ARC-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-08. ผลงานนักศึกษา โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 226
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ CUBE 2005(2555-03-02T06:17:15Z) Chanya Phonprasertการศึกษาและการทำงานชิ้นนี้ จะนำนักศึกษาไปสู่ความเข้าใจในการสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ดี ความสวยงาม และความลงตัวของที่ว่าง การตอบสนองต่อการใช้สอยที่เกิดจากที่ว่าง (space) และ ผู้ใช้สอย (user) : การตอบสนองต่อทิศทางของแสงแดด และ สภาพลมฟ้าอากาศ : รวมไปถึงความหมายเบื้องหลังในการสร้างสรรค์ให้เกิดงานสถาปัตยกรรมที่ดี ในการทำงานชิ้นนี้ข้อมูล (data) เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างโปรแกรมในการทำงานโดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะมาจากการศึกษาและค้นคว้า (research) ของนักศึกษา + ผู้ใช้สอย (user) และพื้นที่ประโยชน์ใช้สอย (functions) ที่ถูกกำหนดมาในที่นี้ ส่วนกระบวนการคิดสร้างงานยังคงขึ้นอยู่กับวิธีการที่นักศึกษาสนใจและเห็นควรหยิบมาใช้พัฒนาโปรแกรมให้เป็นตัวชิ้นงานรายการ My First Project at Sripatum University 2005(2555-03-02T06:26:48Z) Chanya Phonprasertความเข้าใจความสัมพันธ์ของงานศิลปะในแขนงต่างๆที่มักมีช่วงเวลาของการพัฒนาแห่งยุคสมันร่วมกันและมีอิทธิพลต่อกันมาแต่อดีตกาลนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาสถาปัตยกรรม เพราะความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การขยายกรอบทางความคิดและความอิสระในการเลือกหยิบใช้ข้อมูล (Sources) จากศิลปะแขนงอื่น รวมทั้งศาสตร์อื่นๆที่ไม่ใช่ศิลปะ มาพัฒนาแนวคิดในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมในทิศทางที่แตกต่างออกไปจากเดิม การเรียนในstudioนี้เป็นการฝึกนักศึกษาในการค้นหาปัญหาหรือประเด็น (problem seeking) ที่นักศึกษาสนใจจกภาพถ่ายที่อาจารย์กำหนดขึ้นมาให้ และแก้ไขปัญหา หรือ การแปลง/แปลประเด็น (problem solving) เพื่อพัฒนาให้เกิดงาน ในลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ คือ จุด เส้น และระนาบ (2 dimension) จากข้อมูล 2 มิติ ให้นำมาฝึกฝนในการคิด และวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางในการแปล/แปลง (interpret) ข้อมูลจากงาน 2 มิติ (2 dimension) สู่งาน 3 มิติ (3 dimension)รายการ การจารึกร่องรอยกับงานสถาปัตยกรรม: การซ้อนทับชุมชนโบราณกับงานศิลปะและวัฒนธรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทิวากร แก้วสมพื้นที่ทับซ้อน เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก จนหลายคนมองข้ามไป บางทีอาจเป็นพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ หรือ พื้นที่ที่เราครอบครองอยู่ ภายใต้ผืนแผ่นดินที่เราเหยียบย้ำล้วนมีประวัติความเป็นมา บางพื้นที่อาจมีความสำคัญมากจนได้ขึ้นเป็นมรดกแห่งชาติ บางพื้นที่ก็มีความเป็นมาที่ยาวนาน จนมาตกอยู่ในรุ่นของเราเองแต่เรากลับไม่รู้เลยว่าที่ตรงนั้นมีความเป็นมาอย่างไร เราควรศึกษาและลองมองย้อนกลับไปในพื้นที่ใกล้ตัว อาจทำให้เห็นความสำคัญของพื้นที่นั้นและได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวบางอย่างมากขึ้น การศึกษาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน จะมุ่งเน้นไปในทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญเคยเป็นสิ่งที่ปกป้องเราจากการรุกรานของชนชาติอื่น ๆ จะศึกษาลึกลงไปถึงรายละเอียดแต่ละยุคสมัย และ ศึกษาเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละยุคว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร บ้านเรือนมีความเป็นมาอย่างไร ได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติอื่นหรือไม่ การนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบจะเน้นไปในทางการอนุรักษ์ และ รักษาพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ ให้คงอยู่แม้ว่าจะมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาก็จริงแต่สิ่งที่เคยเกิดขึ้นก็สำคัญไม่แพ้กัน อดีตสามารถบอกอนาคตได้ งานสถาปัตยกรรมก็เช่นกันที่ เมื่อครั้งอดีตก็เป็นต้นแบบ ในการออกแบบ หรือ สรรค์สร้างผลงานใหม่ๆขึ้นมาแม้ว่าจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปมากก็ตามรายการ การถอดรหัสจากคัมภีร์อัลกุรอานสู่หลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุธาวี พิมพ์นนท์ได้สนใจในการนำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรม โดยสนใจศึกษาจากคัมภีร์อัลกุรอาน ศึกษาความหมายของคัมภีร์ และสรุปเป็นหัวข้อที่จะนำมาแปลงเป็นหลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ในการแปลงหรือถอดรหัสจากคำสอนในคัมภีร์อัลกุอานเป็นหลักการออกแบบนั้นก็จะใช้วิธีการสัญศาสตร์ คือเป็นการศึกษาว่า สิ่งแทนความ (Representation) อาจก่อให้เกิดความหมายได้อย่างไร เป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้เราเข้าใจความหมายของสิ่งใดๆ สัญศาสตร์เป็นการศึกษาสัญญะ(Sign) และการอ้างอิงความหมาย โดยจะศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลามในแต่ละช่วงปีด้วย เพื่อใช้อ้างอิงและเป็นข้อมูลสนับสนุน ในการถอดรหัสจากหลักคำสอนในคัมภีร์อัลกุอานเป็นหลักการออกแบบสถาปัตยกรรม หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้ก็สามารถนำไปใช้ได้กับงานสถาปัตยกรรมทุกประเภท ในการออกแบบนั้นก็ได้นำหลักการออกแบบที่ได้ถอดรหัสหรือแปลงมาจากคัมภีร์อัลกุอานไปใช้ในงานออกแบบตั้งแต่การวางผัง อาคาร และSpace จึงเป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยสอดแทรกคำสอนของอิสลาม ตั้งแต่แนวความคิด การวางผัง ตัวอาคาร และSpaceรายการ การท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีตย่านบางลำพู(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สหรัฐ พหลยุทธ์วิทยานิพนธ์การท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีตย่าน (บางลำพู) มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ช่วยกระตุ้นความเป็นอดีตของพื้นที่ย่าน (บางลำพู) ที่กำลังจะหายไปทั้ง สถาปัตยกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม แม้ทั้งอดีตทางประวิติศาสตร์ของย่านบางลำพูที่กำลังจะหลงลืม ย่านบางลำพู เป็นพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอกซึ่งเป็นประตูด่านแรกที่จะล่องเรือเข้าเกาะรัตนโกสินทร์ และยังเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญ ชนชาติที่เขามาอาศัยอยู่ในย่านบางลำพูที่มีความหลากหลาย จึงอยากให้ผู้คนที่อยู่ภายนอกย่านบางลำพูได้รับรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของบางลำพูในสมัยอดีต ดังนั้น รูปแบบของสถาปัตยกรรมจะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สื่อถึงอารมณ์ที่ทำให้คนรู้สึกถึงอดีตของย่านบางลำพูได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงสมควรสร้างสถาปัตยกรรมที่ทำให้รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นอดีตของย่านบางลำพูและเส้นทางการเดินท่องเที่ยวย่านบางลำพูในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่สะท้อนความเป็นอดีตของประวัติศาสตร์ การใช้ชีวิตหรือแม้แต่รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อนำเสนอให้แก่ประชาชนที่ในย่านและประชาชนที่เข้ามาเที่ยวในย่านบางลำพู ได้รับรู้ถึงเรื่องราวความเป็นมาและการใช้ชีวิตที่จะทำให้คนนึกถึงอดีตของย่านบางลำพู ดังนั้นจำมีความจำเป็นที่ทำให้เกิดโครงการ สถาปัตยกรรมโหยหาอดีต (ย่านบางลำพู)ที่ให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนที่สนใจเข้ามาท่องเที่ยว เข้าใจถึงความเป็นอดีตของพื้นที่ และความเป็นอดีตที่เฟื่องฟูของย่านบางลำพูรายการ การประยุกต์ใช้การระบายอากาศเชิงกลแบบธรรมชาติในอาคารพักอาศัยรวม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ณัฐพงษ์ ตงคำการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีในการออกแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อบริบทโดยรอบของเมืองที่มี ความหนาแน่นของอาคารทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของอากาศ ทิศ ทางกระแสลม ถูกบดบังเสียดทาน และหักเหไปจากทิศทางโดยธรรมชาติ แนวความคิดในการออกแบบคือ การคำนึงถึง ลักษณะของรูปทรง รูปแบบการวางผังการกำหนดช่องเปิดช่องปิดของอาคาร อัตราส่วนของช่องเปิดช่องปิดของอาคาร ตำแหน่งของช่องเปิดช่องปิดของอาคาร การออกแบบที่ดักลมเพื่อ ควบคุมลมหรืออากาศให้ไหลผ่าน เพื่อที่จะตอบสนองต่อการไหลผ่านและไหลเวียนของอากาศที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในการใช้ที่ว่างนั้น ๆ และคำนึงถึงการนำเอาทฤษฎีที เกียวข้อง(Cross Ventilation& Stack Ventilation) มาใช้ให้เหมาะสม โดยใช้เงื่อนไขในเรื่องของความหนาแน่ของเมืองที่มีความหนาแน่นนั้นทำให้ขวางกั้น และหักเหทิศทางของกระแสลมหลักโดยธรรมชาติเปลี่ยนไป และองศาของลมที่กระทำ ต่อตัวอาคารสถาปัตยกรรม หรือ ในกรณีช่วงเวลาที่กระแสลมไม่ไหลผ่านตัวอาคาร และเลือกใช้ระบบของช่องเปิดช่องปิดของอาคารสถาปัตยกรรม ตามที่ศึกษาจากข้อมูล งานวิจัย และทฤษฎีที่มาใช่ในการออกแบบระบบอาคารให้สอดคล้องต่อบริบทในเงื่อนไขดังกล่าวที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้ที่ว่างนั้นๆรายการ การปรับปรุงอาคารเก่าตลาดนางเลิ้ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทิพย์วรรณ แขกสอาดสถาปัตยกรรมเก่าที่ทรงคุณค่า สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาและเป็นตัวที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต โดยแต่ละที่มีวิธีการในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักจะถูกกันไว้เป็นสถานที่หวงห้ามมาจากนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ที่กำหนดให้แยกพื้นที่ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ออกจากชุมชน แทนที่จะมุ่งเน้นรักษาให้คงสภาพไว้ให้ใกล้เคียงของเดิมอย่างเดียว ควรหันกลับมาอนุรักษ์และให้ค่าความสาคัญของสถาปัตยกรรมเก่า โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและมีความสำคัญ ให้กลับมีชีวิตโดยกำหนดให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมได้ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการปลูกฝังให้ชุมชนมีจิตสำนึกและภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่ ปัจจุบันชุมชนย่านตลาดเก่านางเลิ้ง มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพไปค่อนข้างมาก เนื่องมาจากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพของชุมชนย่านตลาดเก่านางเลิ้งเพิ่มมากขึ้นจนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม เพื่อที่จะอนุรักษ์ไว้จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการปรับปรุงอาคารเก่า โดยการนำกฎหมายข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่ย่านชุมชนเก่าของท้องถิ่น เช่น การกำหนดควบคุมความสูงของอาคาร การกำหนดขนาดพื้นที่พานิชยกรรมในเขตเมืองเก่า การกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมมาประกอบการพิจารณาร่วมกับทฤษฎีหลักการทางวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเข้ามาอ้างอิงควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลในท้องที่ เมื่อนำข้อมูลมาซ้อนทับกันแล้วทำให้เห็นถึงศักยภาพของที่ว่าง ที่สามารถทำการปรับปรุงพื้นที่ได้ โดยทำอย่างไรให้คงสภาพเดิมไว้มากที่สุด จากการศึกษาพบว่าย่านนางเลิ้งมีคุณค่าในเชิงอนุรักษ์ จากการเป็นพื้นที่ที่มีความทรงจำทางวัฒนธรรม ทั้งการเป็นแหล่งการค้าอาหารขนมหวานที่ขึ้นชื่อ เป็นชุมชนเก่าที่มีปฏิสัมพันธ์ในชุมชนสูงมีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเคยเป็นแหล่งบันเทิงที่สาคัญของกรุงเทพมหานครนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง แต่ในด้านความเข้มแข็งของชุมชนพบว่าการรวมกลุ่มกันแก้ปัญหาของชุมชนยังมีน้อยและยังขาดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ในการวางแผนการอนุรักษ์ย่านนางเลิ้งทางด้านลักษณะทางกายภาพใช้วิธีการฟื้นฟูเมือง ซึ่งแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระดับ คือ การอนุรักษ์ การปรับปรุงฟื้นฟู และการพัฒนาสร้างใหม่รายการ การศึกษาการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน(หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) จิรัชยา ลีการศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการการทดลองเครื่องมือทางสถาปัตยกรรมให้ความสบาย โครงการศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นโครงการทดลองที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตจาก นโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร2ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาศรีปทุม เพื่อเป็นสถานที่ใน การเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้จากการฝึกปฏิบัติด้วยประสบการณ์ของนักศึกษา โดยมีลักษณะ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจที่สามารถรองรับการให้งานของนักศึกษาได้ตลอด 24ชัว่ โมง ประกอบด้วยพื้นที่ทำงานนักศึกษา พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ พื้นที่ฝึกปฏิบัติการ เป็น ต้นรายการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเส้นทางและที่ว่าง : กรณีศึกษาอาคาร 5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) กฤติญา ลีเดร์จากการเรียนพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม CIRCULATION เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบแต่บางทีก็มีการละเลยหรือให้ความสำคัญกับทางสัญจรซึ่งส่วนใหญ่ทางสัญจรจะมาทีหลัง หลังจากที่มีการวางตัว FUNCTION ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นว่า หาก CIRCULATION สามารถเป็นแนวคิดหลักในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบความสัมพันธ์ของตัว FUNCTION และ SPACE จะสามารถทำให้พื้นที่ พื้นที่หนึ่ง เกิดการปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรมของผู้ใช้ได้อย่างไร จึงหาตัวอย่างของอาคารที่มีรูปแบบปกติ และนำมาวิเคราะห์ ความสัมพันธ์แฝงที่เกิดขึ้นกับ FUNCTION นั้น ศึกษารูปแบบการทำงาน ศึกษารูปแบบการเกิดการใช้งานในบางช่วงเวลาเฉพาะที่จะทำให้พื้นที่ นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในรูปแบบใหม่และทำหน้าที่กลายไปเป็นอีกหนึ่ง FUNCTION และผลจากการศึกษาอาคาร 5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม จากชั้นที่ 1-5 ทำให้รู้รูปแบบความสัมพันธ์แฝงที่เกิดขึ้นภายในตัวอาคาร และพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ตัวอาคารมาสามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์และตอบโจทย์ ต่อพฤติกรรมของผู้ใช้และสร้างทางเชื่อมต่อ โดยไม่ยึดติดกับข้อจำกัดในทางของVerticalลบภาพของการใช้งานในข้อจำกัดในรูปแบบห้อง หรือมีผนังมากั้นรายการ การศึกษาพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเมือง โครงการที่พักอาศัยใต้ทางด่วนเพื่อคนเร่ร่อน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ณิชาภัทร ชุมศิริวงษ์การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและออกแบบพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วน ให้มีประโยชน์ต่อคนไร้บ้าน และเพิ่มศักยภาพพื้นที่ใต้ทางด่วน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่นที่พักอาศัยและพื้นที่เกิดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเมือง การศึกษาออกแบบ รับรู้สภาพปัญหาของลักษณะพื้นที่ใต้ทางด่วน ศึกษาค้นคว้าด้านการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน การใช้พื้นที่รกร้างในเมือง ให้เกิดประโยชน์ มีการทำงานผ่านกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม เริ่มจากการศึกษาทฤษฎี การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ศึกษาโครงการกรณีศึกษาถึงวิธีการออกแบบ ศึกษาแนวความคิดด้านทฤษฎี และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การออกแบบ และกำหนดโปรแกรมของโครงการ เพื่อให้ตรงกับแนวความคิด ความเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนไร้บ้าน และส่งเสริมแนวทางปรับปรุงแก้ไขพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วน ให้เหมาะสมต่อการใช้งานพื้นที่มากขึ้น ผลการศึกษาออกแบบสถาปัตยกรรม โดยใช้แนวความคิด กระบวนการของทฤษฎีฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า แนวความคิดการจัดการที่ดินรกร้างของเมือง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้สอยพื้นที่เป็นหลัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยการใช้พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับชุมชนคนไร้บ้าน ให้มีความสัมพันธ์กันทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง โดยออกแบบเป็นโครงสร้างที่สามารถถอดประกอบหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่ใช้งานได้หลากหลายรายการ การอิงอาศัยของพืชในสถาปัตยกรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พงศ์ภัค กรุดน้อยงานวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งเน้นไปในการศึกษา และทำความเข้าใจต่อพืชที่สามารถอยู่ร่วมกับผนังของอาคารได้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับคนที่ต้องการจะศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่สามารถปลูก และเจริญเติบโตกับผนังของอาคารได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหลาย ๆ อาคารก็เกิดการทรุดโทรม และพังทลายด้วยพืชที่เจริญเติบโตบนอาคารตามธรรมชาติ ในปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาพืชหลากหลายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตกับผนังของอาคารได้ เพราะด้วยหลาย ๆ ปัจจัยทำให้พืชเริ่มลดลง สถาปัตยกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายองค์กรเริ่มมองเห็นถึงปัญหาที่พืชเริ่มลดลงจากการรุกรานของตัวสถาปัตยกรรม