การยศาสตร์สมาธิสู่การออกแบบสมถกรรมฐานอาสนะ
กำลังโหลด...
วันที่
2561-10-25
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เชิงนามธรรม
ปัจจุบันการทำสมาธิเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ การวิจัยจานวนมากบ่งชี้ว่าช่วยเพิ่ม
ความสามารถทางร่างกายและจิตใจของผู้ที่สนใจปฏิบัติ ผลงานสร้างสรรค์นี้มีแนวคิดจากการศึกษา
เรื่องการยศาสตร์ของผู้ทำสมาธิโดยยึดตามหลักการของการทำสมาธิรูปแบบสมถกรรมฐาน
(Samadhi) ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำสมาธิ หนึ่งในปัจจัยการทำสมาธิของคนในปัจจุบันคือปัญหาของ
การนั่งสมาธิบนพื้นราบที่มีระยะเวลานาน ทำให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ โครงสร้างของ
กระดูก และปัจจัยทางสรีรวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแนวคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสมถกรรม
ฐานอาสนะ จากการศึกษาการยศาสตร์ของการทำสมาธิเป็นอีกวิธีหนึ่งแนวทางเพื่อออกแบบ
เครื่องมือในการอานวยความสะดวกของผู้ปฏิบัติสมาธิได้ดี โดยไม่ขัดกับการปฎิบัติสมาธิตามหลักสม
ถกรรมฐาน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกจิตให้มีสมาธิและส่งผลให้เกิดภาวะสมดุลทั้งจิตใจและสรีระ
ของผู้ปฎิบัติ ผู้ศึกษาจึงสนใจการวิเคราะห์ถอดระยะสัดส่วนของการยศาสตร์การนั่งสมาธิในรูปแบบ
ต่างๆ และใช้ทฤษฎีการนั่งสมถกรรมฐาน มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รูปทรงที่ตอบสนองกับสรีระ
และออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องเรือนประเภทลอยตัว
คำอธิบาย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560
คำหลัก
การยศาสตร์, สมถกรรมฐาน, การออกแบบอาสนะ, Ergonomics, Tranquility Meditation, Meditation Seat Design
การอ้างอิง
อานนท์ พรหมศิริ. 2561. “การยศาสตร์สมาธิสู่การออกแบบสมถกรรมฐานอาสนะ” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ พื้นถิ่น โขง ชี มูล ราชภัฏอุดรธานี (3),1421-1436.