S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การทำงาน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อระบบความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทไทยแท้งค์เทอร์มินัล(2551-06-20T06:59:01Z) รพีพรรณ สุระประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระบบความปลอดภัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในการทำงานโดยการเปรียบเทียบดังกล่าวจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานบริษัทไทยแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และ One-Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อปีที่ 10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นโสด มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี และ 11 ปีขึ้นไป 2. ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านนโยบายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานบริษัทเคมี พบว่า เพศ รายได้ สถานภาพ และประสบการณ์ในการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ อายุ และระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .05รายการ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการทำงานที่มีผลต่อสมรรถนะการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี(2562-03-09) กัญญาภัค จิระภคเดชงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานด้านปริมาณงาน คุณภาพ เวลาในการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงาน อิทธิพลของกระบวนดังกล่าวที่มีผลต่อสมรรถนะทางด้านประสิทธิภาพ การตอบสนอง และประสิทธิผล ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มตัวอย่าง 100 คน จากจำนวนประชากร 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการทำงานแต่ละด้านมีสัดส่วนของการดำเนินงานที่แตกต่างกัน โดยที่ด้านคุณภาพมีระดับการดำเนินงานสูงสุด รองลงมา คือ ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ส่วนด้านปริมาณงานเป็นด้านที่กระทำน้อยที่สุดเนื่องจากด้านปริมาณงานเป็นจำนวนที่สามารถควบคุมได้ยากเกินไปอาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ด้านปริมาณงานก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่องดังนั้น บริษัทควรรักษาระดับด้านปริมาณงานให้ดีอย่างต่อเนื่องหรือสร้างเครื่องมือเพื่อให้พนักงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ด้วยตนเอง สำหรับอิทธิพลที่มีผลทำให้สมรรถนะของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นได้แก่ ด้านคุณภาพ แต่ด้านเวลาในการปฏิบัติงานที่มากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องควบคุมด้านเวลาในการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับอิทธิพลที่มีผลทำให้สมรรถนะของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ด้านคุณภาพ รองลงมาคือ ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ส่วนด้านปริมาณงานไม่มีผลต่อประสิทธิผลของการทำงานด้านนี้ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตจึงควรควบคุมปริมาณงานให้ตรงเวลามีความถูกต้องและเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อลดความผิดพลาดและต้นทุนที่เกิดขึ้นรายการ ผลกระทบของค่านิยมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัท ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี(2562-03-09) เอกชน โฉมสอาดงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรจำแนกตามปัจจัยด้าน ประชากรศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของค่านิยมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันในองค์กร ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กลุ่มตัวอย่าง 120 คน จากจำนวนประชากร 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยค่านิยมในด้านความก้าวหน้า ด้านความอิสระในการทำงานมีผล เชิงบวกต่อความผูกพันขององค์กรด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานเนื่องจากบริษัทมี การบริหารงานโดยให้ความอิสระในการทำงานอย่างมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ด้านสภาพการทำงานมีผลเชิงลบซึ่งอาจมาจากการที่พนักงานมีส่วนร่วมที่มากเกินไปอาจทำให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างพนักงานกับหัวหน้างานก่อให้เกิดความตึงเครียดและความผูกพันในองค์การ เวลาประชุมทำให้พนักงานไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยได้รับโอกาสในการ นำไปใช้งานจริง การที่จะทำให้สถานที่ทำงานของบริษัทมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมีรูปแบบ ที่เหมาะสมต่อกระบวนการทำงานนั้นบริษัทจะต้องใช้พนักงานจำนวนมากเข้าไปเคลียร์พื้นที่อาจจะ ทำให้พนักงานมองว่าจะเป็นการเพิ่มงานให้กับพนักงานจึงไม่เห็นด้วย บริษัทควรใช้ผู้รับเหมาเข้ามา ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานรายการ ศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด(2552-04-23T06:17:13Z) มานะ มงคลพีรพิทักษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจของพนักงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด และเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัดเดือนกรกฏาคม ปี 2549 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด มีระดับขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด โดยรวมจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด โดยรวมจำแนกตามวุฒิการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน สวัสดิการของบริษัท และ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ บริการโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่ายรายการ อิทธิพลของปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีต่อความพึงพอใจ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ(2562-03-09) สิริวัฒนชัย อัจฉริยะเวชวัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพล ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ กลุ่มตัวอย่าง ของการศึกษาคือเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับชั้นจำนวน 85 คน จากจำนวนประชากร 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ อายุราชการ อายุในสายงาน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพสมรส ระดับชั้นยศ ที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สำหรับปัจจัยในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านลักษณะงานเท่านั้นที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