ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
กำลังโหลด...
วันที่
2552-09-03T07:04:39Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสิทธิของเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะทรัพย์สินและสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ หากเกิดกรณีการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าร่วมกัน เช่นได้มาโดยการโอน หรือรับมรดก ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 49 ย่อมมีปัญหาว่า เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว จะอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าอย่างใดและจะสามารถนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ร่วมมาปรับใช้ได้ เพียงใด
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างซึ่งต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่มีรูปร่างซึ่งได้รับรองในเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตามย่อมสามารถนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ร่วมมาปรับใช้ได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อลักษณะของทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาดังเช่นประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น
วิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน” ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงความเป็นมา ความหมายของสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัญหาทางกฎหมายของสิทธิในเครื่องหมายการค้า กรณีศึกษาถึงปัญหาและแนวทาง แก้ไขนั้น เป็นการศึกษาถึงแนวคิด และหลักการของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งของประเทศไทยและ ต่างประเทศ พบว่ากฎหมายดังกล่าวไม่มีบัญญัติในเรื่องของสิทธิของผู้เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้า ในกฎหมายไทยแต่อย่างใด จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายประการคือ (1) ปัญหาการนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกรรม- สิทธิ์ร่วมมาปรับใช้กับเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน (2) ปัญหาการเข้าสู่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้เป็นเจ้าของร่วม (3) ปัญหาการมีคุณสมบัติของเจ้าของร่วมหลังจากที่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า โดยผู้ศึกษาคาดหวังว่าจะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายต่างๆ ดังกล่าวนี้มีเกิดขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่ละประเทศก็เกิดปัญหาแตกต่างกันออกไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็ต้องหาแนวทางแก้ไขในปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศของตนอันอาจมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตในแบบประเทศของตน เพื่อง่ายต่อการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
คำอธิบาย
คำหลัก
กฎหมาย, เครื่องหมายการค้า, จดทะเบียนการค้า, กรรมสิทธิ์