For the lowest reliability value was: Risk avoidance (Y4) valued at 0.54. For implementation and further research recommended to modify the degree of observed variable in Service Performance Units (SPU) which may significant differently in a different policy and local cultures in different countries.รายการ การลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักการ ECRS กรณีศึกษา: ผู้ผลิตโคมไฟ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ลัลนา สุวรรณางานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยใช้ การกำจัด – การรวมกัน – การจัดใหม่ – การทำให้ง่าย เรียกว่า หลักการ "ECRS" ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที เน้นการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ด้วยการปรับแนวคิดในการทำงาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นแนวปฏิบัติที่ดี 4 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 ปรับคุณภาพของกระดาษทำกล่องส่งผลให้ สามารถลดต้นทุนลงได้ 120,600 บาท คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 2 จัดกลุ่มมาตรฐานขนาดกล่องเพื่อลดความหลากหลายของขนาดให้เหลือเพียง 6 กลุ่ม และสามารถเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อกล่องแต่ละขนาด ส่งผลให้สามารถต่อรองราคากับผู้ส่งมอบได้ประมาณ 15-25 เปอร์เซ็นต์ การแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ จำเป็นต้องมีการจัดกลุ่มมาตรฐานกล่อง อ้างอิงตามขนาดแท่นรองรับสินค้ามาตรฐานขนาด 100 x 120 เซนติเมตร หรือ 110 x 110 เซนติเมตร ซึ่งขนาดที่กำหนดจะสามารถวางเรียงเป็นหน่วยขนส่งได้บนแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนได้ทั้งสิ้น 88,216 บาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 3 การจัดมาตรฐานแท่นรองรับสินค้าตามมาตรฐานแบบหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้ต้นทุนลดลง 254,275 บาท คิดเป็น 86 เปอร์เซ็นต์ และ กรณีที่ 4 การใช้พลาสติกกันกระแทก แทนกระดาษกันกระแทก ในการป้องกันสินค้าแตกหักเสียหาย และยังเป็นการประหยัดเวลาในการออกแบบและสั่งผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ 375,442.59 บาท คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์รายการ การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญการค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า และ เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีวิเคราะห์จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อหาทำเลที่เหมาะสม จุดที่หาได้ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ที่ 146/26 บางแวก แขวงบางไพร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีคลังสินค้าให้เช่า หรือ ไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย จึงได้ทำการขยายขอบเขตของการหาพื้นที่ออกไปในรัศมี 30 กิโลเมตร จากนั้นใช้วิธีประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย (Factor Rating Method) กำหนดตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียแล้ว สามารถสรุปปัจจัยและ น้ำหนักที่จะนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดังนี้ 1.ต้นทุนค่าขนส่ง 18% 2.โครงสร้างพื้นฐาน/ สภาพแวดล้อม 18% 3.ต้นทุนการดำเนินการ 17% 4.ต้นทุนด้านคลังสินค้า 16% 5.ภูมิศาสตร์/ การเข้าถึงลูกค้า 16% 6.การดำเนินธุรกิจ/ กฏระเบียบ 15% ใส่คะแนนให้ปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละสถานที่ตั้ง คำนวนค่าคะแนนกับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย แล้วรวมคะแนนทั้งหมดของแต่ละทางเลือก โดยคลังที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)รายการ การลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผน การพยากรณ์และเติมเต็มสินค้าร่วมกัน กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ลำเลียงสินค้าอากาศยาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิดา เรือนนิลการลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกันของบริษัทกรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าอากาศยานนั้น เป็นการศึกษาและนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้า ให้มีแนวทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษา ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อมาคำนวนหาค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อ โดยใช้การคำนวนโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบ Moving Average และทำการเพิ่มค่า Safety Stock จำนวน 15% เพื่อนำค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ได้นั้น นำมาใช้ในการวางแผน การพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลต่างๆร่วมกัน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และทำให้เกิดการวางแผนการสั่งซื้อสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดค่าเสียโอกาสในการขายสินค้า และในส่วนของลูกค้านั้น ทำให้บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามเวลา ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัทมากขึ้น และสามารถขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตรายการ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิชา ตันสูติชลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เสนอแนวทางการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เพศชาย เป็นวัยกลางคน รายได้ปานกลาง มีวัตถุประสงค์ท่องเที่ยว เพื่อความเพลิดเพลิน / พักผ่อนหย่อนใจ ชอบการเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน / หมู่คณะ มีค่าใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยต่ำกว่า 500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ผลการทดสอบสมมติฐาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยกเว้นด้านเพศ รายได้ ภูมิลำเนา ที่ไม่แตกต่างกัน และองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และหลังการเดินทางมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วยค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ในส่วนของแนวทางการจัดการโซ่อุทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดการการไหลเวียนทางกายภาพ (Physical flows) เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ท่าเรือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ) ขยะ เป็นต้น การจัดการการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร (Information flows) เช่น การประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเกาะเต่า และการจัดการการไหลเวียนทางการเงิน (Financial flows)รายการ การศึกษารูปแบบโซ่อุปทานของร้านแว่นตารายย่อย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนุกูล แป้นแก้วการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบโซ่อุปทานของร้านแว่นตารายย่อยโดยใช้ โซ่อุปทานการใช้ระบบของหน่วยงานคนเทคโนโลยีกิจกรรมข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากผู้จัดหาไปยังลูกค้ากิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จแล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภคหรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้นวัสดุที่ถูกใช้แล้วอาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials)โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของตนเองและร่วมกันศึกษารูปแบบสิ่งที่แสดงโครงสร้างของความเกี่ยวข้องระหว่างชุดของปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ หรือองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกันการจัดการโซ่คุณค่ามีองค์ประกอบสองอย่างที่มีบทบาทที่สำคัญได้แก่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน(Supply chain management หรือ SCM) และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management หรือ CRM)โดยห่วงโซ่อุปทานจะช่วยในเรื่องต่างๆอาทิเช่นการตัดสินใจว่าทรัพยากรหรือวัตถุดิบใดที่ควรจะสั่งเข้ามาในโซ่คุณค่าสั่งเข้ามาด้วยปริมาณเท่าใดทรัพยากรหรือวัตถุดิบเหล่านั้นจะถูกจัดการหรือบริหารอย่างไรเพื่อแปลงให้เป็นสินค้าหรือบริการได้ตามที่ลูกค้าต้องการและจะส่งสินค้าไปให้ลูกค้าได้อย่างไรมีกำหนดการการส่งเป็นอย่างไรการตรวจติดตามและควบคุมการส่งสินค้ารายการ การวางผังคลังสินค้าห้องเย็น กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนิรุต ทรัพย์สุคนธ์ปัจจุบันธุรกิจห้องเย็นขายปลาทะเลแช่แข็งมีการแข่งขันสูง จึงต้องมีวิธีการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ปัจจัยที่สำคัญของห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร คือ การลดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า โดยการจัดวางผังสินค้าห้องเย็นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของธุรกิจให้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวธุรกิจ จากการศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิดและวางแผนการจัดการเรียงสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพโดยลดเวลาและระยะทางลง จึงได้นำเทคนิคการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC (ABC ANALYSIS) เข้ามาช่วย อีกทั้งยังดึงวิธีการ First In First Out: FIFO มาช่วยจัดการเพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ในห้องเย็น ที่เข้ามาก่อน ออกก่อน ป้องกันของเสียที่เกิดจากการเก็บสินค้าไว้นาน วิธี ABC เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะ สินค้าไหนที่มียอดขายที่สูงจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อสามารถหยิบได้สะดวก ลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าเพราะ เป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าลงได้ครึ่งหนึ่งรายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา : บริษัทผู้ให้บริการด้านธุรกิจขนส่งสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วัชรพล สิงหะเนติงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวางแผนการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบบริหารการจัดการขนส่ง (TMS) เพื่อลดระยะเวลาในการวางแผนการขนส่ง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดในการทำงานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในภาพรวมของการบริหารจัดการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของบริษัทกรณีศึกษา นำไปทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ TMS จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการนำระบบ TMS มาใช้ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำระบบ TMS มาใช้สามารถลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกได้ และทำการเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นเข้าไปแทน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมมีทั้งหมด 13 ขั้นตอน ส่วนขั้นตอนในการทำงานแบบปรับปรุงมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ลดลงมา 1 ขั้นตอน ในส่วนของระยะเวลาในการทำงาน การทำงานแบบเดิมใช้เวลาทั้งหมด 1025 นาที และการทำงานแบบปรับปรุงใช้เวลาทั้งหมด 965 นาที ลดระยะเวลาลงมา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 5.85รายการ การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) คุณานนท์ จงทองการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดความเสียหายจากการขนส่งปลาทะเลแช่แข็ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังก้างปลา พบสาเหตุสำคัญของความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพสินค้า จากระยะเวลาในการศึกษารวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 6 เดือน พบมูลค่าความเสียหายเป็นมูลค่า 171,650 บาท ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการวิเคราะห์หาแนวทางผู้วิจัยจึงเปรียบเทียบ 2 วิธีคือ การเสริมผนังกันความร้อนและการติดตั้งแอร์ ซึ่งทั้ง 2 วิธี ช่วยลดความเสียหายของสินค้าได้ 100% แต่การเสริมผนังกันความร้อนมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มีระยะเวลาในการคืนทุนที่เร็วกว่าอยู่ที่ 3 เดือน 24 ซึ่งคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะคืนทุนอยู่ที่ 24-36 เดือน ดังนั้นการลงทุนในการปรับปรุงรถขนส่งครั้งนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการคืนทุนที่ดีมากเพราะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน 24 วันรายการ แนวทางการลดพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ฐิติกร ชมขุนทดเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่ง มีสัดส่วนการใช้พลังงานขนส่งที่สูง และยังขาดกลไกการส่งเสริมการจัดการพลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ต้องมีการจัดการพลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงเพื่อมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยจัด "การจัดทำระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่ง" ขึ้น โดยอาศัยแนวทางการส่งเสริมโครงการสาธิตระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่ง (Logistic and Transport Management ; LTM) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของห้างหุ้นส่วนฯ กรณีศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขและป้องกัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับลดการใช้เชื้อเพลิงในด้านการขนส่ง ของห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่งระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่งสามารถนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ โดยกำหนดให้มี อัตราสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 10 % โดยอาศัย ทฤษฎี ด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยี , ด้านการบริหารจัดการ , ด้านวิธีการขับรถ , ด้านการสร้างทีมงาน และใช้มาตรการดังนี้ การอบรมพัฒนาการขับขี่ , การควบคุมลมดันยางให้เหมาะสม , การใส่สารหัวเชื้อน้ามันเชื้อเพลิง , การควบคุมการขับขี่อยู่ในช่วง 60-80 กม./ชม. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย Program Excel ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและทำการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและมีค่าดัชนี ลิตร/กม. ที่ดีขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.22 % ซึ่งมากกว่าค่าเป้าหมาย 4.22 %รายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนัก ความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการรายการ แนวทางการลดปัญหาการเน่าเสียของผักผลไม้สดส่งออกโดยเครื่องบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ศิรินันท์ พันโนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งและเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งโดยนำแนวคิดลีนหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าในการดำเนินงาน มาช่วยในกระบวนการการทำงานให้รวดเร็วขึ้น จากการเขียนแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผักและผลไม้เสียหายเกิดขึ้นมาจาก 3 กระบวนการคือ ส่วนของบริษัทไม่มีการตรวจสอบผักและผลไม้จากชาวสวนและใช้หนังสือพิมพ์ในบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ ส่วน Shipping การพักสินค้า ส่วน คาร์โก้ การจัดเรียงสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ การเสนอแนวทางได้จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS โดยใช้ ส่วนของบริษัท แนวคิดการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Q.C.) เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้มีปัญหาผักและผลไม้เน่าเสียที่มาจากชาวสวนและการใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ เพื่อการยืดอายุในการเก็บรักษาผักและผลไม้ ให้คงคุณค่า ความสดใหม่ ไว้ได้นานกว่าเดิมส่วนของ Shipping การจัดมาตรฐานในการทำงานไม่ให้มีการพักสินค้า ช่วยให้ลดกระบวนการรอคอยลงได้ ส่วนของ คาร์โก้ การแบ่งปันของข้อมูลข่าวสาร ความต้องการในการขนส่งต่อวัน เพื่อจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอกับความต้องการ สินค้าที่มาถึงคลังก่อนถยอยบรรจุก่อนเพื่อรอสินค้าที่เหลือเข้ามาเติมเต็มบรรจุสินค้าตามใส่ตู้คอนเทนเนอร์ LD3 ปริมาตรในการบรรจุ 4.0 ลบ.ม น้ำหนักไม่เกิน1588 กิโลกรัม แนวความคิดการจัดการทั้ง 2 แบบจะทำให้ลดช่องว่างในการทำงานและสามารถลดระยะเวลาการทำงานลงได้รายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจการคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการรายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการไปวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้รับผิดชอบในสถานประกอบการของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 400 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยการวิเคราะห์สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียว (One way-Multivariate Analysis of Variance: MANOVA) และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอความตรงของรูปแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural equation model) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ สมมติฐานของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนและประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 319.80; df = 216; p = .0635; GFI .97; AGFI .98; RMR .045) และ (X2 = 40.86; df = 28; p = .05536; GFI = .98; AGFI .96; RMR .0099) การประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานอย่างยืนส่งผลทางบวกต่อความพึงใจของพนักงาน และประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ โดยการนำไปกำหนดหัวข้อหลักสูตรในการจัดฝึกอบรมแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ารายการ การวางผังคลังสินค้าห้องเย็น กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนิรุต ทรัพย์สุคนธ์ปัจจุบันธุรกิจห้องเย็นขายปลาทะเลแช่แข็งมีการแข่งขันสูง จึงต้องมีวิธีการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ปัจจัยที่สำคัญของห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร คือ การลดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า โดยการจัดวางผังสินค้าห้องเย็นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของธุรกิจให้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวธุรกิจ จากการศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิดและวางแผนการจัดการเรียงสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพโดยลดเวลาและระยะทางลง จึงได้นำเทคนิคการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC (ABC ANALYSIS) เข้ามาช่วย อีกทั้งยังดึงวิธีการ First In First Out: FIFO มาช่วยจัดการเพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ในห้องเย็น ที่เข้ามาก่อน ออกก่อน ป้องกันของเสียที่เกิดจากการเก็บสินค้าไว้นาน วิธี ABC เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะ สินค้าไหนที่มียอดขายที่สูงจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อสามารถหยิบได้สะดวก ลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าเพราะ เป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าลงได้ครึ่งหนึ่งรายการ ารวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABC ANALYSIS กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทรงศักดิ์ อยู่นานการวิจัยเรื่อง การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป เพื่อศึกษารูปแบบการจัดผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้นำ เอาการวิเคราะห์แผนผังสาเหตุและผล การวางผังสินค้า และเทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งประเภทสินค้าและเลือกวิธีจัดเรียงแบบเคลื่อนไหวเร็ว, เคลื่อนไหวปานกลาง และเคลื่อนไหวช้าโดยนำเอาปริมาณการผลิตปี พ.ศ.2561 มาทำ การวิจัย และทำการเปรียบเทียบระหว่างการจัดเก็บสินค้าแบบปัจจุบันกับการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ในการเตรียมสินค้าแบบปัจจุบัน เวลาที่พนักงานใช้ในการหยิบสินค้าค่าเฉลี่ยแต่ละ แร็คเท่ากับ 6.3 นาที และเมื่อนำการจัดวางผังคลังสินค้าแบบใหม่พร้อมกับการจัดกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis เข้าไปปรับปรุงทำให้ค่าเฉลี่ยในการหยิบสินค้าเพื่อการจัดส่งแต่ละ แร็คเท่ากับ 4.3 นาที ซึ่งลดลง 2 นาที ต่อหนึ่งแร็ค คิดเป็นร้อยละ 31.36 ทั้งนี้ปัญหาพนักงานหยิบสินค้าไม่ตรงตามเอกสารการส่ง สาเหตุเกิดจากการที่สินค้าวางรวมกันหลายๆ ชนิด หลังจากมีการจัดกลุ่มสินค้าและวางผังคลังสินค้า ไม่มีการหยิบสินค้าผิด ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและมีความ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่ารายการสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ซึ่งได้ถูกจัดแบ่งไว้ในกลุ่ม C บางรายการไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลาเกินกว่า 365 วัน กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้จัดทำเป็นรายงานนำเสนอผู้บริหารรายการ ตัวแบบความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สิริพร ทัตทวีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบวิธีผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแนวปฏิบัติในการจัดการโซ่อุปทาน ความร่วมมือของพันธมิตรธุรกิจ ความคล่องตัวในการดำเนินงาน คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ และความได้ เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุของความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน และ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัยในประเทศไทย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ สถานประกอบการธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัยในประเทศไทย จำนวน 466 สาขา ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 215 สาขา (รวม 597 คน) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เทคนิคโมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทางรายการ ความพร้อมของบุคลากรในองค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กรณีศึกษา : บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สรัลรัฐ รุ่งเรืองการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากรผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมของบริษัทกรณีศึกษาเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มความพร้อมของบุคคลากรเพื่อการให้บริการด้วยรถบรรทุกขนส่งสินค้าในองค์กรให้บริการด้วยรถบรรทุกขนส่งสินค้าเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กรณีศึกษา บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด โดยศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านสถานภาพและข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ทางาน เปรียบเทียบปัจจัยด้านองค์กร 7 ด้านทฤษฎี 7S McKenzie ได้แก่ โครงสร้างองค์กรกลยุทธ์การจัดหาบุคลากรเข้าทางานรูปแบบธุรกิจระบบบริหารงานค่านิยมร่วมทักษะความชำนาญของพนักงาน และข้อเสนอแนะอื่นๆโดยเทคนิควิจัยแบบปริมาณโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงาน หัวหน้างาน และพนักงานขับรถ บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด นำแบบสอบถามแจกกลุ่มตัวอย่างมาทั้งหมด 171 ชุด และเทคนิคเชิงคุณภาพโดยเลือกสัมภาษณ์ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ ที่มีความรู้และเชียวชาญมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยใช้คานวณ SPSS และเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการใช้การสัมภาษณ์รายการ การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุวิชา สวัสดีการศึกษาวิจัยเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุมวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของสถานการศึกษา กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพโซ่อุปทานของสถานการศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการวิจัยนี้ใช้ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ จากนั้นตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการความรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสมรายการ การลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์และเติมเต็มสินค้าร่วมกัน กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ลำเลียงสินค้าอากาศยาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิดา เรือนนิลการลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกันของบริษัทกรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าอากาศยานนั้น เป็นการศึกษาและนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้า ให้มีแนวทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษา ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อมาคำนวนหาค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อ โดยใช้การคำนวนโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบ Moving Average และทำการเพิ่มค่า Safety Stock จำนวน 15% เพื่อนำค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ได้นั้น นำมาใช้ในการวางแผน การพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลต่างๆร่วมกัน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และทำให้เกิดการวางแผนการสั่งซื้อสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดค่าเสียโอกาสในการขายสินค้า และในส่วนของลูกค้านั้น ทำให้บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามเวลา ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัทมากขึ้น และสามารถขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต