ARC-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-08. ผลงานนักศึกษา โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 226
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ CUBE 2005(2555-03-02T06:17:15Z) Chanya Phonprasertการศึกษาและการทำงานชิ้นนี้ จะนำนักศึกษาไปสู่ความเข้าใจในการสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ดี ความสวยงาม และความลงตัวของที่ว่าง การตอบสนองต่อการใช้สอยที่เกิดจากที่ว่าง (space) และ ผู้ใช้สอย (user) : การตอบสนองต่อทิศทางของแสงแดด และ สภาพลมฟ้าอากาศ : รวมไปถึงความหมายเบื้องหลังในการสร้างสรรค์ให้เกิดงานสถาปัตยกรรมที่ดี ในการทำงานชิ้นนี้ข้อมูล (data) เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างโปรแกรมในการทำงานโดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะมาจากการศึกษาและค้นคว้า (research) ของนักศึกษา + ผู้ใช้สอย (user) และพื้นที่ประโยชน์ใช้สอย (functions) ที่ถูกกำหนดมาในที่นี้ ส่วนกระบวนการคิดสร้างงานยังคงขึ้นอยู่กับวิธีการที่นักศึกษาสนใจและเห็นควรหยิบมาใช้พัฒนาโปรแกรมให้เป็นตัวชิ้นงานรายการ My First Project at Sripatum University 2005(2555-03-02T06:26:48Z) Chanya Phonprasertความเข้าใจความสัมพันธ์ของงานศิลปะในแขนงต่างๆที่มักมีช่วงเวลาของการพัฒนาแห่งยุคสมันร่วมกันและมีอิทธิพลต่อกันมาแต่อดีตกาลนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาสถาปัตยกรรม เพราะความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การขยายกรอบทางความคิดและความอิสระในการเลือกหยิบใช้ข้อมูล (Sources) จากศิลปะแขนงอื่น รวมทั้งศาสตร์อื่นๆที่ไม่ใช่ศิลปะ มาพัฒนาแนวคิดในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมในทิศทางที่แตกต่างออกไปจากเดิม การเรียนในstudioนี้เป็นการฝึกนักศึกษาในการค้นหาปัญหาหรือประเด็น (problem seeking) ที่นักศึกษาสนใจจกภาพถ่ายที่อาจารย์กำหนดขึ้นมาให้ และแก้ไขปัญหา หรือ การแปลง/แปลประเด็น (problem solving) เพื่อพัฒนาให้เกิดงาน ในลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ คือ จุด เส้น และระนาบ (2 dimension) จากข้อมูล 2 มิติ ให้นำมาฝึกฝนในการคิด และวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางในการแปล/แปลง (interpret) ข้อมูลจากงาน 2 มิติ (2 dimension) สู่งาน 3 มิติ (3 dimension)รายการ พิพิธภัณฑ์และศูนย์จัดแสดงรถยนต์ Mercedes-Benz แห่งประเทศไทย(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) วรรษธร หยวกแฟงเนื่องจากพิพิธภัณฑ์และศูนย์จัดแสดงรถยนต์ Mercedes-Benz แห่งประเทศไทย จัดทา โครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านยนตกรรมที่พร้อมจะให้ความรู้และเป็นศูนย์บริการรถยนต์ที่ ครบวงจร ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาตอบสนองความต้องการในปัจจุบันที่ยังขาด แคลนและมีน้อยอยู่ ยังรวมถึงเป็นสถานที่รวบรวมรถยนต์ เครื่องยนต์ เทคโนโลยียานยนต์ใน อดีต ปัจจุบันและอนาคต ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวและบุคคลที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ รถยนต์ที่มีการวิวัฒนาการในอดีตกระทั่งถึงปัจจุบันรายการ สถาปัตยกรรมลดความขัดแย้งในชุมชนเหมืองแร่โพแทช(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ปิยะนัดด์ มุงคำภาความขัดแย้งอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม สังคมที่เคยเป็นสังคมเกษตรกรรมเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้น แนวทางที่หวังจะพัฒนาชนบทกลับสวนทางกับความต้องการของคนในพื้นที่ ที่จะไม่ยอมให้อุสาหกรรมขนาดใหญ่เขามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของตน จากเสียงที่ไม่เห็นด้วยกลับกลายเป็น เสียงต่อต่านและคัดค้าน ความแตกแยกจึงเกิดขึ้นระหว่างชุมชนที่อดีตเคยไปมาหาสู่กันอย่างเป็นนิช กลับจะต้องมาต่อว่าด่าทอกันด้วยยึดเอาความพอใจของตนเป็นที่ตั้งด้วยปัญหาการเข้ามาของอุสาหกรรมเหมืองแร่โพแทช “จะดีแค่ไหนหากเราสามารถลดปัญหาความขัดแย้งด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมได้”รายการ สถาปัตยกรรมสื่อการรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์สึนามิ(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ไพสิน รักรังสิมันต์สุขวิทยานิพนธ์เรื่องสถาปัตยกรรมสื่อการรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์สึนามิ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้คนได้รับรู้ถึงความสำคัญความตระหนัก