S_RES-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_RES-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การประยุกต์ใช้เมาส์ปากกาสำหรับการสอนออนไลน์ในรายวิชาการคำนวณและสถิติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) สุบิน ยุระรัชบทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่ออธิบายแนวคิดและความสำคัญของเมาส์ปากกาสำหรับการสอนออนไลน์ และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เมาส์ปากกาสำหรับการสอนออนไลน์ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณและสถิติ บทความเรื่องนี้มาจากการสังเคราะห์เอกสารและจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน 2563 จากผลการสังเคราะห์เอกสารและประสบการณ์ตรงพบว่า (1) รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณและสถิติไม่สามารถบรรยายโดยใช้ PowerPoint เพียงอย่างเดียว เนื่องด้วยรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณและสถิติมีความจำเป็นต้องแสดงวิธีทำและวาดรูปประกอบการอธิบาย และ (2) การประยุกต์ใช้เมาส์ปากกาสำหรับการสอนออนไลน์ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณและสถิติได้ผลเป็นที่น่าพอใจและสามารถใช้ทดแทนกระดานไวท์บอร์ดได้ในการเรียนการสอนแบบปกติ This article aims (1) to explain the concepts and importance of pen pens for online teaching, and (2) to present the application of using a pen mouse for online teaching in subjects related to calculation and statistics. This article is based on the synthesis of documents and the direct experience of the author in online teaching and learning during the situation of Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) between April - June 2020. From the synthesis of documents and direct experience, it was found that (1) courses related to calculations and statistics cannot be described using only PowerPoint since the courses related to calculations and statistics are necessary to show how to make calculations and draw illustrations, and (2) the application of a pen mouse for online teaching in the course related to calculation and statistics was satisfactory and can be used as a substitute for whiteboards in normal teaching and learning.รายการ การสังเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ของศูนย์พัฒนาเด็ก สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษา(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย, 2563-08-13) สุบิน ยุระรัช; อรรณพ จีนะวัฒน์; วราภรณ์ ไทยมา; เกรียงไกร สัจจหฤทัย; ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์การวิจัยเรื่องนี้ออกแบบโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อสังเคราะห์ผลการประเมินและความเห็นของผู้ประเมินเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาจากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ และ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้แทนสถานศึกษา จำนวน 123 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง คือ (1) รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ จำนวน 123 ฉบับ และ (2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทนสถานศึกษา จำนวน 12 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยมี 5 ฉบับ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ศูนย์พัฒนาเด็ก มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดี สถานศึกษาขั้นพื้นฐานผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก สถานศึกษาอุดมศึกษา ในแต่ละประเด็นพิจารณามีผลประเมินตั้งแต่ระดับปรับปรุง พอใช้ ดี และดีมาก แต่ไม่มีระดับดีเยี่ยม ส่วนความคิดเห็นของผู้ประเมินสังเคราะห์ใน 3 ประเด็น คือ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะในการพัฒนา (2) คุณภาพของรายงานการประเมินอยู่ในระดับได้มาตรฐานในทุกประเภทของสถานศึกษา ยกเว้นระดับอุดมศึกษาด้านความเป็นไปได้ผลการประเมินอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ This research was designed by using a mixed-methods research methodology. Its two main objectives were (1) to synthesize the results of a fourth round External Quality Assessment (EQA) and the assessors’ opinion regarding the strengths, the points that should be developed and recommendations for development, and (2) to evaluate the quality of the EQA reports. For quantitative method, the population was 123 representatives of the educational institutions. For qualitative method, the sample comprised (1) 123 EQA reports, and (2) key informants divided into two groups; 12 representatives of the educational institutions, and five experts. Five research instruments were applied. Quantitative data were collected by using a questionnaire and an assessment form and qualitative data were collected by using a document synthesis, interview, and site visit. For the quantitative data, descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean, and standard deviation were used. For the qualitative data, content analysis was used. The research findings were as follows: (1) child development centers have an overall assessment result of a good level, basic education institutions have the overall assessment results of a very good level, both in early childhood education and basic education, and the results of each consideration issue for higher education institutions are at the level of improvement, fair, good and very good, but excluding excellent. As for the opinions of the assessors, they were synthesized as 3 points comprising the strengths, the points that should be developed and recommendations for development, and (2) the quality of the EQA reports is standardized in all types of educational institutions except for the higher education, the assessment results of feasibility are at the pass level.รายการ การพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย(มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2564-06-08) สุบิน ยุระรัชการศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยสถาบัน เรื่อง ระบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัยก่อนเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย ตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญการวัดและประเมินผล 2 คน รวมจำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยของดัชนีของความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของการวัด (Index of Item – Objective Congruence: IOC) ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย มีหัวข้อในการประเมินจำนวน 12 ประเด็น รวม 24 ข้อคำถาม และ (2) แบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหา This study is part of the institutional research on the diagnostic system of research quality before an academic position submission. The objectives of this study were (1) to develop a research quality diagnostic form, and (2) to analyze the content validity of the research quality diagnostic form. The sample were nine experts consisting of three research specialists in science and technology, three research specialists in social sciences and humanities, one research specialist in fine arts, and two experts in measurement and evaluation. The research instrument was a content validity evaluation form. The researcher manually collected the data himself. The data was analyzed by means of the Index of Item - Objective Congruence (IOC). The research results were found that (1) the research quality form comprises 12 assessment topics, including 24 questions, and (2) the developed research quality diagnostic form was contentiously valid.รายการ การสังเคราะห์เทคนิคการสอนสถิติสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก(ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-07-25) สุบิน ยุระรัชการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการสอนสถิติ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนสถิติที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาเอกที่วิชาเอกไม่ใช่สถิติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บทความวิจัย จำนวน 6 เรื่อง นักศกึ ษาระดับ ปริญญาเอก จำนวน 6 คน และผู้สอนวิชาสถิติในระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ฉบับ คือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองในเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) เทคนิคหรือวิธีที่นิยม นำมาใช้สอนสถิติสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก มีจำนวน 7 เทคนิค ได้แก่ การสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม การสอนแบบเน้นมโนทัศน์ การสอนแบบโครงงานรายบุคคล การฝึกปฏิบัติการสอนโดยใช้กรณีศึกษา/ตัวอย่าง การให้ข้อมูลป้อนกลับ/ปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (2) เทคนิคการสอนสถิติที่ เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ไม่ได้เรียนเอกสถิติ คือ การสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีแนวคิด รวบยอดหรือมโนทัศน์ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติ The objective of this research was to synthesize research findings regarding on teaching techniques of statistics for doctoral students and to propose an appropriate approach to teaching statistics for doctoral students whose majors are not statistics. Samples consisted of six research articles, six doctoral students, and three Instructors of statistics at doctoral level. The two research instruments were a data record form and an in-depth interview form. Data was collected during May- June 2022 and content analysis was used to analyze the data. The major research findings were as follows: (1) popular teaching techniques of statistics for doctoral students comprise group discussion, Concept- Based Instruction, individualized project, practice, case studies/ examples, feedback/ interaction, and informal meetings, and (2) teaching statistics for the doctoral students whose majors are not statistics should focus on teaching concepts along with practice.