ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ ผู้เสียหายในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
กำลังโหลด...
วันที่
2562-03-08
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม ในประเด็นปัญหาการบอกกล่าวให้สมาชิกกลุ่มแสดงเจตนาออกจากกลุ่ม การแบ่งกลุ่มย่อยและผลผูกพันในคำพิพากษาคดีแบบกลุ่ม จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มศาลจะทำหน้าที่ในการส่งคำบอกกล่าวให้สมาชิกกลุ่มทราบ ถ้าหากไม่ต้องการผูกพันในผลของคำพิพากษาสมาชิกกลุ่มมีสิทธิแสดงเจตนาออกจากกลุ่มได้ตามมาตรา 222/15 (5) และมาตรา 222/16 แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดประเภทของมูลหนี้ที่จะออกจากกลุ่มไว้จึงทำให้มูลหนี้ทุกประเภทออกจากกลุ่มได้ หากสมาชิกกลุ่มคนใดได้ออกจากกลุ่มแล้วนำคดีไปฟ้องใหม่อาจเกิดความขัดกันในผลของคำพิพากษาได้ อีกทั้งการดำเนินคดีแบบกลุ่มสามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้ตามมาตร 222/24 เนื่องจากลักษณะความเสียหายที่แตกต่างกันแต่กฎหมายมิได้กำหนดบุคคลที่ทำหน้าที่แทนสมาชิกกลุ่มย่อย จึงก่อให้เกิดปัญหาไม่มีบุคคลที่ทำหน้าที่แทนสมาชิกกลุ่มย่อย เมื่อมีคำพิพากษาคดีแบบกลุ่มทำให้สมาชิกกลุ่มที่ไม่ทราบคำบอกกล่าวเนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์เป็นพฤติการณ์พิเศษ ต้องผูกพันตามคำพิพากษาไม่สามารถนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ ถือว่าฟ้องซํ้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดประเภทของมูลหนี้ค่าเสียหายเท่านั้นที่จะแสดงเจตนาออกจากกลุ่มได้ และให้มีการแก้ไขข้อกำหนดประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินคดีแบบกลุ่ม พ.ศ.2559 แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่แทนสมาชิกกลุ่มย่อย ส่วนผลผูกพันคำพิพากษาสมาชิกกลุ่มควรแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 148 โดยเพิ่มอนุมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้สมาชิกกลุ่มที่ไม่ทราบคำบอกกล่าวโดยมีพฤติการณ์พิเศษ ให้สามารถฟ้องคดีใหม่ได้โดยไม่เป็นการฟ้องซํ้า
คำอธิบาย
นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
คำหลัก
การคุ้มครองสิทธิ, ผู้เสียหาย, การดำเนินคดีแบบกลุ่ม