ของเหตุการณ์สึนามิ และภูมิทัศน์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่หลากหลาย ของป่าตองยิ่งขึ้น ป่าตองซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีคุณค่าอีกที่หนึ่งของจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีความหลากหลายของพื้นที่นี้และรวมไปถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย จึงอยากนำเหตุการณ์ครั้งนี้ที่มีความสำคัญต่อสิ่งต่างๆที่ส่งผลกระทบที่ป่าตอง ได้กลับมามีความสำคัญกับชีวิตมากขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นคำถามแรกของวิทยานิพนธ์นี้คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ของคนกับสถานที่เหตุการณ์และการรับรู้ ที่ถูกถ่ายทอดจากประสบการณ์ พื้นที่ที่ให้ความรู้สึกต่างๆรายการ พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ ลพบุรี(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) อธิป มุนินทร์นิมิตต์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี เป็นสถานที่ซึ่ง ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ของจังหวัดลพบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้สาระสำคัญแก่ เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นคุญค่าของวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันแทบไม่มีใครรู้ความเป็นมาของเมือง ลพบุรี และเรื่องราวในอดีต พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี เป็นเหมือนสถานที่ให้บริการแก่สังคมและมีส่วนในการพัฒนาสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้ และความเข้าใจของวัฒนธรรมเก่าแก่ยันปัจจุบันและสถานที่แต่ละสถานที่สำคัญ ทั้งนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่มีอัตราการเติบโตที่มากขึ้น การออกแบบได้รูปแบบการจัดแสดงที่สอดคล้องกับการเล่าเรื่องและการจัดแสดงภายใน จนถึงภายนอกให้สอดคล้องต่อเนื่องกันโดยมีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นส่วนเริ่มต้น(ยุคเริ่มต้น) ประวัติศาสตร์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของผู้คนที่มาสร้างเมือง และเกิดการรวบรวมผู้คนที่แตกต่างกันได้ (ยุคเสื่อมโทรม) การทำมีอานาจมากมายแต่ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงทำให้เหล่าบรรดาเมืองขึ้นต่างแข็งข้อทั้ง ยังการหักหลังของญาติพี่น้องกันเอง จึงทำให้ตกต่ำ มีผู่อื่นมารุกราน(การบูรณะเมือง ) เป็นเรื่องราวของการกลับมาบูรณะเมืองใหม่ซึ่งเป็นยุคของพระนารายณ์ที่ทรงเห็นว่า ชาวฮอลันดานั้นคิดจะนำเรือเข้าเทียบกรุงศรี จึงได้บูรณะเมืองละโว้ขึ้นมาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านไว้ติดต่อกับชาวต่างชาติทา ให้ตั้งแต่นั้นก็มีความสำคัญเรื่อยมา (ยุคปัจจุบัน)เป็นการรบอกเรื่องราวและจุดโบราณสถานต่างๆทั้ง ชี้แจงที่มาที่ไปอย่างละเอียดให้แก่นักท่อเที่ยวได้รู้และเข้าใจรายการ ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรม 9 ชาติพันธุ์และข้อมูลการท่องเที่ยว อำเภอเชียงของ(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) หทัยภัทร ศิริวงค์โครงการศูนย์ศึกษาวัฒนธรรม 9 ชาติพันธ์ุและข้อมูลการท่องเที่ยว อำเภอเชียงของ เป็นการ โครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และเครือข่ายการท่องเที่ยวของคนพื้นเมืองในเวียงเชียงของ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง ชนเผ่าไทลื้อ ม้ง จีนฮ่อ เย้า ขมุ มูเซอ และคนลาวห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยงในเชียงของปัจจุบันได้รับผลกระทบกลายเป็นแค่เมืองผ่านทางของนักท่องเที่ยวไปยังประเทศลาว หรือประเทศจีนเท่านั้น ประกอบกับมีนโยบายการแก้ไขปรับปรุงเมืองเชียงของให้เป็นระบบ 1 เมือง 2 แบบ จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองในอนาคตที่จะเกิดขึ้นรายการ โครงการศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) มัสนา โก๊ะแอการศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด จุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบท พื้นที่ในชุมชนมุสลิม-มลายูบ้านปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม-มลายูที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ มีอายุกว่า 200 ปี และมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมลายู เช่น อาหาร การแต่งกาย วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ทางด้านศาสนาอิสลาม เพื่อ ออกแบบศูนย์วัฒนธรรมแก่ชุมชนให้คงวัฒนธรรมเอาไว้ให้ลูกหลาน และคนภายนอกได้รู้จักและเข้าใจถึงชาติพันธุ์มลายูที่มีอยู่ในประเทศไทยได้รู้จักและเข้าใจมากขึ้นรายการ รีสอร์ทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ภาณุกา สุดใจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีลักษณะที่สาคัญคือ เป็นการท่องเที่ยวที่ดำเนินการภายใต้ขีดจากัด ความสามารถของธรรมชาติ และต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ประเพณี ที่มีต่อการท่องเที่ยว อีกทั้งต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องเป็นความปรารถนาของประชาชนท้องถนิ่ และชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ซึ่งควรจะเน้นการพัฒนาและการจัดการ เฉพาะในแหล่งธรรมชาติซึ่งถือกันว่าเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสนองตลาดการท่องเที่ยวเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความรู้และอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินและความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น รวมทั้งให้ประโยชน์กลับคืนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่นรายการ ศูนย์การเรียนรู้เด็กประถมวัย(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ดนูนาถ ธิราขันธิ์การศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กประถมวัย เพื่อช่วยยกระดับประสบการณ์,ฝึกทักษะการใช้ชีวิต และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าพร้อมทั้งช่วยให้เด็กได้ค้นพบความถนัดของตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยอีกด้วยจากการลงมือเล่นสนุกและปฏิบัติแบบ “ผจญภัย” ซึ่งนับเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เด็กๆจะได้เล่นอย่างเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปพร้อมกัน อีกทั้งทำให้ครูและผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติกรรมของเด็กประถมวัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวเด็กและสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ อีกทั้งศูนย์การเรียนรู้ประถมวัยแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านให้กับเด็กประถมวัยในการเปิดประชาคมอาเซียนรายการ ศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเกษตรผสมผสาน(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) อรรถกร ม่วงมิตรการศึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อการพัฒนาระบบคุณภาพชีวิต ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ ดีขึ้น เพื่อที่จะสร้างความยั่งยืนในด้านของสภาพแวดล้อมพลังงาน และวิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิม รวมไปถึงความมั่นคงทางอาหาร โดยกลับไปแก้ปัญหาจากการให้ความสำคัญกับต้นทุนทางด้าน ธรรมชาติของประเทศไทย และจากการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ สังคมประเพณี วัฒนธรรม เพื่อที่จะนำไปสู่ความยัง่ ยืนในอนาคต ซึ่งได้มีแนวทางและความคิดในด้านของการพึ่งพาตนเอง ผสมผสานกับการแก้ปัญหาคุณภาพของผลผลิตที่ตกต่ำ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้ใช้ศาสตร์สถาปัตยกรรมเป็นส่วนการแก้ปัญหา ศึกษาโดยการลง พื้นที่จริงและหาข้อมูลแนวทางต่างๆ เพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับการสร้างแนวทางให้กับ โครงการรายการ สนามฟุตบอล สโมสรเมืองทองยูไนเต็ด(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ประกฤษฎิ์ ประภัยวงษ์การศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการ สนามกีฬา เอสซีจี เมืองทองยูไนเต็ด โครงการสนามฟุตบอลสโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด จำนวนที่นั่งผู้ชม 35,000 ที่นั่งซึ่งจะเป็นโครงการที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต ภายใต้การดำเนินการของกลุ่มบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของ และสปอนเซอร์ โดยการยกระดับมาตรฐานสนามฟุตบอลให้มีมาตรฐานตามหลักสากล และให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนดของ AFC โดยมีลักษณะ เด่นของสนามที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็น Sport complex และสวนสาธารณะ ให้กับชุมชนโดยรอบ และปรับเปลี่ยนการใช้งานของสนามให้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการผ่อนคลายของชุมชนประกอบด้วย ร้านอาหาร Retail shop เป็นต้นในเวลาที่สนามไม่มีการแข่งขันหรือปิดฤดูกาลรายการ โครงการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนตลาดใหญ่ (ตลาดเก่า) เมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นริศรา พงษ์จันทร์การศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชิวิตและวัฒนธรรม ชุมชนตลาดใหญ่ (ตลาดเก่า) เมืองตะกั่วป่า โดยเริ่มจากการสนใจเรื่องประเด็นทางวิถีชีวิต วัฒนธรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมของชุมชนตลาดใหญ่ ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องราวและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ วิถีชีวิตของผู้คน เชื้อชาติ ที่ผสมกลมกลืน วัฒนธรรมแบบผสมผสานมีความเฉพาะตัว รวมถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ปัจจุบันวัฒนธรรมยังคงสืบสานโดยกลุ่มคนรุ่นเก่า (ผู้สูงอายุ) และกลุ่มคนรุ่นใหม่เพียงเล็กน้อย ชุมชนนี้จึงหลับใหล และมีสภาพทรุดโทรมลง จากที่เคยเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางการค้า การขนส่ง กลับกลายเป็นเพียงชุมชนอยู่อาศัยสภาพทรุดโทรม แต่ด้วยสภาพอาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ที่ยังคงความสมบูรณ์สวยงามแม้เวลาผ่านล่วงเลยมาหลายสิบปี ทำให้ชุมชนตลาดใหญ่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนอนุรักษ์ ประเภทชุมชนการค้า โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมรายการ ศูนย์รวมชุมชนคนทำงำนสร้างสรรค์(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ภานุพงศ์ มณีศรีวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เริ่มต้นจากการสนใจในปัจจุบันได้มีแนวทางการทางานแบบ Co-working Space ถ้าแปลตรงตัวคือพื้นที่ที่ใช้ทางานร่วมกันและใช้ทรัพยากรต่างๆใน การทางานร่วมกันเช่น โต๊ะ เก้าอี้ Internet ห้องครัว ห้องประชุม ฯลฯ บรรยากาศจะ แตกต่างจากออฟฟิตทั่ว ไปตรงที่มีการตกแต่งที่หลากหลายและยืดหยุ่นได้ตามแต่ Concept ของแต่ละ Co-working Space บาง Co-working Space มีบริเวณให้ผ่อน คลาย เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องสมุด ห้องเล่นเกม ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศให้ดูไม่ น่าเบื่อ ทั้งยังเป็นยังคม (Community) ของคนทางานประเภทเดียวกัน หรืออาจจะ ต่างกันในสายงาน อาจจะเป็นผู้เริ่มก่อตั้งธุรกิจ (Startup) หรือผู้ที่ประกอบการธุรกิจ กาลังเติบโต ซึ่งการที่มีผู้คนหลากหลายและมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันอยู่ในพื้นที่ เดียวกันก็จะเกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้และไอเดียซึ่งกันและกันสามารถ ทา ให้เกิดการร่วมมือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้รายการ สถาบันอาหารไทย(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ชุติมา แซ่เฮ้งปัจจุบันการทานอาหารของคนไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากเนื่องจากมีองค์ประกอบที่เร่งเล้าหลากหลายอย่างและต้องใช้ชีวิตที่แข่งขันกับเวลาจึงทำให้การใส่ใจในการทานอาหารน้อยลงและทำให้เกิดสภาวะของการขาดโภชนาการจึงให้เกิดเป็นโครงการสถาบันอาหารไทยขึ้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรมอาหารที่ได้เล็งเห็นการทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและถูกต้องตามหลักโภชนาการเพื่อส่งเสริมให้คนไทยหันมารักสุขภาพและใส่ใจในเรื่องการทานอาหารมากขึ้นรายการ สถาบันการท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออก(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) พลภัทร์ จาดเจริญการศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการ สถาบันการท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออก เป็นโครงการที่ ดาเนินการตามนโยบายของ กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีจุดประสงค์ที่จะ สร้างสถานที่ๆเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรวบรวมความรู้ รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพ ของบุคคลากร เพื่อเป้าหมายในการสร้าง การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วิธีการศึกษาเพื่อการออกแบบโครงการ ศึกษาจากข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยว และ ข้อมูลของมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความสาคัญต่อ การท่องเที่ยวของประเทศไทย โดย ศึกษาจาก ประเภทของมัคคุเทศก์ โครงสร้างหลักสูตรในการฝึกอบรม เพื่อที่จะหาข้อบกพร่อง แล้วจึงนาไปใช้เป็นเนื้อหาในการออกแบบส่วนต่างๆของโครงการ ผลการศึกษาออกแบบ โดยมีแนวความคิดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ โดยส่วนที่1เป็น แนวคิดในการออกแบบรูปทรงของอาคาร ส่วนที่2เป็นแนวคิดในการพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร และส่วนที่ 3 เป็นการออกแบบแนวความคิดในการวางตัวอาคารที่ตอบสนองต่อสภาพบริบท ส่วนที่ 1 เป็นแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ องค์ประกอบของหมู่บ้านชาวประมง ในแง่ ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เพื่อนามาใช้ในการออกแบบตัวอาคาร ที่แสดงถึง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และสามารถย้าเตือนถึงรากเหง้าของชาวบางแสน ส่วนที่ 2 เป็นแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลหลักสูตรการฝึกอบรม ของมัคคุเทศก์ เพื่อสร้างพื้นที่ๆส่งเสริมหลักสูตรการฝึกอบรม โดยการนาเนื้อหาในวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ ไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และประเพณีและวัฒนธรรมไทย มาใช้ในการจัดแสดง นิทรรศการ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษา และประชาชนที่สนใจ เข้ามาใช้ในโครงการ เพื่อเพมิ่ โอกาสให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เข้าชม ส่วนที่ 3 จากวิเคราะห์บริบทโดยรอบ ทาให้ได้แนวความคิดในการวางตัวอาคาร ที่ ศูนย์กลางของเส้นทางสัญจรใหม่ในบริบทโดยรอบหาดบางแสน โดยเส้นทางดังกล่าวสามารถดึง ผู้คน และนักท่องเที่ยว ให้เดินทางผ่านตัวอาคารไปยังหาดบางแสน หรือ เดินทางเข้ามาใช้ อาคารได้สะดวกด้วยการเดินผ่านเส้นทางใหม่ที่เกิดขึ้นรายการ ศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สิทธิกันต์ ฤกษชาญชัยปัจจุบันความต้องการใช้พลังงาน มีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ รวมถึงทั้งในปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงซึ่งเป็นน้ามันมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันที่ผันผวน และมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้น ทางรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน ทดแทนขึ้นมาใช้ เพื่อลดอัตราการนาเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ จากข้อมูลสถิติความ ต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น และสูงมากขึ้นทุกปี ซึ่งจากแหล่งกำลังผลิต ภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด และแน่นอนว่าพลังงานเหล่านี้จะมีวันหมดลงในที่สุด เหตุผลที่ พลังงานทดแทนทดแทนกาลังเป็นที่สนใจ และเป็นพลังงานที่ถูกนามาพูดถึงกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทั่วถึงกันของคนทั่วทั้งประเทศทุกคนเริ่มมี การตื่นตัวและหันมาหาวิธีการเพื่อความอยู่รอดในเศรษฐกิจในปัจจุบัน พลังงานทดแทนจึงเป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ และมุ่งหวังให้เป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต ศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ จึงเป็นโครงการที่ตอบสนอง และเล็งเห็น ความสาคัญของการใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ รวมถึงแนวทางในการประชาสัมพันธ์ ความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการแก้ไขปัญหาพลังงานในปัจจุบัน โดยจะเน้นการเผยแพร่ การให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพลังงาน แก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อมุ่งประเด็นไปที่อนาคตของ ชาติให้มีความเข้าใจด้านพลังงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้สามารถใช้ พลังงานที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนาพลังงานทดแทนที่ผลิตได้จริงใช้ในโครงการ พึ่งพาตนเองด้านพลังงาน และเป็นแนวทางในการศึกษาปฏิบัติแก่มวลมนุษยชนสืบไป โครงการได้เก็บรวมรวมข้อมูลการใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติทางด้านข้อมูลและ นวัตกรรม เพื่อจัดแสดงพื้นที่ตัวอย่างการใช้งานจริงให้สามารถเห็นและเข้าใจได้ง่ายต่อการ นาไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ โครงการจึงมี