EGI-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
  • รายการ
    การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือนที่อยู่ห่างจากเขตจำหน่ายไฟฟ้าจากการใช้จริง
    (Sripatum University, 2563) รัตนา สังข์เจริญ
    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลระบบและความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือนที่อยู่ห่างเขตจำหน่ายไฟฟ้า โดยจากกรณีศึกษาข้อมูล ครัวเรือนมีผู้อยู่อาศัย 4 คน มีความต้องการใช้ไฟฟ้าวันละ 5,501 วัตต์ และได้ออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1.25 กิโลวัตต์ โดยติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ ขนาด 250 วัตต์ จำนวน 5 แผง อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่พิกัด 24 โวลต์ ,60 แอมป์-ชั่วโมง อินเวอร์เตอร์ขนาด 1,500 วัตต์ และแบตเตอรี่ชนิด ดีฟไซเคิล (Deep Cycle) ขนาด 125 แอมป์-ชั่วโมง จำนวน 6 ลูก ต่อแบบอนุกรม 2 ลูก จำนวน 3 ชุด
  • รายการ
    การประเมินสำหรับปรับปรุงอาคารใช้งานเดิมตามมาตรฐานอาคารเขียว กรณีศึกษา อาคารกองบัญชาการ กรมยุทธโยธาทหารบก
    (Sripatum University, 2563) ภานรินทร์ ขำสงค์
    งานวิจัยศึกษาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมของ อาคารกองบัญชาการ กรมยุทธโยธาทหารบก มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง อาคารกองบัญชาการ กรมยุทธโยธาทหารบก ตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีอาคารเดิม) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการประเมินอาคาร 7 หมวด ได้แก่ การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว ผังบริเวณและงานภูมิสถาปัตยกรรม การใช้น้ำ พลังงาน สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร และนวัตกรรม
  • รายการ
    การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับอาคารสำนักงานเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาโครงการซัมเมอร์ ลาซาล
    (Sripatum University, 2563) เขมิกา จิตจำนงค์
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และศึกษาต้นทุนและความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับอาคารสำนักงานเชิงพาณิชย์ โครงการ ซัมเมอร์ ลาซาล จำนวน 4 อาคาร บนพื้นที่รวมบนดาดฟ้าทุกอาคารทั้งหมด 2,513 ตารางเมตร โดยศึกษาการออกแบบและติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาในรูปแบบการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
  • รายการ
    การเพิ่มหมู่ฟังก์ชั่นบนพื้นผิวถ่านหญ้าเนเปียร์ โดยการออกซิไดส์ด้วยโอโซนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดวับดลหะหนัก (เหล็ก)
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อรพินทร์ สาระบูรณ์
    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มหมู่ฟังก์ชั่นบนพื้นผิวของถ่านจากหญ้าเนเปียร์ โดยการออกซไดส์ด้วยโอโซน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของเหล็กในน้ำ จากการศึกษาโดยใช้หญ้าเนเปียร์ที่เผาด้วยเทคโนโลยีชาวบ้าน แล้วนำไปตรวจวัดพื้นผิวและความเป็นรูพรุนของสารตัวอย่างเท่ากับ 337.19 ตารางเมตรต่อกรัม นำถ่านตัวอย่างมาบดแล้วไปออกซิไดส์ด้วยโอโซนโดยใช้เวลา 0.30 60 90 และ 120 นาที แล้วจึงนำไปตรวจสอบเพื่อหาหมู่ฟังก์ชั่นด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานฟอร์ม อินฟาเรด สดปกโตรโฟดตมิเตอร์ และวิธีการไทเทรตของโบห์ม จากนั้นนำถ่านตัวอย่างไปแลกเปลี่ยนไอออน โดยการจุ่มชุ่มในสารละลายเฟอรัสคลอไรด์และตรวจวัดปริมาณการดูดซับไอออนของเหล็กโดยใช้อะตอมมิกแอพซอปชันสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากผลการทดลองพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณของหมู่ฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาที่การใช้ออกซิไดส์เพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณการดูดซับไอออนของเหล็ก จากถ่านที่ไม่ผ่านการออกซิไดส์นั้น สามารถดูดซับได้ 1.81 มิลลิกรัมของเหล็กต่อกรัมของถ่านตัวอย่าง ส่วนถ่านที่ผ่านการออกซิไดส์ที่ 120 นาทีนั้น สามารถดูดซับได้ 4.83 มิลลิกรัมของเหล็กต่อกรัมของถ่านตัวอย่าง ดังนั้นจึวสามารถนำถ่านจากหญ้าเนเปียร์ไปใช้ประโยชน์ในการดูดซับดลหะหนัก (เหล็ก) ในน้ำประปา ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารเคมีตกค้างในกระบวนการผลิตน้ำประปา เพื่อชุมชนได้ใช้น้ำที่สะอาดและปลอดภัย
  • รายการ
    การประเมินการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศของเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำโดยวิธีรวมพลังงานจากภาระงานที่แปรเปลี่ยน
    (Sripatum University, 2563) ปรเมษฐ์ นิติกาล
