11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน =THE STUDY OF JOB PERFORMANCE SATISFACTION OF DEPARTMENT OF ALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY(2558-01-21T12:49:25Z) สุปราณี อนุศาสตร์การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1)บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีความพึงพอใจในงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้านนั้น บุคลากรมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัย และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่เหลืออีก 4 ด้าน บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ได้คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสวัสดิการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านค่าตอบแทน 2)บุคลากรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล มีความพึงพอใจ ในงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณารายด้านพบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในงานราย ด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน = THE MOTIVATION TO STUDY FOR A MASTER’S DEGR EE OF THE GOVERNMENT OFFICER IN THE DEPARTMENT OFALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY(2558-01-22T09:08:51Z) สมฤทัย ไทยนิยมการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออศึกษาเรื่อง แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อายุราชการ ระดับตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน แหล่งทุนสนับสนุน ว่ามีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่ (Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า 1.มีเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.1อายุระหว่าง 36-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.4 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.9 ซึ่งมีอายุราชการ 15 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ37.4 โดยมีตำแหน่งงานระดับชำนาญการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.3 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 31.0 และมีแหล่งเงินทุนที่ีนำมาใช้ในการศึกษาต่อมาจากตนเอง คิดเป็นร้อยละ 48.9 2.ข้าราชการมีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านการพัฒนาตนเองด้านคุณภาพงาน ด้านความก้าวหน้าในงานและรายได้ และด้านการย้ายหรือเปลี่ยนสายงาน