College of Logistics and Supply Chain
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Logistics and Supply Chain โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 119
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Comparative study of participatory teaching using technology with traditional teaching(Sripatum university, 2562-07-31) Asawin WongwiwatParticipation in the classroom affects learner’s learning process since instructors can only evaluate students’ understanding by means of questions and answers. This helps fulfill the missing knowledge of students. However, students are not willing to ask questions and answer questions because of the social concept and culture rooted in their minds. The study uses various technological tools like Facebook Group, PollEV, Google Forms. Students enrolled in the same subjects are divided into 2 groups. Group 1 applies traditional teaching whereas Group 2 implements technology in teaching. Measurement results are from midterm exam results and final exam scores of both groups.รายการ Enhancing Efficiency in Logistics Operations through Waste Minimization at Service Counters: A case study of a Private Postal Franchise(2567-05) Suchanan Pimala, Wanwisa Duantrakoonsil, Utumporn Yoosuk and Tattawan DuantrakoonsilThis research presents an approach to implementing lean principles in customer service at a Parcel service franchise in the Bangkok area. The objectives are: 1) to reduce waste and time during customers' parcel delivery and collection services, and 2) to reduce waste and time in locating packaging materials. The research methodology begins with collecting data on types of work, processes of each task, time, and service usage frequency. The findings reveal that the processes targeted for waste reduction are 1) the parcel-receiving process and 2) the packaging sales/parcel-receiving process. The cycle times for parcel receiving and packaging sales/parcel receiving are 263.4 seconds and 355.2 seconds, respectively. The waste in both processes can be summarized as follows: 1) waste from waiting in queues, 2) waste from excessive motion, and 3) waste from non-value-added activities. Using a fishbone diagram to analyze the causes of waste, it is found that the causes are 1) overwhelming customers using the service, 2) insufficient staff, and 3) complicated work procedures. After that, improvements are sought by reducing service counters and rearranging the store layout. As a result, the cycle times for parcel receiving and packaging sales/parcel receiving are reduced to 244.61 seconds and 260.92 seconds, respectively.รายการ Logistics Past Present and Future(วรสาร Logistics mag, 2563-03-01) อัศวิน วงศ์วิวัฒน์แสดงถึงวิวัฒนาการของ โลจิสติกส์จากอดีตถึงปัจจุบัน และอนาคตรายการ A MODEL FOR COMPETITIVE SERVICE LEVEL OF LOGISTICS SERVICE PROVIDERS IN THAILAND - VIETNAM – CHINA(SRIPATUM UNIVERSITY, 2561) PISOOT THANKDENCHAIThe objectives of this research were to develop a casual relationship model for competitive service level of logistics service providers in international transportation to investigate the direct and indirect effects in international transport logistics of Thais, Vietnamese and Chinese service providers. Samples were 509 logistics service providers, of which were 159 were from Thailand, 157 were from Vietnam, and 193 were from China, using purposive sample selection method. Research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM), using Lisrel version 8.80. Findings were the causal relationship model was fit to empirical data with the Chi-square (X2) = 72.75, df = 62, p = 0.165, GFI = 0.98 AGFI = 0.97, RMSEA = 0.018. The direct effects showed that the competitive Service Level (SVL) was affected by Dominant Power on selection (DOM) with coefficient value at 0.37, and also from Service Performance Unit (SPU) as 0.36. The competitive Service Level (SVL) was also affected indirectly by Dominant Power on selection (DOM) at 0.11, followed by Strategic Sourcing Technique (SST) at 0.09 respectively. Moreover, the observed variables valued the reliability in between 0.54 – 0.94. The highest reliability was factors: Cost and Flexibility (Z1, Z3) which were equally at 0.94. For the lowest reliability value was: Risk avoidance (Y4) valued at 0.54. For implementation and further research recommended to modify the degree of observed variable in Service Performance Units (SPU) which may significant differently in a different policy and local cultures in different countries.รายการ QMark new version(Logistic Max, 2562-04-01) อัศวิน วงศ์วิวัฒน์มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกหรือ Qmark ได้เริ่มประกาศใช้ในปี พ.ศ.2552 โดยกรมการขนส่งทางบก เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก (ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป) ถ้าเห็นตรา Qmark ติดตามรถกระบะ หรือ รถ 6 ล้อ เป็นการใช้ตราเครื่องหมาย Qmark ที่ผิดเงื่อนไขครับ ทางกรมฯ เขารับรองเฉพาะ รถตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป ต่ำสิบใช้ติดตราไม่ได้ครับ โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆเมื่อเวลาผ่านไปก็จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานให้เข้ากับยุคสมัยมาตรฐาน Qmark ก็เช่นเดียวกันมีการปรับแบบที่เรียกว่า Big minor change โดยจะมีการเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2562 ทางกรมการขนส่งทางบกจะประกาศ ได้มีการตัดทอนในส่วนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มเติมข้อกำหนดให้ทันสมัย มีหลายข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นรายการ Qmark new version(2563-03) อัศวิน วงศ์วิวัฒน์มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกหรือ Qmark ได้เริ่มประกาศใช้ในปี พ.ศ.2552 โดยกรมการขนส่งทางบก เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก (ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป) ถ้าเห็นตรา Qmark ติดตามรถกระบะ หรือ รถ 6 ล้อ เป็นการใช้ตราเครื่องหมาย Qmark ที่ผิดเงื่อนไขครับ ทางกรมฯ เขารับรองเฉพาะ รถตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป ต่ำสิบใช้ติดตราไม่ได้ครับ โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆเมื่อเวลาผ่านไปก็จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานให้เข้ากับยุคสมัยมาตรฐาน Qmark ก็เช่นเดียวกันมีการปรับแบบที่เรียกว่า Big minor change โดยจะมีการเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2562 ทางกรมการขนส่งทางบกจะประกาศ ได้มีการตัดทอนในส่วนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มเติมข้อกำหนดให้ทันสมัย มีหลายข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้น โดยข้อกำหนดที่ปรับปรุงสามารถ Download ได้ที่ https://www.thaitruckcenter.com/qmarkV2/DocViewรายการ The Factors Affecting Learning Outcome Intention of MOOCs for an Online Learning Platform(Information Technology Department, Faculty of Science & Technology, 2564-08) Pannee Suanpang; Titiya Netwong; Tharinee Manisri; Wanwisa DuantrakoonsilThe purpose of this paper was to investigate the factors affecting the learning outcome intention of MOOCs for an online learning platform. The Confirmatory Factor Analysis (CFA) was adopted as the theoretical foundation. A total of 400 valid samples were collected in Thailand and a Structural Equation Model (SEM) was adopted. The results of the four CFA factors (Learning Expectation, (LE), Learning Satisfaction (LS), Learning Attitude (LA), and Learning Behavior (LB)) are significant. The Chi Square (χ2) statistic is 220.74 at an independent degree (df) of 168 with a Relative Chi-square (χ2 / df) of 1.314 indicates that the model is suitable. The Comparative Fit Index (CFI) is 0.994, the Goodness Fit Index (GFI) is 0.971 and the model based on the research hypothesis is consistent with the empirical data. The Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) is 0.025.รายการ กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) สมพล ทุ่งหว้าการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจการใช้กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ของซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ตามการรับรู้ของลูกค้า (2) สำรวจความพึงพอใจ และความจงรักภักดี ของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย (3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า และความจงรักภักดีของลูกค้า ของซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย (4) วิเคราะห์อิทธิพลของ กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้า (5) พัฒนาโมเดลกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ที่สร้างความความจงรักภักดี ของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 526 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุเส้นทางความสัมพันธ์ การวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีการใช้กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าอยู่ในระดับสูง (2) ลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีความจงรักภักดีอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน (3) ตัวแปรสังเกตุของกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าของซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความใกล้ชิดลูกค้า สำหรับตัวแปรสังเกตุของความพึงพอใจของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจด้านมาตรฐานของสินค้าและบริการ และตัวแปรสังเกตุของความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความจงรักภักดีด้านทัศนคติ (4) นอกจากนั้น พบว่า กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า และกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้า และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้าผ่านทางความพึงพอใจของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้า โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่า χ2 = 20.87 df = 22 P-value=0.5285 χ2/df=0.948 RMSEA=0.021 ซึ่งเป็นค่าตามเกณฑ์ของความกลมกลืน ผลการวิจัยเชิงปริมาณดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ (5) โมเดลกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 526 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุเส้นทางความสัมพันธ์ การวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหารายการ กลยุทธ์การจัดการโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศ : กรณีขนส่งทางทะเล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุณัฐวีย์ น้อยโสภางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางเรือ 2) เพื่อสำรวจแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวของผู้ประกอบการรายใหญ่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางทะเลและเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อภาธุรกิจและภาครัฐในการกำหนดนโยบายระดับประเทศและการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวทางเรือมีรูปแบบการขนส่ง 2 รูปแบบคือการส่ออกแบบรรทุกลงเรือใหญ่ และรูปแบบการส่งออกแบบบรรจุคอนเทนเนอร์ ทั้งสองรูปแบบจะมีกิจกรรมขั้นตอนการดำเนินงานและต้นทุนทีแตกต่างกัน ข้าวหอมมะลิจะมีต้นทุนค่าปรับปรุงข้าวให้ได้มาตรฐานและดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าข้าวขาวและข้าวนึ่ง ทำให้แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกมีความแตกต่างกัน แนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวในอนาคตคือการนำเข้าบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ และพัฒนารูปการขนส่งคอนเทนเนอร์จากการใช้รถหัวลากเป็นการขนส่งทางน้ำโดยใช้เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันรายการ กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชิตพงษ์ อัยสานนท์การขนส่งทางอากาศนับเป็นอุตสาหกรรมการบริการสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นการบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคบริการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วย บริการขนส่งผู้โดยสาร บริการขนส่งสินค้า ส่วนหน่วยธุรกิจเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการคลังสินค้า การบริการลูกค้าภาคพื้น การบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และครัวการบิน ในสภาวะการแข่งขันของธุรกิจขนส่งทางอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเสรีทางอุตสาหกรรมการบิน ทำให้บริษัทฯต้องปรับตัวและสร้างคุณภาพการบริการ การดำเนินงานการขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของโซ่อุปทานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก, สมรรถนะของโซ่อุปทานระดับโลกมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก และดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของ โซ่อุปทาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยนี้ได้กำหนดชื่อตัวแบบจำลองให้มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ ทั้งนี้ แบบจำลองสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิภาพและการดำเนินงานของผู้ประกอบการต่อไปรายการ การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า เพื่อลดความสูญเสียของอาหาร กรณีศึกษา: โซ่อุปทานไข่ผำ(วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 2567-04) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต มณีศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานไข่ผำ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ จำนวน 3 ราย ผู้ผลิต 1 ราย และลูกค้าจำนวน 28 ราย เกี่ยวกับกระบวนการเพาะเลี้ยง การ จัดเก็บ การบรรจุ และการจัดส่ง รวมถึงกระบวนการแปรรูปเพื่อการวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการขนส่งและการกระจายสินค้าทำให้เกิดการสูญเสียของไข่ผำสูงสุดถึง ร้อยละ 20 สาเหตุมาจากการส่งไข่ผำจากต่างจังหวัดเข้าสู่ลูกค้าในเมืองใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง บ่อยครั้งที่ ผลิตภัณฑ์เสียหาย เนื่องจากปัญหาความล่าช้า และการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ในงานวิจัยนี้ได้เสนอ แนวทางการจัดการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อลดเวลาจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยเร็วที่สุด โดยการ เลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีหาจุดศูนย์กลางในการหาทำเลที่ตั้ง และเปรียบเทียบกับ ทำเลที่ตั้งทางเลือกอื่นด้วยเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ทำเลที่ตั้ง 2 พื้นที่คือ ฝั่ง พระนคร ( 13.759923689101600, 100.564717795655000) และฝั่งธนบุรี(13.691066931265300, 100.472623747179000) ใช้เวลาส่งถึงลูกค้าภายใน 60 นาที สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียไข่ผำในขั้นตอนนี้ ลงได้รายการ การจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วริศา ขาวสอาดการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเขาค้อและเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกทั้งการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักท่องเที่ยวมีปัญหาอุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยที่นักท่องเที่ยวไม่ทราบข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์โดยขนส่งสาธารณะ ได้แก่ การเดินทางโดยรถทัวร์โดยสาร และเครื่องบิน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาเดินทาง ค่าใช้จ่าย และวิธีการเดินทาง เป็นต้น 2. การจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์นักท่องเที่ยวสามารถมีทางเลือกในการเดินทางไปยังเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยขนส่งสาธารณะ ทั้งรถทัวร์โดยสาร และเครื่องบิน ซึ่งการเดินทางโดยรถทัวร์ขนส่งสาธารณะที่ใช้เวลาเดินทางถึง 8.48 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายเพียง 482 บาท และการเดินทางโดยเครื่องบินที่ใช้เวลาเดินทางเพียง 2.78 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายถึง 1,039 บาท ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำข้อมูลไปพิจารณาทางเลือกเพื่อใช้ในการวางแผนในการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรายการ การจัดการโซ่คุณค่าของสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเอกชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) บดินทร์ อาสนะงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้เรียนกับสภาพความเป็นจริง เพื่อนำไปออกแบบการจัดการโซ่อุปทาน และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการโซ่อุปทานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรณีศึกษา มหาวิยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษา ในมหาวิทยาลัยกรณีศึกษา จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 1 คน และหัวหน้าสาขาวิชา 5 สาขาวิชา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวรายการ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุรเดช แก้วมรกตการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบของการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการโซ่อุปทาน เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยวิธีการสำรวจ (Survey Research) แบบเก็บข้อมูลช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross - Sectional Study) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง (Self - Administered Questionnaire) จำนวน 400 ตัวอย่างรายการ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิชา ตันสูติชลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เสนอแนวทางการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เพศชาย เป็นวัยกลางคน รายได้ปานกลาง มีวัตถุประสงค์ท่องเที่ยว เพื่อความเพลิดเพลิน / พักผ่อนหย่อนใจ ชอบการเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน / หมู่คณะ มีค่าใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยต่ำกว่า 500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ผลการทดสอบสมมติฐาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยกเว้นด้านเพศ รายได้ ภูมิลำเนา ที่ไม่แตกต่างกัน และองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และหลังการเดินทางมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วยค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ในส่วนของแนวทางการจัดการโซ่อุทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดการการไหลเวียนทางกายภาพ (Physical flows) เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ท่าเรือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ) ขยะ เป็นต้น การจัดการการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร (Information flows) เช่น การประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเกาะเต่า และการจัดการการไหลเวียนทางการเงิน (Financial flows)รายการ การจัดการโลจิสติกส์ของผูประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วุฒิชัย คงยังงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมโลจิสติกส์และนำเสนอแนวทางการจัดการ โลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถลดรายจ่าย ลดระยะเวลา และลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกิจกรรมเหล่านั้น โดยเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบการ เจ้าของกิจการ พนักงาน ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 ตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการกระจายสินค้า ปัจจัยด้านการจัดการสินค้าคงคลัง และปัจจัยด้านการจัดการการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทและความสำคัญที่มีต่อการจัดการ โลจิสติกส์ คือ ผู้ประกอบมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อใช้ในการลดต้นทุน ใช้ในการยกระดับคุณภาพของสินค้าและการให้บริการแก่ลูกค้า และที่สำคัญมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน เพื่อลดต้นทุนรวมและสามารถตอบสนองความต้องการที่ไม่คงที่ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา พบว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากการจัดการคำสั่งซื้อไม่สามารถคาดการณ์ความต้องการของสินค้าได้ ทำให้ไม่สามารถดูแลสินค้าได้อย่างทั่วถึงและส่งผลต่อการวางแผนเพื่อจัดเก็บรายการ การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วัชราพร ดงน้อยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการโลจิสติกส์ของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนที่มีลักษณะของธุรกิจ ขนาดโรงเรือน จำนวนสุกรที่เลี้ยงทั้งหมด ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน 4) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน จำนวน 260 ฟาร์ม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณรายการ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีศึกษา: ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง(วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2566-08) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; นางสาววิมลภา ชุ่มดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว และ 3) เพื่อเสนอ แนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้ หลักการประเมินตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และประเมินศักยภาพเบื้องต้นด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวของกองโลจิสติกส์ กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษา ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 394 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า แบ่งเป็นขั้นตอนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 80.97 และขั้นตอนการผลิตคิดเป็น ร้อยละ 19.03 ผลการประเมินศักยภาพได้คะแนนรวม 69 คะแนน จากคะแนน เต็ม 85 คะแนน โดยคะแนนน้อยสุด ได้แก่ การจัดการบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ คะแนนมากที่สุด ได้แก่ การ วางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนย้ายในกระบวนการผลิต และกระบวนการแปรรูป ดังนั้นข้อเสนอแนวทาง การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการใช้ พลังงานทดแทน การสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนรายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนัก ความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการรายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจการคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการ