GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 237
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการคุณภาพโดยรวมขององค์ (TQM) ตามความคิดเห็นของพนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) ระพีพรรณ วงษ์สำเริงชัยการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM)ตามความคิดเห็นของพนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ที่ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติการระบบตอนนอกที่ 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)รายการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน โรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุนิตา จิตอารีรัตน์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในโรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว และเพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในโรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว การจัดการทรัพยากรมนุษย์ แยกเป็น 4 ด้านคือ การคัดเลือกคนเข้าทำงาน การฝึกอบรม การพัฒนา และส่งเสริมความก้าวหน้า การประเมินผลการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทน ผลประโยชน์ อื่น ๆ และความมั่นคงในการทำงาน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานในโรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว จำนวน 91 คน ( แบบสอบถาม ) วิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ การศึกษาพบว่า ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว ยกเว้น เพศ อายุ ประเภทบุคคล รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพ ส่วนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านค่าตอบแทน ผลประโยชน์ อื่น ๆ และความมั่นคงในการทำงาน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมบลิสตัน สุวรรณ พาร์ค วิว อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน บริษัท เอส จี เซ็นเตอร์ จำกัด(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วนิดา วงค์สร้างทรัพย์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัท เอส จี เซ็นเตอร์ จำกัด 2. เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอส จี เซ็นเตอร์ จำกัด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่าเท่ากับ .946โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานบริษัท เอส จี เซ็นเตอร์ จำนวน 311 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 175 คน ตามสูตรการคำนวณของ Yamane วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ T-Test, F- Test (ANOVA) และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานและพนักงานมีระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับมากเช่นกัน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ด้านความปลอดภัยและสุขภาพมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาด้านพนักงานแรงงานสัมพันธ์ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน This research is to study. 1.To study the personal factors that affect the performance of the Company Limited 2.DSG to study human resource management that affect the performance of the employees of SG Center using a questionnaire. tools for data collection The results of the study were to test the reliability (Reliability Coefficient) is equal. 946. The sample used in this study. The company employs 311 people. Analyze by Yamane is sample size 175 people. SG Center Data were analyzed using descriptive statistics were frequency, percentage, average, standard deviation. Data were analyzed to test thehypothesis By using a T-Test, F- Test (ANOVA) and statistical relationships between variables with multiple regression analysis (Multiple Regression Analysis). The hypothesis testing found Personal factors, including gender, age, marital status, educational level. Work experience Average monthly revenue does not affect the performance of the employees and staff of human resource management in general is in high level and the level of performance of the work as a whole. As well as high level of human resource management. Compensation and benefits, safety and health, affect the performance of the work of the Human Resource Management. Human resource planning, The recruitment and selection of human resources, Training and Development, Employee Relations, responsible for evaluating the performance does not affect the operating performance of the employees.รายการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ในบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สินี พุ่มพวงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง 2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การในบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงาน บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง จำนวน 154 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test (One-way ANOVA) และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุและสถานภาพสมรสมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบริษัทโทรคมนาคมแห่งนี้ และ (2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านผลตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ และด้านความปลอดภัยและสุขภาพเท่านั้นที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบริษัทโทรคมนาคมแห่งนี้รายการ การจัดการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาทีมผลิตสื่อดนตรี(2554) วุฒิกานต์ คมขำ; Wutthikan Khomkhamการศึกษาเรื่อง "การจัดการการศึกษาภายในองค์กร กรณีศึกษาทีมผลิตสื่อดนตรีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการสื่อสาร ช่องทางในการสื่อสารทีทีมผลิตสื่อดนตรีเลือกใช้และศึกษาถึงระดับความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในทีมถึงการรวมกลุ่มในการทำงานรายการ การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบางเพลิง หมู่ที่ 3 ตำบลบางเพลิง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชยานิษฐ์ สวัสดิ์จุฑาวุฒิการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบางเพลิง 2) ศึกษาผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบางเพลิงตามเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นทเกณฑ์ 6X2 (6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด) 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบางเพลิง 4) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคของการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบางเพลิง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนและผู้นำบ้านบางเพลิง จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานและการขับเคลื่อน อยู่ในระดับอยู่ดีกินดี ผลการดำเนินหมู่บ้านเศรษฐกิจยากจน สามารถพึ่งพาตนเอง ได้แก่ ด้านการลดค่าใช้จ่าย ด้านการเพิ่มรายได้ ด้านการประหยัด ด้านการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการเอื้ออารี ปัญหาอุปสรรค พบว่า ชุมชนขาดงบประมาณที่สนับสนุนการลงทุน ผลผลิตน้อยและราคาต่ำลง ขาดการสืบทอดองค์ความรู้และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางในการแก้ไข ควรให้องค์ความรู้ อาศัยความร่วมมือชุมชนเห็นคุณค่าและศักยภาพของตนเอง สนับานุนให้ปรัชาชนคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น ผู้นำชุมชนต้องมีความเข้าใจในการดำเนิชีวิตตามแบบทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง และหน่วยงานภายนอกควรให้การส่งเสริมสนับสนุนชุมชนอย่างต่อเนื่องรายการ การนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทยไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายประถม)(หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศิวิมล สมบูรณ์การศึกษาเรื่อง “การนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทยไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายประถม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ต่อการนำนโยบายนโยบายแท็บเล็ตพีซีไปปฏิบัติ และแนวทางการนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งผู้ศึกษาจะทำการรวบรวมข้อมูล จากลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร จานวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามรายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ไพรโรจน์ ปาสารักษ์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห้นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 305 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบสมมติฐานใช้ ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-testรายการ การบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก กรณีศึกษาสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี(Sripatum University, 2565) วัลลภ เลาหสุวรรณการวิจัยเชิงคุณภาพ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารองค์การของสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก ดังนี้ 1) รูปแบบในการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ 2) องค์ประกอบของการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ 3) กระบวนการในการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ 4) แนวทางในการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างรายการ การบริหารแบบระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาควาามปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ทัชชา ศุภมานพการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบระบบราชการของ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย และ 3) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 80 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวยรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารแบบระบบราชการอยู่ในระดับสูง 2) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง และ 3) การบริหารระบบราชการมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทยรายการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จุฑารัตน์ เพ็ชรสุวรรณการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.926 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงาน โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คนซึ่งมีเพศชาย จำนวน 55 คน และเพศหญิงจำนวน 53 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นตัวเครื่องมือในการวิจัยที่ครอบคลุมข้อมูลในส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะของพนักงานในระดับปฎิบัติการ ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบแบบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01รายการ การพัฒนานิทานแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ธนัทพัชร์ อยู่โตการวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิผลของการใช้นิทานแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูด 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดโดยใช้นิทานแอนิเมชั่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ ก่อนการทดลองและหลังการทดลองของเด้กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กนักเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ดัชนีประสิทธิผล และสถิติในการทดสอบสมมติฐานรายการ การพัฒนาบอร์ดเกมคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) สรวีย์ กรกชงามการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อออกแบบบอร์ดเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะทางคณิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยใช้แบบประเมินการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยบอร์ดเกม กลุามเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 42 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน (3) บอร์ดเกมคณิตศาสตร์ (4) แบบประเมินผลการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนนับ 1 -1,000 (5) แบประเมินผลการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าการพัฒนาสัมพัทธ์ และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)รายการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการจัดการขยะ กรณีศึกษาโครงการแยกแลกยิ้ม ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) มณีรัตน์ ทองดีการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการจัดการขยะ ปัญหาขยะก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคของประชาชน ทำให้ปริมาณขยะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมาจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามราชการส่วนท้องถิ่นได้มีการแก้ไขปัญหาขยะด้วยวิธีการต่างๆมาโดยตลอด และหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ขยะที่ถูกคัดแยกบางส่วนเป็นขยะที่มีมูลค่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงทำให้ขยะที่ต้องกำจัดเหลือน้อยลง โครงการแยกแลกยิ้มของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในดครงการที่สนับสนุนให้คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. มากกว่า 1,400แห่งทั่วประเทศ และพื้นที่ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการจัดการขยะ 2) เพื่อศึกษาความรู้ในการจัดการขยะของของบุคลากรในการจัดการขยะ กรณีศึกศส ดครงการแยกแลกยิ้มของ บริษัท โกลบอลเพาเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการจัดการขยะ อยู่ในระดับมาก ความรู้ในการจัดการขยะของของบุคลากรในการจัดการขยะ ต่อโครงการแยกแลกยิ้มของบริษัท โกลบอลเพาเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ขณะที่ เพศ อายุ สถานภาพ ตำแหน่ง ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน ไม่สัมพันธ์กับการส่วนร่วมในการจัดการขยะและความรู้การจัดการขยะโครงการแยกแลกยิ้มรายการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี(Sripatum University, 2566) อัมพรพันธ์ บุญแก้วการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำพัฒนาแผนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีรายการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2565) ญาณเดช คุ้มประยูรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3) เพื่อทราบข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจประชากร คือ ประชาชนชุมชน มีนบุรีอุปถัมภ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครรายการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบินของเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี(Sripatum University, 2565) นรภัทร พวงพันธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่สำคัญในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ตอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) เพื่อยกระดับการคมนาคมขนส่งภายในพื้นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออกให้เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทุกระบบเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบินของชุมชนนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ และเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รายการ การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ธราธร เฟื่องนิภาภรณ์การศึกษาเชิงปริมาณเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และขนาดของหมู่บ้านที่ปกครอง การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี พ.ศ. 2563 ของอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way-ANOVA) และใช้ LSD (Least Square Difference) เพื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่รายการ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษ(หลักสูตร รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) จิรภัทร ระฆังการศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกัน อาชญากรรมคดีพิเศษมีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ เพื่อศึกษากระบวนการในการดำเนินการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน กรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งรูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษ และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเครือข่ายภาคประชาชนการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษรายการ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ชัยรวี วรพันธุ์การศึกษาเชิงปริมาณเรื่อง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนาสาร จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมุล ได้แก่ แบบสอบภาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้ LSD (Least Square Difference) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบแต่ละด้าน ด้านปฏิบัติการมากที่สุด