S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การตลาด"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:19:58Z) ณัฐกานต์ ภัทร์ประทานพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling Techniques เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีคือ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดทางตรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และการตลาดทางตรง ไม่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีรายการ การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดของโครงการธุรกิจอพาร์ทเมนท์ให้เช่า บริเวณซอยวัดหนองสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ(2552-01-16T07:44:47Z) ชุลีพร บุญปลูกการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดของโครงการอพาร์ท-เมนท์ให้เช่าบริเวณ ซอยวัดหนองสังข์ ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยการวิเคราะห์ทางการตลาด จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เช่าที่พักอาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อายุ 15 ปีขึ้นไป จ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 370 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จากการวิเคราะห์การแข่งขัน พบว่า ภัยคุกคามที่ส่งผล คือ อำนาจการต่อรองของ ผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า มีอำนาจการต่อรองสูง คู่แข่งขันที่มีอยู่เดิม มีความเข้มข้นของการแข่งขันปานกลาง ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่ แรงผลักดันของคู่แข่งขันรายใหม่อยู่ในระดับต่ำ ในด้านสินค้าทดแทน มีผลกระทบปานกลาง อำนาจการต่อรองของผู้ป้อนปัจจัยการผลิต มีผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องบริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน จากการเรีบยเทียบพฤติกรรมใช้ห้องพักอาศัยของผู้เช่า จำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ พบว่า เพศ แตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพักแตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพักแตกต่างกัน และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการใช้บริการห้องพักอาศัยของผู้เช่าพัก ผู้ที่เช่าพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่มีวัตถุประสงค์ของการมาเช่าพักเพื่อศึกษาต่อ ให้ความสำคัญระดับมากในเรื่องห้องพักมีระบบรักษาความปลอดภัย ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในห้องกว้างขวาง ราคาห้องพักที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนมาก เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่ยังไม่มีรายได้มากนัก เหตุผลสำคัญส่วนใหญ่ที่เลือกที่พักอาศัย คือ ต้องการสถานที่พักใกล้กับสถานศึกษา ทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ซึ่งจากทำเลที่ตั้งในโครงการนี้ก็มีทำเลที่ตั้งที่ไม่ไกลจากสถานศึกษามากนัก และตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน บริเวณใกล้เคียงมีโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ต่าง ๆ มากมาย เช่น บิ๊กซี และแม็คโคร เป็นต้น พร้อมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ร่มรื่น โดยภาพรวมของโครงการอพาร์ทเมนท์ให้เช่านี้ หากมีการจัดการระบบความรักษาปลอดภัย ตั้งราคาห้องพักที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง มีทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนจากการทำการวิเคราะห์แล้วทำให้สรุปได้ว่า โครงการอพาร์ทเมนท์ให้เช่าบริเวณ ซอยวัดหนองสังข์ ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีความเป็นไปได้ทางการตลาดรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ(2552-01-21T03:48:00Z) จิราภรณ์ เพียรทองการศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า 2) ศึกษาถึงส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า และ 3) ศึกษาแนวทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะทางประชากรศาสตร์,พฤติกรรมการใช้และซื้อรถจักรยานยนต์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ตัวแปรตามได้แก่ กระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินการวิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ใช้หรือมีความต้องการซื้อรถจักยานยนต์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาโดยทดสอบความน่าเชื่อถือจากวิธีครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) มีความเชื่อถือที่ 0.9732 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากสถิติเบื้องต้นได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความแตกต่างจากสถิติทดสอบแบบ t test และ แบบ F test ทดสอบค่าความสัมพันธ์ใช้สถิติเพียร์สัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS For Windows Version 11.5 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญสูงสุด รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย, ด้านราคา และ ด้านส่งเสริมการตลาด และมีกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ระดับมาก โดยด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อการซื้อมีผลสูงสุดรองลงมาการตัดสินใจซื้อ, การประเมินทางเลือก, การค้นหาข้อมูล และการรับรู้ เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2) พฤติกรรมการใช้และซื้อรถจักรยานยนต์ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม(2551-02-13T09:10:58Z) พัฒนา ทะนุชิตการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมของลูกค้า ของบริษัท แวน เลียวเวน (ประเทศไทย)จำกัด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน จาก 135 บริษัทที่เป็นลูกค้าของบริษัท แวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรต้นมี 2 ส่วนด้วยกันคือ ด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย ส่วนตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จะประกอบด้วย ความถี่ในการซื้อท่อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด และจากนั้นได้นำไปหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามโดยใช้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน โดยได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .7210 และนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้การวิเคราะห์จากโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จากกลุ่มตัวอย่างพบว่าตัวอย่างที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ภูมิลำเนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะมีการตัดสินใจในการซื้อท่อไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ในด้านความถี่ในการซื้อท่อต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี(2552-01-29T07:18:23Z) พีรภาว์ พุแควัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางตลาด ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี จำนวน 310 คน โดยที่ใช้การคำนวณหา คือ แบบสอบถามปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และค่าแครมเมอร์วี (Cramer's V) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 219 คน สาขาที่สำเร็จการศึกษาก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี สายประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) มากที่สุด และมีผลการเรียน 2.51-3.00 มากที่สุด จำนวน 186 คน พบว่าคณะที่ศึกษาอยู่คณะบริหารธุรกิจ มากที่สุด จำนวน 92 คน สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา จังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 236 คน ซึ่งได้พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 268 คน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ประถมศึกษา มากที่สุดจำนวน 208 คน อาชีพของผู้ปกครอง อาชีพเกษตรกรรม มากที่สุด จำนวน 99 คน มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนรายได้ 10,000-50,000 บาทสูงสุด จำนวน 157 คน ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ได้มีการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน คณะอาจารย์ และบุคลากรสูงสุด เรื่องความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ มากที่สุด และรองลงมาเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนมีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของนักศึกษา ด้านผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยสุดคือ ในด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ปัจจัยทางด้านราคา ซึ่งพิจารณาทางด้านราคาพบว่า ค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ปัจจัยทางด้านสถานที่ให้บริการ โดยพิจารณาทางด้านสถานที่ให้บริการ ซึ่งนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ กับสถานที่ใกล้ที่พักสูงสุดในระดับมาก และในด้านการเดินทางสะดวกนักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากเช่นเดียวกัน ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ พิจารณาทางด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับการมีกองทุนกู้ยืมจากรัฐสูงสุด มีทุนจากความสามารถพิเศษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมีการผ่อนผันในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ มหาวิทยาลัยมีระยะเวลาที่เหมาะสมในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากป้ายประชาสัมพันธ์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่กล่าวมานี้นักศึกษาให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยที่สุด นั่นก็คือการแนะนำจากญาติหรือเพื่อนน้อยสุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี สรุปผลจากการวิเคราะห์ว่าสาขาที่สำเร็จการศึกษาผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยา เขตชลบุรี คณะที่ศึกษาอยู่ สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา พักอาศัยอยู่ในจังหวัด ระดับการศึกษาผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน อาชีพของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น เพศ ที่จะไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลมของประชากรในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู(2551-07-03T06:47:54Z) จันทิพา เลาหะพงษ์การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาถึง ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกดื่มน้ำอัดลมของผู้บริโภค ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปูจำนวน 398 คนสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ สอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามสำรวจรายการ และเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (T-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD. ผลจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลมของผู้บริโภค ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู ด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความความคิดเห็นว่าสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในการเลือกซื้อ ก็คือ เป็นยี่ห้อที่คุ้นเคยหรือรู้จักมานาน สำหรับประเด็นรองลงมาที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญคือ มีรสชาติอร่อยและมีหลายรสชาติให้เลือก และอีกสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารหรือเครื่องดื่มก็คือ ความหลากหลายและความทันสมัยของบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้เลือกซื้อตามความต้องการ ด้านราคา จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ได้ทำการเปรียบเทียบราคาเหมาะสมกับปริมาณ ซึ่งไม่ได้มีราคาถูกกว่าเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ดังนั้น ราคาจึงไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญในการเลือกซื้อน้ำอัดลม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อ เนื่องจากผลิตภัณฑ์หาซื้อได้ง่าย สะดวก มีจำหน่ายทั่วไป มีจำหน่ายอยู่ใกล้บ้าน หรือผลิตภัณฑ์มีจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ตลอดเวลา ในการสรรหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เรามีได้เข้าถึงตัวผู้บริโภค นับว่ามีความสำคัญอีกประการหนึ่ง ด้านการส่งเสริมทางการตลาด จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้บริโภคเห็นว่า การมีโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและมีโฆษณาที่น่าสนใจนั้น เป็นตัวกระตุ้นการบริโภคในตลาดเป็นอย่างดี เนื่องจากก่อให้เกิดการรับรู้ถึงกระแสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด การจัดทำโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมด้วยนั้น เป็นช่องทางในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยเช่นกัน และจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศแตกต่างกัน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลม แตกต่างกัน อายุ แตกต่างกัน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลม แตกต่างกัน โดยพบว่า กลุ่มอายุ 41 -50 ปี ให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด ระดับการศึกษา แตกต่างกัน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลม แตกต่างกัน โดยพบว่า ตั้งแต่ระดับการศึกษาอนุปริญญาขึ้นไป จะให้ความสำคัญเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงการส่งเสริมทางการตลาด ระดับรายได้ แตกต่างกัน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลม แตกต่างกันโดยระดับรายได้ 8,001 – 12,000 บาท และ 12,001 – 15,000 บาท ได้ให้ความสำคัญกับความคุ้นเคยในรสชาติ ความหลากหลายของบรรจุภัณฑ์ ปริมาณการบรรจุ รวมถึงราคาเหมาะสมกับปริมาณ ซึ่งจะเห็นได้จากการบริโภคน้ำอัดลมขนาด 1 ลิตรขึ้นไปรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบAIS ของประชาชนในจังหวัดระยอง(2553-06-10T09:01:13Z) จารุวรรณ เรืองอร่ามในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการตลาดกรณีศึกษาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS ของประชาชในจังหวัดระยอง ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางการตลาด กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS ในจังหวัดระยองเท่านั้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในแบบสอบถามมีลักษณะเป็นคำถามแบบมีคำตอบให้เลือกได้ 2 ข้อ (Two-way question) คำถามแบบหลายตัวเลือก (Multiple choices question) และคำถามแบบสเกลวัดทัศนคติ (Likert scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t test และ One Way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS ของประชาชน ในจังหวัดระยอง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางการตลาดโดยรวมและรายด้าน ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยทางด้านบุคคลหรือพนักงาน ปัจจัยทางด้านการสร้างลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยทางด้านกระบวน การมีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS ของประชาชน ในจังหวัดระยอง ในระดับมาก และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS ของประชาชน ในจังหวัดระยอง จำแนกตาม ประชากรศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ(2553-06-10T09:07:52Z) บุหรัน ศรีสวัสดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของประชากรอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้า เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกจำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกกับปัจจัยทางการตลาด ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล จากการแจกและเก็บแบบสอบถามตามสถานที่ต่างๆ บริษัท ห้างร้าน โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน ตลาดสด และแหล่งชุมชนทั่วไป ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 ตัวอย่าง โดยเป็นเพศชาย 173 คน เพศหญิง 227 คน ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางการตลาดโดยรวมและรายด้านมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกใกล้บ้านในระดับมาก พฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของประชากรอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการซื้อสินค้าเพราะใกล้บ้านและจำเป็นต้องซื้อและซื้อสินค้าจากร้านเดิมบ่อยๆ มีการวางแผนในการซื้อสินค้าล่วงหน้า พฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกจำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นจำแนกตามเพศ พฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกจำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นจำแนกตามเพศรายการ ส่วนประสมทางการตลาด(4P's)ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา(2552-01-14T09:11:41Z) สาวารส ยิ้มเจริญการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว สถิติที่ใช้ คือ ไคร์-สแควร์ (Chi-Square) ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท พฤติกรรมในการใช้บริการร้านสะดวกซื้อ คือ ใช้บริการร้านสะดวกซื้อมากกว่า 6 ครั้ง/ เดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 1-200 บาท ใช้บริการในวันอาทิตย์ ซื้อเพราะตัวเอง รับรู้ข่าวสารด้วยตนเอง เหตุผลในการซื้อเพราะ สะดวก ซื้อของใช้ประจำวัน ราคาของสินค้าและบริการใกล้เคียงกัน ร้านสะดวกซื้อไม่เพียงพอต่อความต้องการ และชอบการส่งเสริมการขายแบบลดราคา ผลจากการศึกษาวิจัยปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่องการมีบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service) เป็นสำคัญ 2. ปัจจัยด้านราคา ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่อง การมีป้ายแสดงราคาสินค้าชัดเจน เป็นสำคัญ 3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่องการเปิดบริการ 24 ชั่วโมง เป็นสำคัญ 4. ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่อง พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เป็นสำคัญสรุปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้ เพศ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคใจเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