SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย เรื่อง "LBDQ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ(2546) ประสงค์ เสาหะพงษ์การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน และพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ โดยใช้แบบสอบถาม LBDQ มาใช้ในการวัดพฤติกรรมผู้นำ ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 337 คน ที่ปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานอยู่ในเกณฑ์สูง และแบบมุ่งสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ 2. ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3. ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทที่มีเพศและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ยกเว้นวุฒิการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจในการทำงานสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอนุปริญญาตรี ส่วนระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจในการทำงานสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย สุดท้ายระดับอนุปริญญาตรีและมัธยมศึกษาตอนปลายมีความพึงพอใจในการทำงานสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารบริษัทแบบมุ่งงานและแบบมุ่งสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โดยภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทสูงกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานกับความพึงพอใจ ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ยกเว้นด้านความสำเร็จของงาน