ความรับผิดชอบในทางละเมิดกรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ถึงมาตรา 437
กำลังโหลด...
วันที่
2551-08-26T03:46:09Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
ในองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิดกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นต้องมีลักษณะที่เป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ และการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น กฎหมายให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นธรรมเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคคลนั้น หรือเป็นการรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 ดังนั้นบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายจึงต้องรับผิชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าการที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น มิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เกิดจากเหตุอื่นที่เข้ามาแทรกแซงหรือเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นละเมิดอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย ถ้าจะให้บุคคลนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจจะไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้ได้ประสบเหตุนั้น
ในกรณีของการกระทำความผิดในทางละเมิดของบุคคลอื่น แต่ให้บุคคลหนึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากบุคคลที่กระทำความผิดเป็นบุคคลที่ตนเองต้องรับผิดชอบในการดูแลหรือว่ามีหน้าที่ในการอบรมและรับผิดชอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เรียกว่าความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น ตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 และมาตรา 430 กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักประกันการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับผลของการกระทำละเมิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น จึงเป็นความรับผิดที่ไม่มีการกระทำความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด แต่เกิดจากข้อสันนิษฐานของความรับผิดทางกฎหมายที่ต้องการปกป้องผู้เสียหาย เนื่องจากกฎหมายถือว่าบุคคลที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแล การควบคุม การสั่งการหรือการใช้ความระมัดระวังไม่ดีพอ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ แต่ถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เกิดจากสาเหตุเหล่านั้น แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้บุคคลนั้นจักได้ใช้ในความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ได้แก่ เมื่อลูกจ้างได้กระทำละเมิดการจะนำเรื่องเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ ยกเว้นความรับผิดสามารถนำมาอ้างได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง
การนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับความรับผิดทางละเมิดทั้งที่เป็นหลักทั่วไปหรือเป็นความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 และความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 มาตรา 429 และมาตรา 430 รวมทั้งความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 433 มาตรา 434 และมาตรา 436 ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ ไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าเหตุสุดวิสัยสามารถที่จะนำมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับคดี ดังนั้นการที่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้จึงเป็นการยืนยันได้ว่าเหตุสุดวิสัยใช้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้ทั้ง 3 ลักษณะของความผิด แม้จะไม่มีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิดไว้
ดังนั้นการพิจารณาที่เกิดจากความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเป็นต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนโดยต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งนักกฎหมายไทยมีความเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับเหตุสุวิสัย จากกรณีที่มีการนำเอาความหมายของเหตุสุวิสัยที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศมาใช้เพื่อการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่จำเลยจากความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย
คำอธิบาย
คำหลัก
กฎหมาย, ละเมิด, ความรับผิด