S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การตัดสินใจ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 12 ของ 12
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:19:58Z) ณัฐกานต์ ภัทร์ประทานพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling Techniques เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีคือ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดทางตรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และการตลาดทางตรง ไม่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีรายการ การศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้าง ในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี(2552-04-24T09:11:45Z) พนารัตน์ พรเศรษฐ์เมธากุลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสถิติ chi-square และ ค่า Cramer’s V ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างหรือลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโดยมีอายุระหว่าง 26 – 30 ปี ระดับการ ศึกษา มัธยมศึกษา หรือ ปวช. สถานภาพสมรส ภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวนสมาชิกพัก 2 คน และส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมการเลือกเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ ก่อนการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยไม่ได้สำรวจเปรียบเทียบที่พักมากที่สุด ประเภทที่พักอาศัยมากที่สุด คือ บ้านเช่า ผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยมากที่สุดคือ ตัวเอง ราคาค่าเช่าต่อเดือนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ ต่ำกว่า 1,500 บาท ระยะเวลาที่เข้า พักอาศัย มากกว่า 2 ปี สาเหตุสำคัญที่ทำให้ย้ายที่พักอาศัยมากที่สุด คือ ที่พักอาศัยไม่สะอาดและทรุดโทรม ประเภทการชำระค่าน้ำและค่าไฟฟ้า คือ แบบติดมิเตอร์แยก 2. การตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้างในเขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ด้านลักษณะห้องเช่า ด้านราคา ด้านทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อม ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการบริการ อยู่ในระดับมากทุกประเด็น 3. ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกจ้าง แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกเช่าที่พักอาศัย แตกต่างกัน ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน เพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของลูกจ้างแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกเช่าที่พักอาศัยไม่แตกต่างกัน 4. ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกจ้างแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ระดับการศึกษา ภูมิลำเนาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยแตกต่างกัน 5. การตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ด้านลักษณะห้องเช่า ด้านราคา ด้านทำเลที่ตั้งและสภาพ แวดล้อม ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบริการ มีความสัมพัธ์กับพฤติกรรมการเลือกเช่าที่พักอาศัยของลูกจ้าง ด้านการสำรวจเปรียบเทียบที่พักอาศัย ประเภทที่พักอาศัย ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัย ราคาค่าเช่าต่อเดือนของที่พักอาศัยในปัจจุบัน ระยะเวลาในการเข้าพักอาศัย สาเหตุสำคัญที่ทำให้ย้ายที่พักอาศัย และการชำระค่าน้ำ ค่าไฟรายการ ปัจจัยด้านการออกแบบร้านค้าส่งผลต่อการรับรู้คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษาร้านค้าปลีกวัตสัน(Watsons)ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี(2552-01-21T03:36:15Z) คฑาวุธ เนตินิยมการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบร้านค้าส่งผลต่อการรับรู้คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษาร้านค้าปลีกวัตสัน (Watsons) ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี เพื่อนำผลจากการศึกษาที่ได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีก หรือ ผู้สนใจ ในการออกแบบร้านค้าเพื่อเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาใช้บริการรวมทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยหากทางผู้ประกอบการค้าปลีก หรือ ผู้สนใจมีการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน และพัฒนาการออกแบบร้านค้าให้มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคดีขึ้น ก็จะทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าเพิ่มสูงขึ้นได้ นำมาซึ่งยอดขายและผลกำไรอย่างยั่งยืน ผลวิจัยพบว่า 1.ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกวัตสันในระดับปานกลาง และ มีเหตุผลในการซื้อสินค้าโดยเห็นด้วยในระดับมากในเรื่อง ตราสินค้า, ความหลากหลาย และการส่งเสริมการตลาด และ เห็นด้วยในระดับปานกลางในเรื่อง บริการ, คุณภาพ และราคาถูก 2.ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าร้านค้าปลีกวัตสัน มีการออกแบบร้านค้ารวมทั้ง 3 ด้าน คือ แผนผังร้านค้า, การจัดแสดงสินค้า และบรรยากาศภายในร้าน ดีในระดับปานกลาง 3.ผู้บริโภคมีการรับรู้คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้านค้าปลีกวัตสัน รวมทั้ง 4 ด้าน คือ คุณภาพ, การออกแบบ, ตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ ดีในระดับปานกลาง 4.ปัจจัยด้านออกแบบร้านค้า กับ การรับรู้คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับปานกลาง 5.การรับรู้คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ กับ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับปานกลางรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ(2552-01-21T03:48:00Z) จิราภรณ์ เพียรทองการศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า 2) ศึกษาถึงส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า และ 3) ศึกษาแนวทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะทางประชากรศาสตร์,พฤติกรรมการใช้และซื้อรถจักรยานยนต์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ตัวแปรตามได้แก่ กระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินการวิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ใช้หรือมีความต้องการซื้อรถจักยานยนต์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาโดยทดสอบความน่าเชื่อถือจากวิธีครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) มีความเชื่อถือที่ 0.9732 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากสถิติเบื้องต้นได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความแตกต่างจากสถิติทดสอบแบบ t test และ แบบ F test ทดสอบค่าความสัมพันธ์ใช้สถิติเพียร์สัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS For Windows Version 11.5 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญสูงสุด รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย, ด้านราคา และ ด้านส่งเสริมการตลาด และมีกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ระดับมาก โดยด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อการซื้อมีผลสูงสุดรองลงมาการตัดสินใจซื้อ, การประเมินทางเลือก, การค้นหาข้อมูล และการรับรู้ เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2) พฤติกรรมการใช้และซื้อรถจักรยานยนต์ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม(2551-02-13T09:10:58Z) พัฒนา ทะนุชิตการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมของลูกค้า