CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 60
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธการวางแผนสื่อโฆษณาในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ (ศึกษาเฉพาะกรณีสื่อสิ่งพิมพ์)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อภิรดี อำนรรฆมณีการถดถอยของเศษฐกิจในประเทศไทย ส่งผลต่อเนื่องกับธุุรกิจทุกประเภท ในธุรกิจโฆษณาและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ผลกระทบนี้ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการวางแผนสื่อ การจัดหน้าสื่อ และอำนาจการต่อรองระหว่างสื่อกับบริษัทโฆษณาเป็นอันมาก โดยสื่อจะลดอำนาจการต่อรองลง มีการลดข้อบังคับต่างๆ ลง ยืดหยุ่นให้กับบริษัทโฆษณามากขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทโฆษณาเองก็ต้องการให้ชิ้นงานโฆษณาของตนสะดุดตา ก็ต้องอาศัยการวางสื่อให้แปลกใหม่ขึ้น พร้อมกันนั้น ต้องเลือกสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ไม่มีการเลือกซื้อสื่อที่กลุ่มเป้าหมายซ้ำกัน ดังนั้น ในแง่ของสื่อเองก็ต้องมีการแข่งขันกันเพื่อแย่งลูกค้า (บริษัทโฆษณา) เช่นกันรายการ กลยุทธการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย(2554) ดนิตา ศรีสุวรรณรายการ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเพื่อสังคม : กรณีศึกษาโครงการมุมหนังสือธปท. ของธนาคารแห่งประเทศไทย(2554) เอกวิทย์ ใจทหารการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาถึงการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยรายการ การรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สัญญา ปรีชาศิลป์สารนิพนธ์ที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง "การศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่การใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละวนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีอายุ 21-30 ปี คิดเป็นรอยละ 36.8 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 55.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 28.8 มีรายได้ต่อเดือน10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.2 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ50.0 ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 96.0 มีระยะเวลาในการเป็นลูกค้าของธนาคาร คือ มากกว่า 2 ปีขึ้นไป มีเหตุผลในการใช้บริการธนาคารอิสลาม คือ ใกล้บ้าน / ใกล้ที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 45.7 ประเภทการใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละ 74.7 ใช้บริการสินเชื่อประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 49.9 การใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม คิดเป็นร้อยละ 90.0รายการ การรับรู้เนื้อหาและความพึงพอใจของผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา และการได้ยินต่อละครสั้นเรื่องกระต่ายกับเต่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปิยวรรณ เรืองปัญญาวุฒิผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาและผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มักจะมีปัญหาในการรับชมละครโทรทัศน์ ผู้จัดทำจึงคิดทำละครเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้พิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้เนื้อหาและความพึงพอใจของผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาและการได้ยินต่อละครสั้นเฉพาะ เรื่องกระต่ายกับเต่า การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มกำหนดด้วยวิธีแบบโควตา (Quota-sampling) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน แบ่งออกเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา 50 คน จากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร และผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 50 คนจากโรงเรียนสอนคนหูหนวกกรุงเทพมหานคร โดยสร้างละครสั้นเฉพาะกลุ่มเรื่องกระต่ายกับเต่า ในรูปแบบของละครสั้นที่ใช้ภาษามือและการพากย์สียงบรรยาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาและการได้ยิน หลังจากนั้นให้ตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ผลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ของคะแนน และการหาค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)รายการ การรับรู้และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ของสายด่วนวัฒนธรรม 1765(2554) นุชรัตน์ ผลหิรัญกิจการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาการรับรู้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการประชาสัมพันธ์สายด่วนวัฒนธรรม 1765รายการ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัชวาล ฉัตรสุวรรณวิไลการศึกษาเรื่อง “การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการประชาสัมพันธ์สโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารของสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ มีขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 คนใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบความสัมพันธ์จากค่า Chi-Square test และวัดความสัมพันธ์โดยค่าสถิติ Contingency coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติรายการ การศึกษา เรื่อง กิจกรรมการสื่อสารการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการต่อของลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูเนเคชั่น จำกัด(2555) ชุตินันท นิ่มขุนทดการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา กิจกรรมการสื่อสารการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการต่อลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด เพื่อศึกษาว่ากิจกรรมการสื่อสารทางการตลาดของบริษัทมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการต่อ ในกลุ่มตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เพศ,อายุ,การศึกษา,อาชีพ,รุปแบบการดำเนินชีวิต กิจกรรมการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่างๆ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มลูกค้าของบริษัทซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจการจดจำและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้ค่าร้อยละ สำหรับอธิบายข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน...รายการ การศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อภาพลักษณ์ของเพลงลูกทู่งไทย(2554) ทรงวุฒิ ไวยลิยาการศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพลักษณ์ต่อเพลงลูกทุ่งไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาทัศนะคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพลักษณ์ของเพลงลูกทุ่งไทยรายการ การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเพลงลูกทุ่ง ของประชาชนในเขตปริมณฑล(2554) พัชรพล ขุนณรงค์การศึกษาวิจัยเรื่อง "การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเพลงลูกทุ่งของประชาชนในเขตปริมณฑล" เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Servey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนรายการ การศึกษาเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของลูกค้าที่ซื้อประกันภัยที่มีต่อการใช้งานสื่อเว็บไซต์ ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐพล พงษ์แพทย์การศึกษาเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของลูกค้าที่ซื้อประกันภัยผ่านระบบออนไลน์ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาหาความคาดหวังของลูกค้าที่ซื้อประกันภัยที่มีต่อการใช้งานสื่อเว็บไซต์ ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน) 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่ซื้อประกันภัยที่มีต่อการใช้งานสื่อเว็บไซต์ ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน) 3. เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของลูกค้าที่ซื้อประกันภัยที่มีต่อการใช้งานสื่อเว็บไซต์ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ซื้อประกันผ่านระบบออนไลน์ของบริษัท MSIG จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท คือ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และ 2. สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics)รายการ การสื่อสารออนไลน์ทาง Facebook กับผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ครอบครัวของคนกรุงเทพ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐพันธ์ จันทร์เพ็ญสารนิพนธ์ที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง การสื่อสารออนไลน์ทาง Facebook กับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ครอบครัวของคนกรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาผลกระทบของ Facebook กับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ครอบครัวของคนกรุงเทพ ในด้านของผลกระทบและการรับรู้ถึงผลกระทบเหล่านั้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้คำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ถูกสำรวจกรอกข้อมูลด้วยตนเอง (Self-administered Questionnaire) โดยมีการวางโครงสร้างแบบสัมภาษณ์ในการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษารายการ การเปิดรับ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากข่าวด้านนวัตกรรม ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สาลินีย์ ทับพิลาการวิจัยเรื่อง การเปิดรับ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากข่าวด้านนวัตกรรมในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้อ่านข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้อ่านต่อข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีรายได้ที่ 20,001 – 30,000 บาท มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี พฤติกรรมและการเปิดรับข่าวด้านนวัตกรรมในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ พบว่า ส่วนใหญ่อ่านข่าวช่วงเวลา 06.00 น. – 11.59 น. ส่วนใหญ่อ่านข่าวที่ทำงาน ความถี่ในการอ่านข่าวที่ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ชอบอ่านข่าวประเภทนวัตกรรมเพื่อเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายงานพิเศษ และส่วนใหญ่เห็นควรเพิ่มอินโฟกราฟิกรายการ การเปิดรับ และการจดจำโฆษณา AIS ชุด “มากกว่าหน้าที่” ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(2555) ชาตริต สุทธิกรรัตนชัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาการเปิดรับโฆษณา AIS ชุด “มากกว่าหน้าที่” ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2)เพื่อศึกษาการจดจำโฆษณา AIS ชุด “มากกว่าหน้าที่” ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ การเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี(2555) นาตยา ถิระจิตโตการศึกษาเรื่อง การเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการ บริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรศาสตร์กับการเปิดรับข่าวสารของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรศาสตร์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี...