แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน = THE MOTIVATION TO STUDY FOR A MASTER’S DEGR EE OF THE GOVERNMENT OFFICER IN THE DEPARTMENT OFALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2558-01-22T09:08:51Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออศึกษาเรื่อง แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อายุราชการ ระดับตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน แหล่งทุนสนับสนุน ว่ามีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่ (Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า 1.มีเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.1อายุระหว่าง 36-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.4 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.9 ซึ่งมีอายุราชการ 15 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ37.4 โดยมีตำแหน่งงานระดับชำนาญการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.3 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 31.0 และมีแหล่งเงินทุนที่ีนำมาใช้ในการศึกษาต่อมาจากตนเอง คิดเป็นร้อยละ 48.9 2.ข้าราชการมีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านการพัฒนาตนเองด้านคุณภาพงาน ด้านความก้าวหน้าในงานและรายได้ และด้านการย้ายหรือเปลี่ยนสายงาน

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

การอ้างอิง