แต่เมื่อมองในมุมองบุคคลทั่วไป คนทั่วไปยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในการนำพืชมาอยู่ร่วมกับสถาปัตกรรมเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่เห็นความสำคัญ และได้ทำการถอน หรือกำจัดทิ้งไป การศึกษา และผลการศึกษา ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเผยแพร่ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปลูกกับอาคารสถาปัตกยรรมได้หรือไม่ได้ ว่าพืชแต่ละประเภทจะส่งผลต่ออาคารสถาปัตยกรรมอย่างไรบ้าง การปลูกพืชแต่ละชนิดจะต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และการดูแลรักษาเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด กว่าทุก ๆ ขั้นตอน ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นของการอยู่ระหว่างพืชกับอาคาร การนำผลจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโครงการ แนวคิดในการออกแบบ คือ การปลูกพืชแนวใหม่ที่เรียกว่า สวนแนวตั้ง (Green Wall) โดยการนำมาใช้เป็น พืชที่ปลูกกับผนังอาคาร ด้วยตัวพืชมีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังสามารทำเป็นเกราะป้องกันให้ผนังของอาคาร ในการป้องกันทั้งมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ และลดความร้อนตากแสงแดดเพื่อให้อาคารได้รับความร้อนน้อยลงรายการ การเคลื่อนที่ของอากาศในงานสถาปัตยกรรม : ตลาดชุมชนถนอมมิตร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พงษ์พัฒน์ เกตุแก้วการศึกษาในครั้งนี้มี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการเคลื่อนที่ของอากาศที่ส่งผลกับสภาวะน่าสบายและวิธีการนำอากาศมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการนำอากาศที่มีอยู่ในธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั้นมาช่วยในการออกแบบอาคารและแก้ไขปัญหาโดยวิธีธรรมชาติการนำวัสดุต่างๆ หรือองค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ลม เข้ามาช่วยลดความร้อนหรือระบายความร้อนออกจากอาคาร และนำความเย็นเข้าไปแทนที่แนวความคิดในการออกแบบ คือ การคำนึงถึงสภาวะโลกร้อนในขณะที่อุณหภูมิของโลกเราได้เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จึงทำให้มีมาตรการประหยัดพลังงานโดยการช่วยลดสภาวะโลกร้อน ด้วยวิธีการออกแบบอาคารที่ใช้พลังงานธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย โดยนำหลักการ การเคลื่อนที่ของอากาศเข้ามาใช้ ออกแบบอาคารให้ระบายความร้อน หรือถ่ายเทอากาศได้ดีหรือทำให้อาคารนั้นมีความเย็นโดยอากาศที่เคลื่อนที่ผ่านเข้ามา ปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในตลาด พบว่ามีปัญหาเรื่องของความร้อน กลิ่น การถ่ายเท อากาศ และพาหะนาโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้งานภายในตลาด ทำให้เกิดการหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการนำทฤษฎีการเคลื่อนที่ของอากาศมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวก และได้รับผลกระทบน้อยที่สุดรายการ การเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พรทิพย์ หัสยพงศ์พันธ์การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนไหวที่เป็นโครงสร้างหรือที่ว่างทางสถาปัตยกรรมทางด้านกายภาพ ตลอดจนแนวความคิดและแนวทางออกแบบการเคลื่อนไหว เพื่อตอบสนองการรับรู้ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมและ ความสามารถในการปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบและรูปแบบต่าง ๆ ของการเคลื่อนไหวในที่ว่างสาธารณะที่มีการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของการใช้สอยอยู่ตลอดเวลา ทัง้ นี้เพื่อสร้างชุดเครื่องมือในการออกแบบและการกำหนดประโยชน์การใช้สอยที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับบริบท แนวความคิดการออกแบบการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม มีการกำหนดกรอบ แนวความคิดในเรื่องการเคลื่อนไหวในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นผลลัพธ์ Interactive in Architecture การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนและแนวคิดเรื่องการสื่อสารคนระหว่างกับที่ว่าง การสร้างการเคลื่อนไหว เป็นแนวความคิดหลักในการสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบใน การรับรู้ และเป็นปัจจัยการเกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อ การเคลื่อนไหว ซึ่งนาไปสู่ประเด็นการขยับรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ และประโยชน์ ใช้สอยจากกิจกรรม นำมาใช้เป็นแนวทางออกแบบเพื่อปรับเปลี่ยนที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ความต้องการโดยมนุษย์สามารถเป็นคนกำหนดเองได้ ลักษณะภาพรวมของแนวความคิดการเคลื่อนไหวในที่ว่างทางสถาปัตยกรรมนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนของพื้นที่ จากสภาวะความเปลี่ยนแปลงของที่ว่างซึ่งอยู่นิ่ง ๆ ที่เกิดจากความแตกต่างของรูปแบบการใช้พื้นที่และการซ้อนทับของกิจกรรม ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการออกแบบที่ว่างที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ และสร้างปฏิสัมพันธ์คนกับที่ว่างทางสถาปัตยกรรม โดยเป็นเครื่องมือรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตามกิจกรรมพฤติกรรมการใช้พื้นที่รายการ การเรียนรู้สาหรับผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ฐิติมา ดวงวันทองการศึกษาวิทยานิพนธ์ ศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ซึ่งผลการศึกษารวบรวมข้อมูลพบว่า การศึกษาที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุดคือการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับผู้สูงอายุ โดยมีหมวดเนื้อหาการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบไปด้วย เนื้อหาด้านสุขภาพอนามัยที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ เนื้อหาด้านการปรับตัวทาง สังคมและจิตใจ เนื้อหาด้านการออม เนื้อหาด้านการเรียนรู้และเนื้อหาด้านสิทธิของผู้สูงอายุตามกฎหมาย และได้นามาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้แบบบูรณาการครบวงจร โดยใช้กิจกรรมทางการเกษตร หัตถกรรม และกิจกรรมการขาย เป็นตัวส่งเสริมการเรียนรู้ จากการศึกษาข้อมูลและแนวทางการออกแบบ อาคารของโครงการการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยกับผู้สูงอายุ การจัดพื้นที่แต่ละส่วนให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในพื้นที่นั้นๆ มีสภาพบริบท บรรยากาศที่เหมาะสมและช่วยในการเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุรายการ การแชร์ที่อยู่อาศัยเพื่อความสัมพันธ์ของชุมชนคลองเตย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปาณพฤฒิ มุขตาด้วยบริบทการอยู่อาศัยเดิมของคนในชุมชนเป็นรูปแบบแนวราบและกระจายหลายชุมชนในเขตพื้นที่คลองเตย ด้วยแผนพัฒนาท่าเรือคลองเตยใหม่ที่ต้องรื้อถอน และย้ายชุมชนทั้งหมดขึ้นเป็นอาคารแนวตั้ง และมีพื้นที่จำกัด ทำให้ต้องจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่ ให้เพียงพอต่อจำนวนครอบครัวที่จะย้ายขึ้นอาคารทั้งหมด การจะทำให้พื้นที่เพียงพอไม่แออัดจนเกินไป จำเป็นต้องใช้รูปแบบการอยู่อาศัยแบบแชร์พื้นที่อยู่อาศัยร่วมกันระหว่างครอบครัว และทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในระบบการอยู่อาศัยแนวราบ คงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ได้ ไม่ต่างคนต่างอยู่ ยังคงวิถีชีวิตพึ่งพาซึ่งกันและกัน ค้นคว้าข้อมูลในการสำรวจ รวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ เอกสาร ตารา สื่อดิจิทัล กรณีศึกษา รวมทั้งการศึกษาจากการถ่ายภาพจากสถานที่จริง แล้วจึงนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ทดลอง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์การกาหนดแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยจะมุ่งเน้นในการศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลสนับสนุน เพื่อใช้ในงาน สถาปัตยกรรมให้กับบุคคลที่สนใจหรือบุคคลเกี่ยวข้องได้นำข้อมูลความรู้ให้สามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ได้ การนำผลการศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ มีแนวคิดในการออกแบบคือการถอดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากการศึกษาลักษณะรูปทรงโมดูล่า เพื่อนำมาวิเคราะห์การวางตำแหน่งห้อง และการเชื่อม ที่เหมาะสมที่สุดในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยรายการ ความสงบ : หอศิลปะแห่งความสงบ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ปการวิทย์ ผิวงามความสงบที่แฝงอยู่ในธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความสงบภายในอาคารให้เหมาะสำหรับการชมงานศิลปะและพักผ่อนหย่อนใจนอกจากนี้ยังช่วยให้ผ่อนคลายเกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดีและนำไปเป็นหลักสำหรับดำเนินชีวิต วิธีการศึกษา และผลการศึกษา คือการสร้างที่ว่างที่มีความสงบจากธรรมชาติ เป็นการใช้ธรรมชาติให้มีส่วนร่วมในพื้นที่ต่างๆ เช่น ทางสัญจร ที่ว่าง การใช้สอยอาคาร เพื่อสร้างความสงบ สำหรับผู้คนที่เข้ามาใช้งานจะได้สัมผัส รู้สึก และได้รับฟังเสียงความสงบเหมาะแก่การชมงานศิลปะและพักผ่อน ผลการนำไปประยุกต์ออกแบบ หลังจากการศึกษาภาคข้อมูลและทฤษฎีขององค์ประกอบในการสร้างความสงบจึงสามารถแบ่งความสงบได้เป็นที่ว่าง 7 รูปแบบคือ 1.