    งานวิจัยนี้เสนอถึงแนวทางการประเมินสมรรถนะการใช้งานของเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) สำหรับระบบปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่ การศึกษาได้ดำเนินการโดยใช้กรณีศึกษาของระบบเครื่อง Chiller แบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่ใช้ในอาคารสถานีรถไฟบางซื่อ
  • รายการ
    การใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เติมสิน พิทักษ์สาลี
    สารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาให้ทราบถึงการใช้โอโซนที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ และนำมาทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวสารที่ผ่านแก๊สโอโซนภายในระยะเวลาและข้อกำหนดที่เหมือนกัน เพื่อดูลักษณะทางกายภาพของเมล็ดข้าวสาร และเป็นแนวทางการศึกษาหาความเหมาะสมของโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆโดยใช้เครื่องกำเนิดโอโซนดคโรนาดิสชาร์จกำลังผลิต 2,000 มิลลิกรัม โอโซนต่อชั่วโมง พ่นแก๊สโอโซนใส่จุลินทรีย์และเมล็ดข้าวสาร
  • รายการ
    การศึกษาระบบการจัดการขยะและการออกแบบการฝังกลบขยะชุมชนอย่างถูกหลักสุขาภิบาล กรณีศึกษาตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วายุเทน อนันต์โชคลาภ
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัยหาในการฝังกลบขยะและออกแบบการจัดการขยะระยะสั้นและระยะยาว เพื่อการแก้ไขปัยหาการจดการขยะของชุมชนเขาวง อำเภอตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฎิบัติการ โดยผู้วิจัยได้ศึกษา และรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดจากการจัดการขยะในชุมชนเขาวง อำเภอตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี นำมาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาขยะชุมชนโดยการคัดแยกประเภทขยะและตั้วเป้าหมายในการคัดแยกขยะ เพื่อใช้ประโยขน์จากขยะได้สูงสุดโดยการกำหนดเป้าหมาย
  • รายการ
    วิเคราะห์สมรรถนะการใช้พลังงานในดาต้าเซ็นเตอร์ กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เชตุดาภาช สุวรรณวงศ์
    ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมากส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน การเพิ่มโอกาศทางการศึกษา การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและบริการทั้งภาครัฐและเอกชน การนำไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของบุคคล, หน่วยงาน ตลอดจนบริาัทห้างร้าน และโรงงานต่างๆ กิจกรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่กล่าวมานั้น ทำให้เกิดพลังงานอย่างมากมายมหาศาล ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศูนย์ข้อมูล (Data Center) จากผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน สิ่งที่สามารถพบเห็นได้มากที่สุดในการใช้พลังงานจากดาตฟ้าเซ็นเตอร์ในชีวิตประจำวันคือการใช้ Smart Phone ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือที่ทุกคนจะต้องมีติดตัวไว้ โดยข้อมูลที่ถูกนำเสนอผ่าน Smart Phone นั้นจะถูกดึงมาจากดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆที่มีอยู่ทั่วโลกและในดาต้าเซ็นเตอร์แต่ละแห่งก็มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างไม่สมดุลย์และไม่เท่ากัน
  • รายการ
    การเปรียบเทียบผลการคำนวณการใช้พลังงานจากโปรแกรม BEC กับการใช้พลังงานจริงที่เกิดขึ้นในอาคาร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อธิปัตย์ ศรีใสคำ
    สารนิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณการใช้พลังงานในอาคารจากโปรแกรม BEC v.1.0.6 ซึ่งจำลองพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากข้อมูลลักษณะกายภาพของอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กับปริมาณการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นจริงในอาคารสำนักงาน้ขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจที่นำโปรแกรม BEC ไปใช้ได้ตระหนักถึงข้อจำกัดของโปรแกรม BEC และประเด็นที่มีผลต่อการใช้พลังงานของอาคารที่เบี่ยงเบนไปจากค่าที่ได้จากการคำนวณ ซึ่งผลการวิเคราะห์จากโปรแกรม BEC ได้ประเมินปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เท่ากับ 132.701.38 kWh / year ในขณะที่ค่าพลังงานไฟฟ้าจริงจากบิลค่าไฟปี 2561 รวมเท่ากับ 167.492 kWh / year คิดเป็นผลต่างร้อยละ 20.77 ซึ่งสามารถระบุสาเหตุที่มาของความแตกต่างได้ดังนี้ คือ ช่วงเวลาการทำงานของอาคารที่ยาวนานกว่าที่กำหนดตายตัวไว้ในโปรแกรมสำหรับอาคารแต่ละประเภท อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดการจ่ายไฟฟ้าค้างไว้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง หลอดไฟที่เพิ่มขึ้นจากการต่อเติมหลังคาที่จอดรถและหลอดไฟรั้ว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยที่ไม่คงที่ในแต่ละปี ตลอดจนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศขณะใช้งานจริงมีค่าลดลงตามระยะเวลาการทำงานที่ต่ำกว่าคำป้อนเข้าสู่โปรแกรมโดยใช้ข้อมูลจากผู้ผลิต