ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัว พ.ศ.2550
กำลังโหลด...
วันที่
2562-02-07
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากปัญหา อื่น ๆ มักจะมีภูมิหลังจากปัญหาครอบครัว ซึ่งแต่เดิมนั้น การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จะใช้มาตรการทางอาญาเป็นหลัก แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากปัญหาความรุนแรงทั่วไป ดังนี้ รัฐจึงได้ตรากฎหมายขึ้นมาใช้ กับคดีความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะ ชื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 หลังจากที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มี ผลบังคับใช้ ปรากฏว่าแทบจะไม่มีการนำกฎหมายนี้มาใช้บังคับกับคดีความรุนแรงในครอบครัวเลย เมื่อศึกษาก็พบว่ากฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติที่เป็นปัญหาในการบังคับใช้อยู่หลายประการกล่าวคือ ปัญหาการกำหนดให้เจ้าพนักงานหรือศาลสามารถออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทา ทุกข์เป็นการชั่วคราวในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาคดีได้ต่อเมื่อต้องมีการร้องทุกข์ก่อน ทั้งที่ ความเป็นจริงแล้วแทบไม่มีผู้เสียหายคนใดประสงค์ที่จะร้องทุกข์ เนื่องจากผู้กระทำความรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครอบครัว ดังนี้ ควรจะมีการแก้กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานหรือศาลมี อำนาจออกคำสั่งได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์ก่อน ปัญหาที่กำหนดให้เพียงเฉพาะความผิด ฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เท่านั้นที่เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่ง ขัดต่อสภาพความเป็นจริงว่าการกระทำความรุนแรงในครอบครัวมิได้มีเพียงการทำร้ายร่างกาย เท่านั้น แต่ยังมีการกระทำรูปแบบอื่นอันถือได้ว่าเป็ นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว เช่นเดียวกัน อาทิ การหน่วงเหนี่ยวกักขัง การขู่กรรโชก เป็นต้น ดังนี้ หากให้ความผิดฐานอื่นที่มิใช่ ความผิดอุกฉกรรจ์สามารถยอมความได้ด้วย ย่อมส่งผลดีต่อการรักษาสถานภาพครอบครัวอันเป็น วัตถุประสงค์หลักในการตรากฎหมายฉบับนี้ หรือจะเป็นปัญหาระยะเวลาในการสอบสวนคดีความ รุนแรงในครอบครัวที่กำหนดไว้เพียง 48 ชั่วโมง หากไม่พอให้ผัดฟ้ องได้ครั้งละ 6 วัน และขอได้ไม่ เกิน 3 ครั้ง ซึ่งเป็ นระยะเวลาที่ค่อนข้างน้อย ไม่สามารถสอบสวนได้ทันในทางปฏิบัติ เนื่องจาก ลักษณะการสอบสวนคดีความรุนแรงในครอบครัวนอกจากจะต้องรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ กระทำผิดของผู้ต้องหาแล้ว ยังจะต้องรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติ ฐานะ สภาพครอบครัว ผู้ต้องหา และสาเหตุของการกระทำรุนแรงของผู้ต้องหาอีกด้วย ดังนี้ เพื่อให้พนักงานสอบสวน สามารถสอบสวนคดีความรุนแรงในครอบครัวได้ในทางปฏิบัติ จึงสมควรจะมีการแก้ไขกฎหมาย ให้เพิ่มระยะเวลาในการสอบสวนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ หรือปัญหาในการไกล่เกลี่ยคดีความรุนแรง ในครอบครัว เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ในการรักษาสถานภาพของครอบครัวไว้ ดังนี้ จึงเห็นควรให้นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ด้วย หากมีคู่มือในการนำกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ จะช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น และปัญหา อำนาจศาลในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการแก้ไข ฟื้ นฟู พฤติกรรมผู้กระทำผิดแทนการลงโทษ ที่ ความจริงแล้ว ต้นเหตุของความรุนแรงในครอบครัวนั้นผู้เสียหายส่วนใหญ่มักจะมีส่วนผิดอยู่ด้วย ดังนี้ หากศาลมีคำสั่งแก้ไขพฤติกรรมผู้กระทำผิดฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ สมควรที่จะ ให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขพฤติกรรมของผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายมีส่วนผิดได้ด้วย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น สมควรที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 บางมาตรา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้สามารถนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น
คำอธิบาย
นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
คำหลัก
ความรุนแรง, เหยื่อ