GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "CAUSAL MODEL"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ แบบจำลองเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก(วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์; วิชิต อู่อ้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ด้านต้นทุนการผลิต และ ด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนของกองทัพบก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method Research) มุ่งที่จะศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนของกองทัพบก โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าและการบริหารจัดการเกี่ยวกับพลังงานทดแทน และตัวแทนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่กองทัพบก ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างแบบจำลองเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบค่า Chi-square (X2) มีค่าเท่ากับ 591.49 ค่า df เท่ากับ 295 ค่า P-value เท่ากับ 0.060 GFI เท่ากับ 0.98 AGFI เท่ากับ 0.94 CFI เท่ากับ 0.92 RMSEA เท่ากับ 0.042 พลังงานไฟฟ้าสีเขียวเพื่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบกที่เหมาะสมต่อพื้นที่ คือ รูปแบบของโซล่าร์รูฟท้อป ที่ติดตั้งบนหลังคา อาคาร และรูปแบบ Solar Farm โซลาร์ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนของกองทัพบกเพื่อนำไปดำเนินการและพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป