CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การขนส่งสินค้า"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) คมสัน โสมณวัตรการวิจัยครั้งนี้เ็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดเก้บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายที่ส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ให้บริการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าอันตรายในประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสังเกต ได้ 49 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามระดับความสำคัญของการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายให้ความสำคัญปัจจัยด้านการจัดเก็บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้ง 3 ปัจจัยอยู่ระดับดี และเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยที่มีส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลสามารอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายได้ร้อยละ 29รายการ รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชยพล ผู้พัฒน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบหลายช่วง นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ Q Mark, GDP, GSP, Q-Cold Chain, ISO18000, ISO22301, ISO28000 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อสังเคราะห์ตัวแปรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพ จากนั้นจึงใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยนำตัวแปรที่สังเคราะห์ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q Mark ในประเทศไทย จำนวน 414 ราย ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 324 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.26 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยเพื่อยืนยันตัวแปร สุดท้ายจึงนำผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพและจัดสนทนาเชิงกลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพมีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายกรมการขนส่งทางบกที่มีการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้า