มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการการเมืองท้องถิ่น กรณีผิดจริยธรรม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-08

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยงานราชการที่มีความใกล้ชิดกับ ประชาชนมากที่สุด อีกทั้งข้าราชการการเมืองท้องถิ่น อันได้แก่ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น และสมาชิก สภาท้องถิ่น ก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ สะท้อนให้เห็นถึง ความสำคัญของการตอบสนองความต้องการของประชาชนว่า ผู้นำซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบาย บริหาร และขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นจะต้องมาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นนั้นเอง ซึ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น ในฐานะตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกมาพัฒนาท้องถิ่น และในฐานะ ข้าราชการการเมืองผู้กำหนดกรอบนโยบายเพื่อให้พนักงานส่วนท้องถิ่นดำเนินงาน ข้าราชการ การเมืองท้องถิ่นจึงต้องมีระเบียบวินัยในการประพฤติปฏิบัติตน เพื่อเป็นมาตรฐานในการครองตน ให้อยู่ในกฎเกณฑ์ และระเบียบวินัยของการเป็นข้าราชการ จากการศึกษาพบว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น รอง ผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น รองประธานสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เลขานุการ ผู้บริหารท้องถิ่น และที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2554 มิได้ระบุว่า การฝ่าฝืนข้อห้ามหรือข้อ ปฏิบัติดังกล่าวถือเป็นความผิดทางวินัยกรณีผิดจริยธรรมหรือไม่ และจะได้รับโทษเช่นใดสำหรับ ความผิดนั้น อีกทั้งยังขาดมาตรการบังคับทางปกครองในส่วนของการสั่งพักราชการและการให้ ออกจากราชการไว้ก่อน ในกรณีที่ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่าง ร้ายแรงและหากยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ หรืออาจเป็น อุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา หรืออาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นได้ ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าควรกำหนดให้การฝ่าฝืนข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภา ท้องถิ่น รองประธานสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น และที่ปรึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2554 เป็นการสอบสวนทางวินัยกรณีผิดจริยธรรม โดยกำหนดโทษที่จะ ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างชัดแจ้งไว้ในระเบียบ และกำหนดให้มีมาตรการบังคับทางปกครองใน ส่วนของการสั่งพักราชการหรือการให้ออกจากราชการไว้ก่อนของข้าราชการการเมืองท้องถิ่น โดย เทียบเคียงจากหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และ กฎ ก.พ. ที่ใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายประจำ

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

ข้าราชการการเมือง, ท้องถิ่น, วินัยข้าราชการ, จริยธรรม

การอ้างอิง