“การศึกษาหมอนขวานหัตถกรรมพื้นบ้านชาวอีสานสู่การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์”
กำลังโหลด...
วันที่
2561-10-25
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เชิงนามธรรม
ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์ ได้แรงบันดาลใจมาจากหมอนขวาน
ซึ่งเป็นภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน มีรูปทรงสามเหลี่ยมใช้สาหรับพิงด้านข้างหรือ
ด้านหลัง แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ใช้หลักทฤษฎีการออกแบบและองค์ประกอบด้าน
ประโยชน์ใช้สอย สู่กระบวนการวิเคราะห์หาอัตลักษณ์ทั้งด้านรูปธรรม และนามธรรม อีกทั้งยังใช้
เทคนิคการตัด และลดทอนรายละเอียด โดยยังคงรูปโครงสร้างหลักของสามเหลี่ยมด้านเท่าของหมอน
ขวานเอาไว้ แต่ปรับให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น เพิ่มคุณสมบัติใช้งานโดยใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นโครงสร้าง
หลักแทนไส้หมอน และเพิ่มช่องว่างด้านข้างเป็นพื้นที่เก็บของ ออกแบบเบาะรองนั่งแบบเดี่ยว ทาให้
สามารถถอดซักทาความสะอาดและประกอบกลับได้ โดยผู้ใช้งานสามารถสลับปรับเปลี่ยนได้ตามความ
ต้องการ ตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่ที่จากัด การออกแบบนี้แสดง
ถึงการพัฒนาต่อยอดแนวคิดจากภูมิปัญญา แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ด้านรูปแบบการใช้งานของหมอน
ขวาน
คำอธิบาย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560
คำหลัก
หมอนขวาน, หมอนสามเหลี่ยม, เบาะรองนั่งอเนกประสงค์, Triangular backrest pillow, Triangle-shaped pillow, The multi-purpose cushions
การอ้างอิง
ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์. 2561. “การศึกษาหมอนขวานหัตถกรรมพื้นบ้านชาวอีสานสู่การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ พื้นถิ่น โขง ชี มูล ราชภัฏอุดรธานี (3),1407-1420.