การออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ด้วยโปรแกรมพีวีซีสโดยพิจารณาดัชนีการติดตั้ง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565-11-18

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

EECON45

เชิงนามธรรม

บทความนี้ได้นำเสนอการออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โดยใช้โปรแกรมพีวีซีสเพื่อประเมินหาจุดคุ้มทุนในกรณีที่ติดตั้งแผงในทิศและมุมเอียงที่ให้พลังงานสูงสุด โดยการจำลองโหลดของบ้านพักอาศัยแบ่งเป็น 4 กรณีคือ กรณีที่มีความต้องการใช้พลังงานในช่วงกลางวันน้อย มีค่าโหลดรวม 30.0 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานตลอดเวลาและต่อเนื่องตลอดทั้งวัน มีค่าโหลดรวม 45.9 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานส่วนใหญ่อยู่ช่วงเย็น มีค่าโหลดรวม 51.2 หน่วยต่อวัน และกรณีที่มีการใช้พลังงานของกรณีที่ 2 และ 3 รวมกัน มีค่าโหลดรวม 97.2 หน่วยต่อวัน จากการออกแบบและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าระยะเวลาการคืนทุนมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังการผลิตติดตั้ง ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายรวมในการติดตั้งระบบ และอัตราการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่สามารถขายไฟคืน ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะให้ระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 9.4 6.1 6.0 และ 5.3 ปี ส่วนกรณีที่สามารถขายไฟคืนค่ากำลังผลิตติดตั้งที่เพิ่มขึ้นจะมีระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 7.1 5.9 5.8 และ 5.1 ปี ดังนั้นระบบที่มีกำลังผลิตติดตั้งสูง การผลิตไฟฟ้าก็จะมากตาม เนื่องจากต้นทุนของระบบจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบเป็นต้นทุนต่อวัตต์ ส่วนการใช้ดัชนีการติดตั้งมาช่วยประเมินหาขนาดกำลังผลิตติดตั้ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการขายระบบหรือผู้สนใจติดตั้งระบบสามารถใช้ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวันในบิลค่าไฟมาคำนวณหาขนาดกำลังผลิตติดตั้งได้เบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนติดตั้งระบบเพื่อลดค่าภาระค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

คำอธิบาย

คำหลัก

ระยะเวลาคืนทุน

การอ้างอิง