แนวความคิดในการออกแบบที่สอดคล้องกันระหว่าง ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ โดยใช้ หลักการระบายอากาศทางวิทยาศาสตร์ผสานกับประโยชน์ทางธรรมชาติที่ถูกนามาใช้ในการ ออกแบบ ที่ตอบสนองต่ออาคารเพื่อกระตุ้นบรรยายกาศการเรียนรู้ของอาคารประหยัดพลังงานรายการ โครงการต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) วรรณิศา นาวาล่องโครงการต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตมีความมุ่งหมายที่จะเป็นตัวกลางในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยในชุมชนริมคลองให้ดีขึ้นและจัดระเบียบชุมชนริมคลองที่รุกลํ้าเข้าไปในเส้นทางระบายนํ้า แก้ปัญหาชุมชนแออัดที่เกิดมาจากการเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวของเมืองในอนาคตรายการ สถาบันส่งเสริมอาชีพช่างไม้(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ปาณิสรา ป้องสุพรรณการศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการสถาบันส่งเสริมอาชีพช่างไม้ มีความมุ่งหมายที่จะ ศึกษาถึงการออกแบบอาคารประเภทสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับงานไม้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหา การขาดแคลนงานช่างฝีมือด้านงานไม้และเพื่อเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมด้านงานไม้ใน รูปแบบแขนงต่างๆ ให้คงอยู่สืบทอดต่อไปยังสู่รุ่นรุ่น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าจำนวนช่างฝีมือ ด้านงานไม้มีจำนวนลดน้อยลงเนื่องจากขาดการสานต่อจากคนรุ่นหลัง เพราะในปัจจุบันเมืองมี การพัฒนากว่าขึ้นเศรษฐกิจก็เจริญ และเกิดอาชีพใหม่ๆมากมายจึงทำให้คนหันไปสนใจการ ทำงานในรูปแบบใหม่มากขึ้นจึงทำให้คนมีสนใจในงานด้านฝีมือลดน้อยลง แต่ในทางกลับกันกับมีความนิยมด้านงานไม้ในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนภายในประเทศเองหรือไม่ว่าจะ เป็นการท่องเที่ยวที่มีความชื่นชอบด้านงานศิลปวัฒนธรรมงานไม้ ดังนั้นจึงจำต้องมีการส่งเสริม เพื่อให้เกิดความสนใจและมีทักษะความรู้ความเข้าใจเกิดการพัฒนาต่อยอดด้านความคิดจน นำไปสู่การพัฒนาด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงาน อีกทั้งยังเป็นการรองรับ ด้านความต้องการด้านงานไม้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วยและยังเป็นการยกระดับในเรื่องานไม้ ให้แก่ช่างฝีมือไทยอีกด้วยรายการ โครงการเสนอแนะออกแบบภายใน ไข่มุก อันดามัน รีสอร์ท แอนด์ สปา(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) วุฒิชัย ศรีศิลปอุดมการศึกษาศิลปนิพนธ์ โครงการเสนอแนะออกแบบภายใน ไข่มุก อันดามัน รีสอร์ท แอนด์ สปา (ANDAMAN PEARL RESORT & SPA) ได้มีแนวคิดในการนำเสนอขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของโครงการ ที่เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ช่วยให้ เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตดีขึ้นและส่งเสริมอาชีพเชิงใหม่เชิงพานิชและ มีประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ๆ วิธีการศึกษาออกแบบ ศึกษารายละเอียดต่างๆของตัวโครงการ เพื่อทราบถึงความจำเป็นของการใช้พื้นที่ในการ ออกแบบในแต่ละส่วนผลการศึกษาออกแบบและ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการออกแบบ รวมถึงศึกษา ค้นคว้าหาแนวความคิดที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ การออกแบบพื้นที่ภายในโครงการ ได้มีแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการเกิดประสบการณ์ใหม่และ ความประทับใจ และรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้เข้ามาพักผ่อน อีกทั้งยังได้จัดมุมมองพื้นที่ภายในอาคาร ให้สามารถสัมผัสฟาร์มหอยมุกและรับความเป็นธรรมชาติและวิวมากที่สุด โดยใช้แนวความคิดในการออกแบบมาออกแบบพื้นที่ให้ เกิดความน่าสนใจ ผลการศึกษาและออกแบบ กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยววัฒนธรรมจะช่วยเสริมสร้างตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการประมงรัฐให้การ สนับสนุน กระแสโลกในเรื่องสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน และให้เป็นชื่อเสียงระดับโลกด้านการท่องเที่ยว เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้อนุรักษ์ จัดแสดง วัตถุและจำลองสิ่งมีชีวิตระบบนิเวศ (หอยมุก อันดามัน) อีกทั้งยังสามารถสื่อออกมาให้ผู้ที่ชมสามารถเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