การปิดล้อมที่ว่าง 2.การปิดล้อมที่ว่างหลายชั้น 3.การแบ่งเป็นยูนิต 4.การอยู่อย่างสันโดษ 5.การอยู่กับธรรมชาติ 6.การแบ่งเป็นโซนนิ่ง 7.การแบ่งแบบเขาวงกต นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นการสร้างภูมิทัศน์ที่เป็นธรรมชาติ การใช้ทางสัญจรที่ไม่ซับซ้อนและชื่นชมธรรมชาติระหว่างการเดิน การใช้พื้นผิว สี และวัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้นรายการ ความสัมพันธ์ของคนกับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธิดาพร อุคำโครงการวิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นศึกษาการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความสำคัญ ของภูมิทัศน์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชนกะดีจีน-คลองสานมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าอย่างมากในอดีตให้กลับมามีความสำคัญขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นคำถามแรกของวิทยานิพนธ์นี้คือเป็นไปได้หรือไม่ที่พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์คนและการรับรู้ประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงควรที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์และพื้นที่สาธารณะให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นทั้งแหล่งรวบรวมข้อมูลและให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและมีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆที่พื้นที่ศูนย์กลางการเรียนรู้กะดีจีน-คลองสาน ทำเพื่อนาเสนอให้แก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงการเข้าถึงแก่นแท้ของประวัติศาสตร์กะดีจีน-คลองสานได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นทำให้เกิดโครงการพื้นที่ศูนย์กลางเรียนรู้ศิลป์นวัตกรรม กะดีจีน-คลองสาน เป็นการสร้างพื้นที่ส่วนเชื่อมต่อสวนสมเด็จย่าและชุมชนกะดีจีน จากสภาพที่ทรุดโทรมและขาดการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ ให้เป็นสถานที่ที่มีการใช้ประโยชน์ของคนในพื้นที่และผู้ที่สนใจศึกษา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เป็นการย้อนรอยพื้นที่สำคัญจากอดีตจนถึงปัจจุบันและเพื่อเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวการศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชนริมน้าของไทยด้วยเช่นกันรายการ คอนโดมิเนียมอาคารสำเร็จรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กิตติพงศ์ มุงธิสารจุดเริ่มต้นของสิ่งที่สนใจ เกิดขึ้นจากการที่สนใจในงานสถาปัตยกรรม ที่สามารถนำมาประกอบกันได้ทันทีในรูปแบบที่ซ้าๆกันจนเป็นอาคารได้ทั้งหลัง จึงเริ่มศึกษาจากระบบการทำงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ พบว่าได้ระบบการทำงานทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ตรงกับสิ่งที่สนใจ ชื่อว่า “ระบบอาคารสำเร็จรูป” ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการในการคิดอาคารสำเร็จรูปที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้ศึกษาหลักการในการคิด หรือ ออกแบบโดยใช้หลักการของระบบอาคารสำเร็จรูป โดยจะได้แนวคิดหลักของการทำงานคือ ตารางตามพิกัด จึงต้องการนำหลักการการออกแบบระบบอาคารสำเร็จรูป โดยใช้หลักการคิดตามตารางตามพิกัดมาใช้ในการออกแบบในทุกๆส่วนของโครงการ เช่น การวางผัง การออกแบบระยะต่างๆ การออกแบบรอยต่อ จากการศึกษาข้อมูลและทฤษฎีต่างๆแล้ว ทำให้สามารถนาหลักการมาใช้ในการออกแบบอาคารได้ตามหลักการที่มีอยู่ตั้งแต่เรื่องของการวางผัง การวางระยะต่างๆของพื้นที่ใช้งานที่เกิดขึ้น การออกแบบขนาดของรอยต่อ หรือ แม้แต่การคิดขนาดของสัดส่วนของโมดูลาห์ต่างๆ ที่จะนามาประกอบกันที่หน้างานนั้นเอง อีกทั้งยังมีรูปแบบในการคิดแต่ละส่วนในการใช้โครงสร้างของงานสถาปัตยกรรมอีกด้วย เนื่องจากหลักการทำงานหลักๆของระบบอาคารสำเร็จรูปนั้น ในส่วนที่เป็นห้องที่มีจำนวนซ้ากันมากๆนั้น จะถูกทำงานโดยระบบผนังรับน้้ำหนักเป็นส่วนมากรายการ จิตวิทยา สภาพแวดล้อมการบำบัด : ศูนย์บำบัดยาเสพติด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) นารีรัตน์ ทูโมสิกวิทยานิพนธ์การศึกษาในประเด็นการบำบัดยาเสพติด การบำบัดพฤติกรรม (behavior- therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาผู้ติดยาเสพติดที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมทั้งการบำบัดทางพฤติกรรมและทางความคิด ผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาอาจไม่ทราบถึงพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหาได้ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม เชื่อว่าความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลทำให้เกิดอากาศกลัวหรือหวาดระแวง และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บำบัดยาเสพติด สถาปัตยกรรมจึงมีส่วนช่วยในการบำบัดรักษา โดยการใช้สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารร่วมกับจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมทัศนคติและอารมณ์ความรู้สึกของผู้บำบัด เช่น สี รูปทรง พื้นที่ว่าง วัสดุ การจัดวางผัง เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ทำการศึกษาข้างต้นเพื่อกาหนดแนวทางในการออกแบบโครงการ จากการสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดจัดทำเป็นสถาปัตยกรรมเผื่อการบำบัดยาเสพติด ผลของการศึกษา แสดงให้เห็นว่างานสถาปัตยกรรมที่จะสามารถรักษาผู้ป่วยเสพยาเสพติด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องข้อมูลการแก้ไข้ปัญหา ทั้งทางวิทยาศาสตร์สาธารณะสุข และทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้เป็นการแก้ปัญหายาเสพติดแบบถาวร สถาปัตยกรรมจะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จาก การผสมผสานเรื่องของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าด้วยกัน และนำมาสังเคราะห์เป็นสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมการใช้สอยซึ่งเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการใช้งานสูงสุดสำหรับการบำบัดยาเสพติดรายการ จิตวิทยา สภาพแวดล้อมเพื่อการศึกษา : การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพื้นที่ สาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ณัฐนิชา มะโนเรืองแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดรูปทรงหรือที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ล้วน มาจากปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรง เช่น สถานที่ เวลา บริบท และพฤติกรรม ซึ่งได้สนใจในการนำหลักการจิตวิทยาสภาพแวดล้อม และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมมาศึกษา และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยนำเอารูปแบบหลักการที่ถูกต้อง มาใช้เป็นหลักการต้นแบบเพื่อน ปรับปรุงและพัฒนามหาลัยในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับความต้องการของนักศึกษาและเศรษฐกิจ ในอนาคาต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร ได้ทา การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุมและสนใจ เกี่ยวกับบทบาทระหว่างสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ว่าง นามาซึ่งแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ว่าง และภูมิทัศน์ เช่น สวนสาธารณะ พื้นที่สี เขียวและพื้นที่สำหรับกิจกรรมสันทนาการ ดังนั้นการ ออกแบบและคุณภาพในการปรับเปลี่ยนที่ว่าง กิจกรรม และบริบทแวดล้อม จึงมีความเชื่อม โยง กับสถาปัตยกรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ว่างและภูมิทัศน์ และได้ทำ การวิเคราะห์พื้นที่และ กิจกรรมของนักศึกษาโดยอิงจากหลักการและทฤษฎีต่างๆเช่น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องของพื้นที่โล่ง ว่าง ทฤษฎีการเชื่อมโยง แนวคิดทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง เป็นต้น ซึ่งหลักการออกแบบที่ได้มา จะเป็นทั้ง วิธีการแก้ปัญหา และ เป็นแนวทางการออกแบบ ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางการออกแบบ สถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อม และ พฤติกรรม ให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะที่ว่างที่อยู่ ระหว่างกลาง บริเวณรอยต่อระหว่างสถาปัตยกรรมกับบริบท ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม และ พฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งนาไปสู่แนวทางการพัฒนารูปแบบและแนวคิดในการออกแบบ สถาปัตยกรรม