รายการ การเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ FACEBOOK FANPAGE : กรณีศึกษา Thai PBS(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ยลวรรธน์ พวงแย้มการศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง “การเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ FACEBOOK FANPAGE : กรณีศึกษา Thai PBS” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ Facebook Thai PBS Fanpage ทั้งนี้ การศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มผู้ชม Thai PBS Facebook Fanpage จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติต่างๆที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และ ONE-WAY ANOVA F-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาระดับ เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัทรายการ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผุ้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐฐา ชื่นพลสารนิพนธ์เรื่อง “การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผุ้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ผู้ชมได้รับจากรายการข่าวภาคค่ำ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและความพึงพอใจของผู้ชมมีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยผู้วิจัยกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาค่าเปรียบเทฟียบ T-Testรายการ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อการทำหน้าที่ของนักข่าวทีวี ที่มีผลต่อการทำงาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ฉัตรชัย พ่วงภู่การศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง “การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการทำหน้าที่ของนักข่าวทีวี ที่มีผลต่อการทำงาน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักข่าวทีวี ที่มีผลต่อการทำงาน และศึกษาการทำหน้าที่ของนักข่าวทีวี ที่มีผลต่อการทำงาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยนี้ คือ ผู้ประกอบอาชีพนักข่าวทีวีจำนวน 222 คน จาก 6 สายข่าว คือ การเมือง เศรษฐกิจ อาชญากรรม สังคม กีฬา และบันเทิง ที่ทำงานในสถานีทีวีดิจิทัล 25 สถานี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักข่าวทีวี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักข่าวทีวีพบว่า เฟซบุ๊ก คือสื่อสังคมออนไลน์ที่นักข่าวทีวีเลือกใช้มากที่สุด โดยการทำหน้าที่ของนักข่าวมากที่สุด คือด้านเนื้อหา และ ด้านองค์กร พบว่า ในหัวข้อด้านเนื้อหา การค้นหาข้อมูล หรือเนื้อหาเพื่อนำไปประกอบการเขียนข่าว หรือรายงานข่าว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านองค์กร พบว่านโยบายขององค์กรมีส่วนสำคัญที่ทำให้นักข่าวทีวีใช้สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอข่าวไปยังผู้รับสารรายการ ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการ “จับตาเตือนภัย” ในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) เพชรรัตน์ วิทยสินธนาการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ รายการจับตาเตือนภัย ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปที่รับชมรายการจับตาเตือนภัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยวีการสุมตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้ Pearson Correlation Co-Efficient ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน / โรงงาน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท และมีสถานภาพสมรส อีกทั้งยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคาดหวังต่อรายการจับตาเตือนภัยในด้านความน่าเชื่อถือของผู้ดำเนินรายการ รองลงมาคือเนื้อหามีความถูกต้องแม่นยำ และมีความคาดหวัง ด้านการส่งภาพถ่ายทางบ้านเฟชบุ๊คเป็นลำดับสุดท้าย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจในด้านการนำเสนอกราฟฟิกอธิบายข้อมูลที่เข้าใจง่ายมากที่สุด รองลงมาบุคลิกภาพของผู้ดำเนินรายการมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนำเสนอ และมีความพึงพอใจการมีส่วนร่วมการส่งภาพถ่ายทางเฟชบุ๊คเป็นลำดับสุดท้ายรายการ ความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อคลื่นเอฟเอ็ม 96 สปอร์ต เรดิโอ คลื่นกีฬา และสาระบันเทิง(2554) ขนิษฐา ค้ำชูการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อคลื่นเอฟเอ็ม 96 สปอร์ต เรดิโอ คลื่นกีฬาและสาระบันเทิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจเพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังที่มีต่อคลื่นเอฟเอ็ม 96 สปอร์ต เรดิโอ
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »