S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การบริการทางการแพทย์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ของประกันสังคม(2551-02-14T02:31:35Z) พัชรา สันทองการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ของประกันสังคมในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความความคิดเห็นของผู้ประกันตน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกันตนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จ.ชลบุรี ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ประกันตนกับการให้บริการทางการแพทย์ของประกันสังคมในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรีจำแนกตามเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยผู้ประกันตนเพศหญิงมีระดับความคิดเห็น ด้านตรวจรักษาของแพทย์และพยาบาล และด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าผู้ประกันตนเพศชาย จำแนกตามอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีอายุไม่เกิน20ปีมีความคิดเห็นที่มีต่อบริการทางการแพทย์ มากกว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 21-30 ปี และ 31-40 ปี ในทุกด้าน จำแนกตามระดับการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีระดับการศึกษาน้อยมีความคิดเห็นต่อการบริการทางการแพทย์มากกว่าผู้ประกันตนที่มีระดับการศึกษาสูง จำแนกตามรายได้พบว่า ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริการทางการแพทย์แต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ประกันตนที่มีรายได้สูงมีความคิดเห็นกับการบริการทางการแพทย์น้อยกว่าผู้มีรายได้น้อย จำแนกตามสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนใช้บริการพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผู้ประกันตนที่ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่ายมีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านเวชระเบียนมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย ส่วนผู้ประกันตนที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่าย