S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การบริหาร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในเขตอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี(2552-01-16T07:22:45Z) ชลกร รัตนวิมลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสภาพการปฏิบัติงานในด้านการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรีเพื่อให้นำผลการวิจัยนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารงานบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริหารงานบุคคลในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ใช้แบบสอบถาม จำนวน 195 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับลักษณะปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าจำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: ANOVA) พบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรบุคคลในด้านการบริหารแรงงานสัมพันธ์ โดยรวม อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายของการบริหารจัดการ ด้านความสัมพันธ์ในองค์กร ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2. สภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรบุคคล จำแนกตามเพศและการมีสหภาพแรงงานหรือไม่มีสหภาพแรงงานโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความแปรปรวนแตกต่างสภาพการปฏิบัติงานในการบริหารแรงงานสัมพันธ์ โดยจำแนกตามอายุ ประสบการณ์ ขนาดขององค์กร (จำนวนพนักงาน) ลักษณะองค์กร และประเภทธุรกิจ/ ประเภทอุตสาหกรรม นั้นมีความแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ทักษะการบริหารของหัวหน้างานการผลิตตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตรถยนต์(2552-01-16T07:55:44Z) มงคล เนื่องจำนงค์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหาร ของหัวหน้างานการผลิตและระดับทักษะการบริหาร ที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ทักษะด้านความคิด (conceptual skills) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (human skills) และทักษะด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน (technical skills) ตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตรถยนต์ จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ พนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต จำนวน 321 คน จากประชากรทั้งสิ้น 1,647 คน จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1) พนักงานฯ มีความคิดเห็น หรือ ทัศนะต่อทักษะการบริหาร (managerial skills) ของหัวหน้าการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะการบริหารด้านเทคนิคการปฏิบัติการเป็นลำดับที่ 1 ทักษะการบริหารด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นลำดับที่ 2 และการบริหารด้านความคิดเป็นลำดับที่ 3 2) พนักงานฯ มีความคิดเห็นหรือทัศนะต่อทักษะการบริหาร ที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ทักษะการบริหารด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นลำดับที่ 1 ทักษะการบริหารด้านเทคนิคการปฏิบัติการ เป็นลำดับที่ 2 และ ทักษะการบริหารด้านความคิด เป็นลำดับที่ 3 3) ทักษะการบริหาร ของหัวหน้างานการผลิตตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต ชายและหญิง ไม่แตกต่างกัน4) ทักษะการบริหาร ของหัวหน้างานการผลิตตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่าย การผลิต โดยรวมจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน มีความแตกต่างกัน ดังนี้ พนักงานฯ ที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 4 ปี และพนักงานฯที่มีประสบการณ์การทำงานตั่งแต่ 4-8 ปี มีความคิดเห็นหรือทัศนะต่อทักษะการบริหารโดยรวม ของหัวหน้างานฯ มากกว่าพนักงานฯ ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 8 ปีขึ้นไป 5) ทักษะการบริหาร ของหัวหน้างานการผลิตที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงานตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต ชายและหญิง ไม่แตกต่างกัน 6) ทักษะการบริหาร ของหัวหน้างานการผลิตที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงานตามทัศนะของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายการผลิต โดยรวมจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน