ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันความเสียหายจากการกระทำละเมิด กรณีศึกษา : คำขอคุ้มครองชั่วคราวให้หยุดกระทำละเมิดก่อนฟ้อง
กำลังโหลด...
วันที่
2563
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
วิธีการชั้่วคราวก่อนพิพากษา ตามบทบัญญัติประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 (2) ของประเทสไทย เป็นวิธีคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ซึ่งศาลสามารถออกคำสั่งให้ความคุ้มครองชั่วคราวได้เร็วที่สุด คือ การคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 266 ถึง 270 มีเงื่อนไขให้โจทย์ต้องยื่นคำร้องมาพร้อมกับคำฟ้อง โดยไม่ให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง กรณีที่มีการกระทำหรือกำลังจะกระทำการละเมิดก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งแตกต่างจากกฏหมายในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรสวีเดน มีการให้ความคุ้มครองประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หรือคาดว่าจะได้รับความเสียหาย หรือคู่กรณีมีการกระทำหรือกำลังจะกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายก่อนยื่นฟ้องคดี อันเป็นการคุ้มครองบรรเทา หรือเยียวยาความเสียหายในรูปแบบ Interim Injunction ตามเจตนารมณ์สำคัญของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง เพื่อเป็นการเยียวยาแก่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำละเมิดเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ได้รับบทบัญญัติที่กฏหมายให้อำนาจมีคำสั่งห้ามชั่วคราวก่อนฟ้องได้ทันทีเพื่อระงับหรือละเว้นการกำลังกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากการกรำทำละเมิด
คำอธิบาย
คำหลัก
ป้องกันความเสียหาย, คำขอคุ้มครองชั่่วคราว
การอ้างอิง
นุจิรา มีชัย. 2557. "ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันความเสียหายจากการกระทำละเมิด กรณีศึกษา : คำขอคุ้มครองชั่วคราวให้หยุดกระทำละเมิดก่อนฟ้อง." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.