11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กฎหมายควบคุมการทำไม้"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาวัสดุทดแทนในการก่อสร้างบ้านทรงไทยในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน(2554-09-24T04:53:12Z) รักชนก สุธรรมมาจารย์ในอดีตรูปแบบบ้านทรงไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการออกแบบวางผัง ตัวเรือนมีการยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงสูงและชานเรือนขนาดใหญ่เพื่อช่วยในการระบายอากาศ ปัจจุบันการสร้างบ้านทรงไทยจากภูมิปัญญาช่างไทยลดน้อยลง เนื่องจากค่าวัสดุก่อสร้างบ้านทรงไทยที่ใช้ไม้จริงทั้งหลังมีราคาแพงและด้วยกฎหมายจำกัดการทำลายป่าไม้และสงวนพื้นที่ป่าไม้ ทำให้การจัดหาวัสดุไม้จริงยากมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาราคาวัสดุทดแทนที่เหมาะสมในการก่อสร้างบ้านทรงไทยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน จากต้นแบบบ้านทรงไทยหนึ่งหลังมีพื้นที่รวม 143 ตารางเมตร การศึกษายังคงภูมิปัญญาในการออกแบบ แต่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการก่อสร้างจากการเข้าลิ้นสลัก-เดือย เป็นการยึดติดแบบถาวรซึ่งต้องปรับวิธีการก่อสร้างให้เหมาะสมกับวัสดุทดแทนที่เลือกใช้ เช่น ทดแทนโครงส่วนล่างด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างส่วนบนด้วยวัสดุเหล็ก และโครงสร้างส่วนกลาง ด้วยไม้เทียมพลาสติกและไฟเบอร์ซีเมนต์ ประตู-หน้าต่างด้วยแผ่นกรีนบอร์ด หลังคาด้วยกระเบื้องยางมะตอยและวัสดุทดแทนอื่นๆด้วยวิธีการเชื่อม การยึดด้วยน๊อตและสกรูเป็นต้น ผู้ศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบราคาวัสดุไม้จริง กับวัสดุทดแทน 2 แบบ แบบที่1 ได้แก่ไม้เทียม พลาสติก(Wood Plastic Composite)กับแผ่นกรีนบอร์ดและหลังคาวัสดุกระเบื้องยางมะตอย (Asphalt Shingles) และแบบที่ 2 ได้แก่ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์(Fiber Cement)กับหลังคากระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก ซึ่งไม่รวมราคาค่าก่อสร้างห้องน้ำ ค่าแรง ค่าอุปกรณ์และค่าดำเนินการ จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเที่ยบราคาวัสดุไม้จริงกับวัสดุทดแทนแบบที่ 1 ราคาลดลง 42% และแบบที่ 2 ราคาลดลง 71% ทั้งนี้ผลที่ได้จากการศึกษาเรื่องราคาวัสดุทดแทนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งไม่รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ระยะเวลาในการก่อสร้าง และคุณค่าความงามทางสถาปัตยกรรมไทย