การประยุกต์ใช้สเก็ตอัพในการถอดปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตของงานสะพานข้ามทางรถไฟ

เชิงนามธรรม

การศึกษาโครงงานสหกิจศึกษาของการประยุกต์ใช้สเก็ตอัพในการถอดปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตของงานสะพานข้ามทางรถไฟเพื่อเปรียบเทียบปริมาณงานที่ใช้จริงและปริมาณงานที่ถอดจาก สเก็ตอัพ ของงานสะพาน โดยใช้ทฤษฎี ค่าสัมบูรณ์ของเปอร์ซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนและและค่ากลางของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยการสร้างโมเดลสามมิติจากแบบก่อสร้างของสะพานข้ามทางรถไฟจานวน 4 ชนิด คือ ฐานราก เสาเข็ม เสาตอม่อ และ Segment Box Girder โดยฐานรากจานวน 20 ตัว เสาเข็มจานวน 80 ต้น เสาตอม่อจานวน 20 ตัว และ Segment Box Girder จานวน 4 ชนิด โดยทาการถอดปริมาณงานโดยใช้คาสั่งเสริมของ Profile builder 2.1 ในการถอดปริมาณงานแล้วทาการบันทึกข้อมูลโดยการสร้างตาราง โดยกาหนดตัวแปร y คือปริมาณงานที่ใช้จริง และ ̂ คือปริมาณงานที่ถอดจากสเก็ตอัพ แล้วนามาหาค่าความคลาดเคลื่อน จากผลการศึกษาพบว่า ฐานรากมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ 1% เสาเข็มมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ 3.86% เสาตอม่อมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ 3.9% และ Segment Box Girder มีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ 2.69 % ซึ่งสเก็ตอัพใช้ในการถอดปริมาณงานก่อสร้างโครงการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการถอดปริมาณงานก่อสร้างโดยวิธีหยาบจากผู้มีประสบการณ์

คำอธิบาย

โครงงานวิศวกรรมโยธา

คำหลัก

ปริมาณงานเหล็กเสริม, สเก็ตอัพ, ค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อน

การอ้างอิง

ยุภาวดี เกษมุล. 2560. "การประยุกต์ใช้สเก็ตอัพในการถอดปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตของงานสะพานข้ามทางรถไฟ." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.