ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

เชิงนามธรรม

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน และปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จำนวน 311 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน การวิเคราะห์สถิติ t – test และ F-test(One Way ANOVA)และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1.ความแตกต่างด้านอายุ อายุการทำงานและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกัน โดยพบว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี กลุ่มที่มีอายุงาน 50 ปีขึ้นไปและกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 30,001 – 40,000 บาท มีผลปฏิบัติงานที่สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ 2.ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ด้านปัจจัยจูงใจมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยพบว่าปัจจัยจูงใจมีผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กล่าวคือ เมื่อพนักงานได้รับแรงจูงใจในการทำงาน ในด้านปัจจัยจูงใจที่สูงขึ้นย่อมทำให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจัยจูงใจในด้านความสำเร็จในการทำงาน การยอมรับนับถือ และลักษณะของงานที่ท้าทายมีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด ตามลำดับ

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

การอ้างอิง