CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การเปิดรับ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเปิดรับ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากข่าวด้านนวัตกรรม ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สาลินีย์ ทับพิลาการวิจัยเรื่อง การเปิดรับ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากข่าวด้านนวัตกรรมในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้อ่านข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้อ่านต่อข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีรายได้ที่ 20,001 – 30,000 บาท มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี พฤติกรรมและการเปิดรับข่าวด้านนวัตกรรมในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ พบว่า ส่วนใหญ่อ่านข่าวช่วงเวลา 06.00 น. – 11.59 น. ส่วนใหญ่อ่านข่าวที่ทำงาน ความถี่ในการอ่านข่าวที่ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ชอบอ่านข่าวประเภทนวัตกรรมเพื่อเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายงานพิเศษ และส่วนใหญ่เห็นควรเพิ่มอินโฟกราฟิกรายการ พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA (Multiplayer Online Battle Arena)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัยธัช วงศ์ชมบุญการวิจัยเรื่อง พฤติกรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA (Multiplayer Online Battle Arena) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับแความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA 2. พฤติกรรมการเปิดรับเกมเกมออนไลน์ประเภท MOBA และ 3. ความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย แจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA จากการเก็บตัวอย่างที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จำนวน 400 คน ส่วนมากเป็นผู้ชาย อายุ 15 - 25 ปี เป็นนักเรียน นักศึกษา มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทระดับการศึกษาสูงสุดในปัจจุบันปริญญาตรี มีการรู้จักเกมออนไลน์ประเภท MOBA เป็นครั้งแรกจากเพื่อนหรือคนในครอบครัว หรือเรียกว่าสื่อบุคคล มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเกมจากช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Youtube 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน มีการเล่นเกมเฉลี่ยวัน 3 – 4 ชั่วโมง ทุกๆ 3- 4 วันต่อสัปดาห์ ในเวลา 18.01 – 22.00 น ส่วนใหญ่มีการรู้จักเกมออนไลน์ประเภท MOBA มาแล้วมากกว่า 2 ปีและเคยเล่นเกมออนไลน์ประเภทดังกล่าวมาและยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน 2 – 3 เกม มีวัตถุประสงค์ในการรับข่าวสารเกี่ยวกับเกมเพื่อค้นหาเกมที่เปิดใหม่และเพื่อหาข้อมูลการพัฒนาหรือการอัพเดตต่างๆ ของเกม และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสื่อของเกมออนไลน์ประเภท MOBA โดยรวมในระดับมากโดยมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารถึงการเป็นเกม Battle หรือเกมที่มีเนื้อหาในการต่อสู้กับฝั่งตรงข้ามมากที่สุด ซึ่งทีมที่ประสบความสำเร็จจากการแข่งขันในระดับสากล สามารถสื่อสารถึงแบบอย่างของความสามัคคีและการแบ่งหน้าที่การเล่นภายในทีม กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การสื่อสารถึงการเป็นเกม Arena หรือเกมที่เล่นบนพื้นที่ต่อสู้ที่ถูกจำลองขึ้นในลักษณะของแผนที่และบริเวณจำกัดซึ่งความสูงต่ำภายในพื้นที่หรือแกการต่อสู้ สามารถสื่อสารถึงความสมจริง (ผู้ที่อยู่สูงกว่าจะมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นดีกว่าผู้ที่อยู่ต่ำกว่า) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุดรายการ พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจบนสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สืบสกุล ธรรมวงษ์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาพฤติกรรมเปิดรับสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่ใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน ด้วยค่า Independent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของผู้บริโภคที่ใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์รายการ พฤติกรรมด้านการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ จากข่าวนวัตกรรมของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) เพ็ญพิชญา แซ่เตียวการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี 3) ศึกษาทัศนะคติของเกษตรกรที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี 4) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากข่าวนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนทั้งชายและ หญิง จำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่จะต้องนำแบบสอบถามไปใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการทดลองสมมติฐานจะใช้การวิเคราะห์จากสถิติอนุมาน (Inferemtial statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยการใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับประชาการกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (T-test independence) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุมากกว่า 45 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ยึดอาชีพการเกษตรประเภทพืชไร่เป็นส่วนใหญ่ด้วยรายได้ต่อเดือนที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท จึงส่งผลต่อช่วงเวลาการเลือกเปิดรับและประเภทสื่อที่ยังคงเป็นสื่อเดิม