แผนการปฏิบัติงานเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า กรณีศึกษาแผนกจ่ายกลาง โรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางACTION PLAN OF AUTOCLAVE MACHINE IMPLEMENTATION FORENERGY SAVING. CASE STUDY : CENTER SUPPLY DIVITION MEDIUM-SIZED PRIVATE HOSPITAL.
กำลังโหลด...
วันที่
2556-06-06T11:08:01Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
ศึกษาการจัดทำแผนปฏิบัติงานของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยการติดตั้งเครื่องมือในการวัดพลังงานการใช้กำลังทางไฟฟ้าของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค เพื่อวิเคราะห์จากตัวแปรที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ เวลาในการทำงานของเครื่อง ระยะเวลาในการทำอุณหภูมิหลังจากการปิดเครื่องหรือการเปิดเตรียมความพร้อมใช้งานของเครื่อง (Standby) ไว้จนถึงกำหนดที่ 135 ๐C และกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงเวลาต่างๆเพื่อตอบทดสอบตามสมมติฐานที่ว่า “การบริหารจัดการเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค (Autoclave) โดยวิธีการปิดเมื่อไม่มีการใช้งานและเปิดเครื่องใหม่เมื่อมีการใช้งานจะช่วยให้ เกิดการประหยัดพลังงานได้มากกว่าวิธีการเปิดเตรียมความพร้อมใช้งานของเครื่อง(Standby)ไว้ ตลอดวัน” แล้ววัดค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละช่วงเวลาทุก 5 นาทีจนครบ 1 ชั่วโมงแล้วบันทึกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
คำอธิบาย
"ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิทยาคารพญาไท"
คำหลัก
การปฏิบัติงานเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค, การประหยัดพลังงานไฟฟ้า, แผนกจ่ายกลาง โรงพยาบาลเอกชนขนาดกลาง