ของบริษัท แวน เลียวเวน (ประเทศไทย)จำกัด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน จาก 135 บริษัทที่เป็นลูกค้าของบริษัท แวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรต้นมี 2 ส่วนด้วยกันคือ ด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย ส่วนตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จะประกอบด้วย ความถี่ในการซื้อท่อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อท่อของลูกค้า ของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด และจากนั้นได้นำไปหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามโดยใช้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน โดยได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .7210 และนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้การวิเคราะห์จากโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด จากกลุ่มตัวอย่างพบว่าตัวอย่างที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ภูมิลำเนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะมีการตัดสินใจในการซื้อท่อไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพต่างกัน การตัดสินใจซื้อท่อของลูกค้าของบริษัทแวน เลียวเวน(ประเทศไทย)จำกัด ในด้านความถี่ในการซื้อท่อต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี(2552-01-29T07:18:23Z) พีรภาว์ พุแควัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางตลาด ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี จำนวน 310 คน โดยที่ใช้การคำนวณหา คือ แบบสอบถามปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และค่าแครมเมอร์วี (Cramer's V) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 219 คน สาขาที่สำเร็จการศึกษาก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี สายประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) มากที่สุด และมีผลการเรียน 2.51-3.00 มากที่สุด จำนวน 186 คน พบว่าคณะที่ศึกษาอยู่คณะบริหารธุรกิจ มากที่สุด จำนวน 92 คน สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา จังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 236 คน ซึ่งได้พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 268 คน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ประถมศึกษา มากที่สุดจำนวน 208 คน อาชีพของผู้ปกครอง อาชีพเกษตรกรรม มากที่สุด จำนวน 99 คน มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนรายได้ 10,000-50,000 บาทสูงสุด จำนวน 157 คน ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ได้มีการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน คณะอาจารย์ และบุคลากรสูงสุด เรื่องความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ มากที่สุด และรองลงมาเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนมีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของนักศึกษา ด้านผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยสุดคือ ในด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ปัจจัยทางด้านราคา ซึ่งพิจารณาทางด้านราคาพบว่า ค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ปัจจัยทางด้านสถานที่ให้บริการ โดยพิจารณาทางด้านสถานที่ให้บริการ ซึ่งนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ กับสถานที่ใกล้ที่พักสูงสุดในระดับมาก และในด้านการเดินทางสะดวกนักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากเช่นเดียวกัน ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ พิจารณาทางด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับการมีกองทุนกู้ยืมจากรัฐสูงสุด มีทุนจากความสามารถพิเศษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมีการผ่อนผันในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ มหาวิทยาลัยมีระยะเวลาที่เหมาะสมในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากป้ายประชาสัมพันธ์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่กล่าวมานี้นักศึกษาให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยที่สุด นั่นก็คือการแนะนำจากญาติหรือเพื่อนน้อยสุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี สรุปผลจากการวิเคราะห์ว่าสาขาที่สำเร็จการศึกษาผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยา เขตชลบุรี คณะที่ศึกษาอยู่ สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา พักอาศัยอยู่ในจังหวัด ระดับการศึกษาผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน อาชีพของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น เพศ ที่จะไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร(2551-06-23T06:59:15Z) วสันต์ กนิฏฐะกุลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ในประเทศไทยรวมถึงความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั้งในปัจจุบันและอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One – way analysis of variance :ANOVA,Chi-square และ LSD ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน-นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาทและ มีสถานภาพโสด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของผู้บริโภคในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร พบว่า เหตุผลที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค คือ Spec ของโน๊ตบุ๊คมากที่สุด เงื่อนไขที่ผู้บริโภคในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร นิยมเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค คือ ชำระด้วยเงินสด เพียงครั้งเดียว เหตุผลที่ผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คจากห้างสรรพสินค้า คือ สะดวกสบาย ใกล้บ้าน ติดต่อขอรับบริการสะดวกมากที่สุดภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน สื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขนกรุงเทพมหานคร มากที่สุด คือ สื่อทางโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกๆ ด้านรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี(2552-04-23T05:32:58Z) บุญเลิศ บุญอยู่คงการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนที่อาศัย โดยรอบในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนใน 8 ตำบลโดยรอบอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีจำนวนจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 193,645 คนและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 โดยใช้แบบ เมื่อสอบและแก้ไขแบบสอบถามจนผลการทดสอบเป็นที่ต้องการ ผู้วิจัยทำสำเนาแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 400 ชุด โดยแจกแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ต่อ 1 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกอย่างง่าย (Convenience Simple Random Sampling) ซึ่งผู้วิจัยจะทำการกระจายไปตามตำบล 8 ตำบลโดยรอบในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ค่าความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD. ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยทางการตลาดมีความสำคัญในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด ปัจจัยด้านราคาเป็นอันดับแรก ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ และจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ ต่างกัน ปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา มีระดับความสำคัญในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญเรื่องความเหมาะสมกับการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา ต่างกัน ปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความสำคัญในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย แตกต่างกัน ผู้ซื้อให้ความสำคัญกับตัวสินค้ามาเป็นอันดับหนึ่งรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา : บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด(2551-07-02T08:29:02Z) นิกร ช่วยศรีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สภาพสมรส ระยะเวลาในการปฎิบัติงานที่บริษัทฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 210 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความความคิดเห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานจำแนกตามเพศ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลต่อการตัดสินใจลาออกจากองค์กรมากกว่าเพศหญิง จำแนกตามอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4 ด้านคืออายุแตกต่างกันมีผลในการตัดสินใจในการลาออกด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านปัจจัยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ทางด้านการศึกษาพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านรายได้พบว่าด้านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลในการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ด้านสถานภาพพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยองค์กร และปัจจัยด้านลักษณะงานมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการลาออกอย่างมีนัยสำคัญคือ ปัจจัยด้านด้านลักษณะงาน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของบัณฑิต กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี(2552-02-05T02:34:01Z) ศิริวรรณ ไตรสรลักษณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกข้อมูลตามคณะ เกรดเฉลี่ยสะสม อาชีพผู้ปกครอง อาชีพที่นักศึกษาเลือก และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคณะที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาและข้อมูลพื้นฐานของผู้ปกครองกับการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยผู้ทำวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 210 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป statistical package for the social sciences for windows (SPSS for windows) เพื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพื้นฐานคือค่าเฉลี่ย (mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มากกว่า 2 กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance) และการทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างโดยวิธี LSD และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์ (Pearson chi-square) หาระดับความสัมพันธ์จากค่า Cramer’s V ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยลำดับแรกคือ ด้านความมั่นคงในการทำงาน รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านลักษณะงาน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามคณะโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านลักษณะงาน และด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามเกรดเฉลี่ยสะสมโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านลักษณะงานและด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 4. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามอาชีพของผู้ปกครองโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านความมั่นคงในการทำงาน 5. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามอาชีพที่นักศึกษาเลือก โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านค่าตอบแทน และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 6. คณะที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ กับ การเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7. เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษามีความสัมพันธ์ กับ การเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 8. อาชีพของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ กับ การเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 9. รายได้ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ กับ การเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตอาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี(2562-03-22) ธนพร คิ้วสถาพรบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ด้วยไคสแควร์และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว คือ one way analysis of variance (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ลักษณะส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ยี่ห้อรถยนต์ที่เข้ารับบริการ ประเภทรถยนต์ที่เข้ารับบริการ และอายุการใช้งานของรถยนต์ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประกอบด้วย อายุ (ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง) ระดับการศึกษา (ด้านส่วนใหญ่ท่านใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์วันใด) และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ด้านส่วนใหญ่ท่านใช้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์วันใด และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งเมื่อท่านนำรถยนต์เข้ารับบริการ) และ 3) ลักษณะส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ SPU CHONBURI ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ยี่ห้อรถยนต์ที่เข้ารับบริการ ประเภทรถยนต์ที่เข้ารับบริการ และอายุการใช้งานของรถยนต์ ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05รายการ ส่วนประสมทางการตลาด(4P's)ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา(2552-01-14T09:11:41Z) สาวารส ยิ้มเจริญการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว สถิติที่ใช้ คือ ไคร์-สแควร์ (Chi-Square) ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท พฤติกรรมในการใช้บริการร้านสะดวกซื้อ คือ ใช้บริการร้านสะดวกซื้อมากกว่า 6 ครั้ง/ เดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 1-200 บาท ใช้บริการในวันอาทิตย์ ซื้อเพราะตัวเอง รับรู้ข่าวสารด้วยตนเอง เหตุผลในการซื้อเพราะ สะดวก ซื้อของใช้ประจำวัน ราคาของสินค้าและบริการใกล้เคียงกัน ร้านสะดวกซื้อไม่เพียงพอต่อความต้องการ และชอบการส่งเสริมการขายแบบลดราคา ผลจากการศึกษาวิจัยปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่องการมีบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service) เป็นสำคัญ 2. ปัจจัยด้านราคา ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่อง การมีป้ายแสดงราคาสินค้าชัดเจน เป็นสำคัญ 3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่องการเปิดบริการ 24 ชั่วโมง เป็นสำคัญ 4. ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่อง พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เป็นสำคัญสรุปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้ เพศ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคใจเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