การบริหารก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์ กรณีศึกษา : โครงการ ไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ = UNCOMPLETE CONSTRUCTION DRAWING PROJECT IN CONSTRUCTION MANAGEMENT: A CASE STUDY OF WIN CONNECTION DELI PROMENADA CHIANG MAI

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2557-10-15T10:39:30Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การดำเนินวิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ แบบเฉพาะเจาะจงจำนวนทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย โดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่าโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์นั้น ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับสูง มีประสบการณ์ และความเข้าใจในการบริหาร มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย โดยสามารถสรุปหลักการและแนวคิดของการบริหารงานได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลาและแผนการดำเนินงาน ด้านงบประมาณ ด้านรูปแบบอาคารและความสวยงาม ด้านความสัมพันธ์กับที่ตั้งโครงการ ด้านความสัมพันธ์กับระบบการจัดการ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านเทคนิคที่ใช้ในการก่อสร้าง ด้านความปลอดภัย และจากการวิจัยสามารถสรุปประเด็นของปัญหาและสาเหตุได้ทั้งสิ้น 5 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านวัตถุประสงค์โครงการ ปัญหาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านวิธีการและการจัดการ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการติดต่อประสานงานข้อมูลและข่าวสาร ดังนั้นผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ที่ควบคุมและจัดการ การบริหารโครงการจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องของทั้งด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม และการจัดการอย่างดี เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถในการคาดการณ์ และสอดประสานระบบงานส่วนต่างๆ ควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน ความเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของแต่ละโครงการเป็นสำคัญ

คำอธิบาย

"หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม"

คำหลัก

การบริหารก่อสร้างโครงการ, โครงการ ไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่

การอ้างอิง