CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การรับรู้"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สัญญา ปรีชาศิลป์สารนิพนธ์ที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง "การศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่การใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละวนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีอายุ 21-30 ปี คิดเป็นรอยละ 36.8 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 55.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 28.8 มีรายได้ต่อเดือน10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.2 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ50.0 ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 96.0 มีระยะเวลาในการเป็นลูกค้าของธนาคาร คือ มากกว่า 2 ปีขึ้นไป มีเหตุผลในการใช้บริการธนาคารอิสลาม คือ ใกล้บ้าน / ใกล้ที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 45.7 ประเภทการใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละ 74.7 ใช้บริการสินเชื่อประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 49.9 การใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม คิดเป็นร้อยละ 90.0รายการ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัชวาล ฉัตรสุวรรณวิไลการศึกษาเรื่อง “การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการประชาสัมพันธ์สโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารของสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ มีขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 คนใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบความสัมพันธ์จากค่า Chi-Square test และวัดความสัมพันธ์โดยค่าสถิติ Contingency coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