SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย เรื่อง "GPS"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานในการใช้งาน เทคโนโลยี GPS ของบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา(2562-03-09) ภัคจิราพัชร์ ตุ่มไทยสาครวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี ระบบ GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้า 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้า จําแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบ ความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้าจําแนกตามปัจจัยด้าน องค์กรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้ปฏิบัติงานในบริษัทและห้างหุ้นส่วน จํากัด ที่ใช้งาน ระบบ GPS มีจํานวน 126 คนที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ในเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยโปรแกรม สําเร็จรูปทางสถิติด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่การแจกแจง ความถี่ค่าร้อยละการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้ การวิเคราะห์ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ในการ ทดสอบสมมติฐานหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS ของ ผู้ปฏิบัติงานบริษัทขนส่งสินค้าในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ให้ความสําคัญมากที่สุดคือ ด้านระบบการ ให้บริการซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด ในค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.33 โดยภาพรวมเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อยได้แก้ด้านภาพลักษณะของบริษัท ด้านระบบการให้บริการ ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง ด้าน ประสิทธิภาพในการทํางาน ด้านเวลาและด้านที่ให้ความสําคัญน้อยที่สุดคือด้านป้ญหาของการใช้ ตามลําดับ ซึ่งป้จจัยที่ส่งผลระดับความพึงพอใจการใช้งานเทคโนโลยี GPS คือด้านประสบการณ์ใน การทํางานด้าน GPS และด้านประเภทสถานประกอบการมีผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้งาน เทคโนโลยี GPS อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05