GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 237
  • รายการ
    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
    (Sripatum University, 2566) อัมพรพันธ์ บุญแก้ว
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำพัฒนาแผนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
  • รายการ
    ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานส่วนกลาง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
    (Sripatum University, 2566) ชัญญ์ญาณ์ สวัสดิดลวัฒน์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานส่วนกลาง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานส่วนกลาง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรของหน่วยงานส่วนกลาง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
  • รายการ
    แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สำนักงานเขตพญาไท
    (Sripatum University, 2566) เกศสุดา ไชยภัฏ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่มี อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และเงินเดือน แตกต่างกัน และ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สำนักงานเขตพญาไท เจ้าหน้าที่ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม 0.88 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ T- test และ F-test (One-Way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
    (Sripatum University, 2566) นิพนธ์ พรมลาไชย
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร 2) ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลของการทำงานของบุคลากร เทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของเทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
  • รายการ
    ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมต่อการให้บริการของสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ทิวาทิพย์ แสนทวี
    การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมต่อการให้บริการของสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงยุติธธรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาเชิงปริมาณ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ในพื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 636 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่สถิติที ความแปรปรวนแบบทางเดียว และรายคู่ด้วย LSD
  • รายการ
    การรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของพนักงานบริษัท นครชัย ซัพพลายแอนด์ซีวิล จำกัด
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) สุรัสวดี ทิพย์พิมพ์วงศ์
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการรับรู้สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม และเพื่อศึกษาแนวทางในการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานบริษัท นครชัย ซัพพลายแอนด์ ซีวิล จำกัด จำนวนทั้งหมด 47 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุ 30 – 40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี พนักงงานส่วนใหญ่มีตำแหน่งงานเป็นพนักงานก่อสร้าง มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001 – 25,000 บาท พนักงานเป็นผู้ประกันตนอยู่มากกว่า 6 ปี มากที่สุด จำนวนครั้งที่พนักงานขอรับประโยชน์ทดแทนทั้ง 7 กรณีของสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม มากที่สุด คือ ไม่เคยใช้สิทธิประโยชน์เมื่อพิจารณาปัญหาทั้ง 3 ด้าน พบว่า ปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ด้านสำนักงานประกันสังคม มีปัญหานอย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 (O = 0.64) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล การเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม จำแนกตามสิทธประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ของพนักงานบริษัท นครชัย ซัพพลายแอนด์ ซีวิล จำกัด ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีการเข้าถึงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของบริษัท รองลงมาเป็นอินเตอร์เน็ต รองลงมาเว็บไซต์ ส่วนระดับการรับทราบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี ของพนักงานบริษัท นครชัย ซัพพลายแอนด์ ซีวิล จำกัด พนักงานส่วนใหญ่ในบริษัท นครชัย ซัพพลายแอนด์ ซีวิล จำกัด ไม่ทราบ ถึงสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ของกองทุนประกันสังคม เหตุผลสำคัญที่พนักงานเลือกช่องทางในการรับรู้ สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี พบว่า เหตุผลสำคัญที่พนักงานเลือกช่องทางในการรับรู้สอทธิประโยชน์กองทุน ส่วนใหญ่ คือ คุณภาพของข้อมูล เช่น ความถูกต้อง ความรวดเร็ว รองลงมาเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อกับสำนักงานประกันสังคม เชื่อถือได้ของข้อมูล และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ผลการวิเคราะห์การเข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม พบว่าปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ด้านสำนักงานประกันสังคมมีปัญหาน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67
  • รายการ
    การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ธราธร เฟื่องนิภาภรณ์
    การศึกษาเชิงปริมาณเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และขนาดของหมู่บ้านที่ปกครอง การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี พ.ศ. 2563 ของอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way-ANOVA) และใช้ LSD (Least Square Difference) เพื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่
  • รายการ
    แรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองสิทธิบัตรและกองสิทธิบัตรออกแบบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
    (Sripatum University, 2566) พิทยา คำหล้า
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองสิทธิบัตรและกองสิทธิบัตรออกแบบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองสิทธิบัตรและกองสิทธิบัตรออกแบบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองสิทธิบัตรและกองสิทธิบัตรออกแบบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรกองสิทธิบัตรและกองสิทธิบัตรออกแบบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • รายการ
    การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ชัยรวี วรพันธุ์
    การศึกษาเชิงปริมาณเรื่อง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนาสาร จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมุล ได้แก่ แบบสอบภาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้ LSD (Least Square Difference) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเงาะโรงเรียนนาสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบแต่ละด้าน ด้านปฏิบัติการมากที่สุด
  • รายการ
    การบริหารแบบระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาควาามปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ทัชชา ศุภมานพ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบระบบราชการของ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย และ 3) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 80 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวยรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารแบบระบบราชการอยู่ในระดับสูง 2) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง และ 3) การบริหารระบบราชการมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กอง 5 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย
  • รายการ
    ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อิทธิพงษ์ กาลศิลป์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน จำแนกตาม เพศ การศึกษา อาชีพ และ สถานภาพ และข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการให้บริการเกี่ยวกับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .959 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ T-test และ F-test (One-Way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    ความคิดเห็นต่อกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างด้านความปลอดภัยในการทำงานตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย บริษัท อิตัลไทยเทรวี่ จำกัด ไซต์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กฤตเมธ ประทุมชาติ
    การศึกษาเชิงคุณภาพเรื่อง “ความคิดเห็นต่อกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างด้านความปลอดภัยในการทำงานตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย บริษัท อิตัลไทยเทรวี่ จำกัด ไซต์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม” การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต่อกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างด้านความปลอดภัยในการทำงานตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์
  • รายการ
    ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) วรพรต บุญเจริญกิจ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่อการให้บริการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามแบบประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .94 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สถิติ T-test และ F-test (One-Way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กาญจนา อดใจ
    การวิจัยเรื่อง การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้กี่ยวกับสิทธิคนพิการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกาคือ คนพิการที่มาใช้บริการ ณ ศูนย์บริการคนพิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการหาค่าแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD
  • รายการ
    ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเลขานุการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) พงษ์ปิยะ มิตรภานนท์
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเลขานุการ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในหารปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเลขานุการ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการสำนักงานเลขานุการ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรงบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open Form) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (u) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (o) สถิติ t-test และสถิติ One-way ANOVA
  • รายการ
    ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
    (Sripatum University, 2566) สาวรีย์ วังกุ่ม
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันความต่อองค์การของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ที่มี เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) พงศธร รูปประดิษฐ์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับความผูกพันข้างต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด และปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ได้แก่ นโยบายการบริหารที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด
  • รายการ
    ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานประกอบการบ้านพักผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ณัฐพงษ์ ทั้งพรมพาณิชย์
    การศึกษาเชิงประมาณเรื่อง ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานประกอบการบ้านพักผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานของสถานประกอบการบ้านพักผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ ประชากร คือ เจ้าของประกอบการ จำนวน 20 แห่งในเขต รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • รายการ
    ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) วนิดา สงวนทรัพย์
    การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนที่เข้ามารับบริการจากงานทะเบียนราษฎร ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 384 คน ได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า chi-square โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ธิดาพร อังกนก
    การศึกษาเชิงปริมาณเรื่อง “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานราชการส่วนกลางของทบ. จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน