S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การบริการ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การรับรู้ต่อการจัดการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ : กรณีศึกษา ศูนย์บริการสาธารณสุขเนินพะยอม จังหวัดระยอง(2551-02-14T18:56:40Z) วิไลรัตน์ สีเหมือนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจ ต่อบริการรักษาพยาบาล ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เนินพยอม และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล กับการรับรู้ต่อการจัดบริการของผู้รับบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 - วันที่ 9 สิงหาคม 2549 ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้การจัดบริการภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับที่จากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือการบริการด้านขั้นตอนบริการ ด้านสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบุคลากร เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้ต่อการจัดบริการด้านบุคลากรควรปรับปรุงจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอกับผู้รับบริการ และห้องยาให้มีความสะดวก และถูกต้อง 2. ความพึงพอใจต่อการบริการภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ รองลงมา ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากบริการ ส่วนความพึงพอใจต่อความสะดวกที่ได้รับจากบริการ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจปานกลาง และที่ควรปรับปรุงคือการให้บริการของห้องจ่ายยาให้มีความสะดวกมากขึ้น 3. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ กับการรับรู้ต่อการจัดบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้กับการรับรู้ต่อการจัดบริการ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านขั้นตอนการบริการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตัวแปร อายุ และอาชีพ ของด้านสถานที่มีความแตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ และระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการรักษาพยาบาลพบว่าตัวแปรทุกตัวได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ กับความพึงพอใจต่อการบริการ ด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ ด้านการประสานการบริการ ด้านอัธยาศัย และการให้เกียรติ และด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการพบว่าไม่แตกต่างกัน 5. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ต่อการจัดบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์กันทุกด้านรายการ ปัจจัยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ในมุมมองผู้ปฏิบัติงาน(2551-06-19T02:46:48Z) อนุพงศ์ พูลสมบัติการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ในมุมมองของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และรายได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของโรงพยาบาสวรรค์ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 152 คน ผลจากการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความคิดเห็นอันดับที่ 1 คือ ด้านความน่าเชื่อถือ อันดับที่ 2 คือ ด้านความปลอดภัย อันดับที่ 3 คือ ด้านความสามารถ อันดับที่ 4 คือ ด้านความเข้าใจผู้รับบริการ อันดับที่ 5 คือ ด้านความเชื่อถือได้ อันดับที่ 6 คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร อันดับที่ 7 คือ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันดับที่ 8 คือ ด้านความสุภาพ อันดับที่ 9 คือ ด้านลักษณะภายนอก และอันดับสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านความสะดวก และเมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า เพศต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน อายุต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสาร ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 21 – 30 ปี กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 31 – 40 ปี และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 41 ปี สถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ระดับตำแหน่งงานต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสารที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับตำแหน่งงานข้าราชการ มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับตำแหน่งงานลูกจ้างประจำ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน