บทความวิชาการ

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 47
  • รายการ
    การเพิ่ม Yield บรรจุปลานิลแช่แข็งจากการลดน้ำหนักบรรจุเกิน
    (2557-11-25T09:30:08Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
    การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเพิ่ม Yield บรรจุจากการลดน้ำหนักบรรจุเกินโดยใช้ กระบวนการบรรจุปลานิลแช่แข็งในบริษัทผู้ส่งออกปลานิลแช่แข็งรายใหญ่ของประเทศเป็นกรณีศึกษา งานวิจยเริ่มจากการทำความเข้าใจวิธีการตรวจสอบน้ํ้ำหนักสินคาของบริษัทและลูกค้าให้ตรงกัน จากนั้นจึงศึกษาอัตราน้ำหนักปลานิลที่ เปลี่ยนแปลงในแต่ละข้นตอนการผลิตแล้วนำมากำหนดเป็นมาตรฐานการชั่งในแต่ละขั้นตอนพร้อมทั้งอบรมชี้แจงให้พนักงานเห็นถึงความสําคัญของปัญหา โดยมีการมอบหมายความรับผิดชอบ กาหนดตัวชี้วัดและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาของโครงการสามารถลดน้ำหนักบรรจุเกินจาก 3.41% เหลือ 0.99% โดยไม่มีผลกระทบด้านน้ำหนักบรรจุขาดและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เทคนิคการปรับปรุงดังกล่าว ยังสามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัทหรืิอใช้ในอุตสาหกรรมอื่นได้
  • รายการ
    การปรับปรุง Yield การใช้วัตถุดิบด้วยความมีส่วนร่วมของพนักงาน และเครื่องมือพื้นฐานในการเพิ่มผลิตภาพ
    (2557-09-10T05:39:47Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
    งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความมีส่วนร่วมของพนักงานและการใช้ เครื่องมือพื้นฐานในการเพิ่มผลิตภาพต่อการเพิ่ม Yield การใช้วัตถุดิบในการผลิตปลาทูน่ากระป๋องผ่านการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย และการใช้เครื่องมือพื้นฐานในการเพิ่มผลิตภาพ เช่น เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ผลการปรับปรุงสามารถลดความแตกต่างระหว่าง Yield ที่ทำได้จริงกับ Yield มาตรฐานได้จาก -3.01% เหลือ -1.64 % โดยมีแนวโน้มการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พนักงานของบริษัทยังมีทักษะและความมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน เพิ่มขึ้น และบริษัทมีมาตรฐานในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยตนเองต่อไป
  • รายการ
    Knowledge Management
    (2557-07-28T03:39:23Z) Knowledge Management
    การพัฒนาและการเพิ่มพูนความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยแนวคิดการจัดการความรู้ เพื่อเป็นเวทีและช่องทางเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันจากทุกคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย ที่ถูกรวบรวมทั้งจากแหล่งความรู้ต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรและรวมถึงความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit knowledge) และนำมาพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม และนำมาประมวลผลเป็น Explicit Knowledge การร่วมดำเนินงานกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์จากคณะวิชาต่างๆ ในโครงการพัฒนาการเรียนการสอน ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอื่นๆของมหาวิทยาลัย เช่น ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน และ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ ที่ได้นำประสบการณ์เหล่านี้มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกันตลอดปีการศึกษาที่ผ่านมาและต่อเนื่องมาในปีการศึกษาปัจจุบัน โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการบูรณาการแนวปฏิบัติที่ดี ระหว่างกันอย่างกว้างขวาง และนำมาสู่การพัฒนาปรับปรุงคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีฉบับปีการศึกษา 2556 นี้ขึ้น
  • รายการ
    กระทบแต่ไม่กระแทก สู่เขตการค้าเสรีอาเซียน
    (2556-02-29T18:39:05Z) อรุณวรรณ อุปถัมภ์
  • รายการ
    มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain
    (2556-02-29T18:33:50Z) ชิตพงษ์ อัยสานนท์
  • รายการ
    ความรับผิดชอบต่อสังคม โลจิสติกส์สีเขียว และโซ่อุปทานสีเขียว ความยั่งยืนอย่างแท้จริงหรือเป็นแค่กระแส ?
    (2555-11-28T08:34:52Z) ธัญญสิริ สง่างาม
    “องค์กรที่ให้ความสำคัญและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง” แนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้ในวงการธุรกิจมากขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทำให้เกิดแรงกดดันต่อการดำเนินธุรกิจ ในการพยายามที่จะค้นหาแนวทางการปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางด้านผลิตสินค้าหรือบริการต่างมุ่งหวังผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสร้างความพึงพอใจให้ได้มากที่สุด เพื่อเป้าหมายขององค์กรและการเป็นผู้นำทางธุรกิจ ยุทธ์ศาสตร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวของธุรกิจ หรือที่เรียกว่า Environmental Sustainability in the Organization แต่ในความเป็นจริง องค์กรเหล่านั้นได้นำยุทธ์-ศาสตร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อให้เกิด “ความยั่งยืนอย่างแท้จริง” หรือ เป็นแค่เพียงการ “สร้างภาพ” เพื่อให้ทันกับกระแสโลกกันแน่?
  • รายการ
    การประยุกต์ใช้ AHP ในการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง สำหรับโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดทางพุทธศาสนา
    (2555-11-23T14:50:50Z) พระมหาบัณฑิต อักขระกิจ
    การจัดการด้านห่วงโซ่อุปทานนั้นมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จของธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆ กระบวนการด้านการคัดเลือกผู้มอบถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจก่อสร้างคือการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง ในกระบวนการคัดเลือกฯนั้น บางครั้งผู้มีหน้าที่คัดเลือกฯมิได้ตรวจสอบถึงประวัติการทำงานของผู้รับเหมา มุ่งเน้นแต่เรื่องราคาที่ผู้รับเหมาเสนอเพียงอย่างเดียว จึงทำให้เกิดปัญหาในการทำงานตามมาในภายหลังทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อลดปัญหาในภายหลัง ทางผู้ทำการคัดเลือกควรทำการกลั่นกรองอย่างมีหลักเกณฑ์ และควรมีหลักเกณฑ์ที่ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ดังนั้นการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างจึงถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญกระบวนการหนึ่งในการจัดการห่วงโซ่อุปทานงานก่อสร้าง ปัจจัยต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถเป็นได้ทั้งปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และวิธีคัดเลือกปัจจัยในการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างมีหลายวิธี ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้วิธีการของ Analytic Hierarchy Process (AHP) มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการคัดเลือกปัจจัย และจากผลการศึกษาพบว่า ผู้รับหน้าที่คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดซึ่งเป็นพระอารามหลวงในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องผลงานที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นในปัจจัยด้านความสามารถที่จะทำการก่อสร้างได้สำเร็จ โดยพิจารณาผลงานในอดีตเป็นประเด็นสำคัญ
  • รายการ
    การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบในการผลิตปลาทูน่ากระป๋องด้วยความมีส่วนร่วมของพนักงาน
    (2555-11-02T08:48:01Z) อัศม์เดช วานิิชชินชัย
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ (Yield) ในกระบวนการผลิตปลาทูน่ากระป๋องด้วยความมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย และการใช้เครื่องมือพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพ อาทิ เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ผลการปรับปรุงสามารถลดความแตกต่างระหว่าง Yield ที่ทำได้จริงกับ Yield มาตรฐานได้จาก -3.01% เหลือ -1.64 % (ดีขึ้น 45.5%) โดยมีแนวโน้มการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พนักงานของบริษัทยังมีทักษะ และความมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานเพิ่มขึ้น บริษัทกรณีศึกษามีมาตรฐานในการทำงานที่มีประสิทธิผลมากขึ้นอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยตนเองต่อไป เทคนิคการปรับปรุงต่าง ๆ ในโครงการวิจัยนี้ยังสามารถนำไปขยายผล และปรับปรุงเพิ่มเติมทั้งในบริษัทกรณีศึกษาเอง และในอุตสาหกรรมอื่นโดยอยู่บนพื้นฐานของความมีส่วนร่วมแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • รายการ
    วัฏจักรชีวิตกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพ และคุณลักษณะของกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพที่ยั่งยืน (Productivity Activity Life Cycle and Characteristics of Sustainable Productivity Activity)
    (2555-10-19T02:45:20Z) อัศม์เดช วานิิชชินชัย
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) จำแนกประเภทกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพตามระยะเวลาที่กิจกรรมได้รับความนิยมหรือความยั่งยืนในการถูกนำไปใช้ในภาคธุรกิจทั่วไปเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพแบบแฟชั่น และกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพแบบฟังก์ชั่น พร้อมอภิปรายคุณลักษณะที่ทำให้กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพมีความยั่งยืน และ 2) นำเสนอวงจรชีวิตของกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพจากแนวคิดเรื่องวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และจากประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพของผู้เขียน พร้อมอภิปรายคุณลักษณะที่สำคัญ และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมแต่ละช่วงเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมในองค์กรมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  • รายการ
    Social Media มาถึงจุดสุดยอดหรือยัง
    (มติชน, 2554-08-17) อนุพงศ์ อวิรุทธา
  • รายการ
    อนิจจังกับความเสี่ยงและความสูญเปล่าในโซ่อุปทาน
    (2554-03-24T08:44:39Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    ดุลยภาพในเศรษฐศาสตร์โซ่อุปทาน
    (2554-02-16T10:28:44Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา
    (2554-01-17T03:42:09Z) อนุพงศ์, อวิรุทธา
  • รายการ
    พลังของ Information Flow ในโซ่อุปทาน (คิดก่อนทำ)
    (2554-01-16T07:06:05Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    วัฏจักรชีวิตผลิตภาพ สู่กิจกรรมอมตะ (Productivity Life Cycle) ตอนที่ 1
    (2553-11-30T09:01:24Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    วัฏจักรชีวิตผลิตภาพ สู่กิจกรรมอมตะ (Productivity Life Cycle) ตอนที่ 2
    (2553-11-30T08:58:47Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    รหัสลับพาเรโต้ (The Pareto Code) (ตอนที่ 2)
    (2553-11-30T02:35:22Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    รหัสลับพาเรโต้ (The Pareto Code) (ตอนที่ 1)
    (2553-11-30T02:34:25Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย
  • รายการ
    กรณีศึกษาการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรม
    (2553-11-29T09:37:03Z) อัศม์เดช วานิชชินชัย