ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจและบริการกับประเทศกัมพูชา = POTENTIALITIES OF SA KAEO PROVINCIAL ADMINISTRATIVEORGANIZATION IN MANAGING ECONOMIC AND SERVICEISSUES WITH CAMBODIA
กำลังโหลด...
วันที่
2558-01-07T12:25:37Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (อบจ.สระแก้ว)ที่สัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและบริการกับประเทศกัมพูชา เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วระหว่างผู้ประกอบการค้าคนไทยกับคนกัมพูชา และเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจและบริการ ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณโดยการนำอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจและด้านบริการอย่างละ 10 ด้านมาเป็นตัวแปรพยากรณ์ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่น และศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วโดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือที่เป็นคนไทยและเป็นคนกัมพูชา จำนวน 3,500 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรยามาเน่ได้จำนวน 306 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2.ผู้ประกอบการค้าคนไทยกับผู้ประกอบการค้าคนกัมพูชามีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจว่ามีความแตกต่างกัน 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา การบริหารจัดการตลาดโรงเกลือ และ การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้จากทรัพย์สินและการประกอบกิจการท้องถิ่น และความคิดเห็นทางด้านบริการแตกต่างกัน 7 ด้าน คือ การให้บริการของ อบจ. สระแก้ว การบริการด้านสังคมสงเคราะห์ การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ การบริการด้านสาธารณูปโภค การบริการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการบริการด้านการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ตัวแปรปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านบริการ มีความสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรปัจจัยทุกตัว และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำถึงทางบวกในระดับสูงกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05
4.การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ (x1-x10) พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ ด้านการบริหารจัดการสินค้าขาเข้าจากประเทศกัมพูชา (x5) ด้านการบริหารจัดการด้านสินค้าอุตสาหกรรม (x6) และด้านการบริหารจัดการด้านการพาณิชย์ (x8) เข้าสู่สมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร่วมกันส่งผลต่อศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นของ อบจ. สระแก้ว ทางด้านเศรษฐกิจโดยรวม มีค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) = .284 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = .081 และด้านบริการ (x11-x20) พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ ด้านการบริการด้านการขนส่งมวลชนและวิศวกรรมจราจร (x13) การบริหารจัดการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (x18) และด้านการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (x15) ที่เข้าสู่สมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร่วมกันส่งผลต่อศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นของ อบจ. สระแก้ว ทางด้านบริการโดยรวม มีค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) = .346 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = .120
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
ศักยภาพการบริหารจัดการท้องถิ่น, ด้านเศรษฐกิจและบริการ
การอ้างอิง
ณัฐณิชานันท์ เดชอำไพ. 2558. "ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจและบริการกับประเทศกัมพูชา." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.