พอดแคสต์ : สื่อเสียงทางเลือกใหม่

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-12-19

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพอดแคสต์ สื่อเสียงรูปแบบใหม่ในด้าน เนื้อหา รูปแบบ วิธีนำเสนอ รวมทั้งวิเคราะห์อัตลักษณ์เฉพาะตัวของพอดแคสต์ที่เข้าถึงคนเจเนอเรชันใหม่ โดยมีกรอบการวิเคราะห์ตามแนวคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ โดยพบว่าเนื้อหาของพอดแคสต์ในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทเน้นการสร้างเนื้อหารายการชัดเจน ประเภทเน้นผู้จัดรายการมีชื่อเสียง และประเภทผู้จัดเป็นกลุ่มองค์กร และกลุ่มสื่อ เน้นสร้างคอนเทนต์หลากหลายให้เลือก ส่วนผู้จัดพอดแคสต์ควรมีคุณสมบัติเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักเล่าเรื่อง และสามารถคัดสรรเนื้อหาที่น่าสนใจมาถ่ายทอดผ่านการพูดได้ ด้านอัตลักษณ์ของพอดแคสต์คือเป็นสื่อผสมข้ามสายพันธุ์ โดยเป็นทั้งสื่อเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ซึ่งลักษณะของพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมมักมีเนื้อหาแปลกใหม่ เจาะกลุ่มเฉพาะ ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้พอดแคสต์เติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะเข้ากับพฤติกรรมของคน Gen Y และ Z ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและมักเปิดรับสื่อมากกว่า 1 สื่อไปพร้อมกัน และลักษณะของสื่อเสียงที่ไม่ต้องอาศัยสมาธิและความต่อเนื่องในการฟังจึงเอื้อให้ฟังไปพร้อมกับทำกิจกรรมอื่นควบคู่ได้แบบทุกที่ทุกเวลา

คำอธิบาย

บทความวิชาการ "พอดแคสต์ : สื่อเสียงทางเลือกใหม่" เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่อง (Proceeding) การประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 (SPUCON2019) บทความหน้าที่ 885 -894.

คำหลัก

Podcast, Audio Content, New Media

การอ้างอิง

ชนินทร เพ็ญสูตร (2561) “พอดแคสต์ สื่อทางเลือกใหม่: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย” วารสารวิชาการ กสทช. 2561(3) : 272-289. ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2562). “แบรนด์ควรเรียนรู้อะไรจากการเติบโตของพอดแคสต์ แพลตฟอร์มที่ร้อนแรงที่สุด เวลานี้” สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562, จาก https://thestandard.co/benefits-of-podcasting-for-brands/ ปรีดา อัครจันทโชติ. (2560). “โพสต์ โพสต์โมเดิร์นนิสม์กับการสื่อสารในศตวรรษที่ 21” สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562, จาก https://scn.ncath.org/articles/post-postmodernism-and-communication-in-the-21th-century/ ปวรรัตน์ ระเวง และพนม คลี่ฉายา. (2561). “การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพอดแคสต์”. วารสารนิเทศ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 36 (3): 59-76. สมสุข หินวิมาน ... [และคนอื่น ๆ]. (2558). ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. “2019 Podcast Ad Revenue Study.” (2562) . สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562, จาก https://www.iab.com/insights/third-annual-podcast-ad-revenue-study-by-iab-and-pwc-reports-significant-growth/ “10 อันดับพอดแคสต์ไทย ที่คนฟังมากที่สุด.” (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562, จาก https://www.blockdit.com/articles/5d395e9569db8f1299e8a293 อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ Mediumology หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: นาคร. Geoghegan, M.W., & Klass, D. (2005). Podcast Solution. Apress. Marisa M. (2562). “สรุปภาพรวม Podcast 2019 I creator Meet up ครั้งที่ 2.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.rainmaker.in.th/podcast-2019-icreator-meetup/ Nutnon. (2018). “4 เหตุผลที่ Publisher ควรหันมาเริ่มทำ Podcast” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://www.rainmaker.in.th/4-reason-consider-podcasting/ Rainsbury, J.W., McDonell,S.M. (2006). “Podcasts: an educational revolution in the making?” Journal of the royal society of medicine 99(9): 481–482. Tapscott, D. (2011). “The Eight Net Gen Norms” in Bauerlein, M. (editor). The Digital Divide. NY: the Penguin Group. “THE STANDARD PODCAST.” (2019). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562, จาก https://thestandard.co/podcast/ Watson, A. (2019). “Leading locations for listening to podcasts in the United States as of February 2019” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://www.statista.com/statistics/610789/podcast-listening-location/ Winn, R. (2018). “ 2019 Podcast Stats & Facts (New Research From June 2019)” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562, จาก https://www.podcastinsights.com/podcast-statistics/