การพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง
กำลังโหลด...
วันที่
2565
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ )1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง (2) เพื่อประเมินระดับความแลาดทางดิจิทัลก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนร฿้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง จำนวน 5 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด แบบประเมินสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ท้ายคาบโดยนักเรียน และแบบทดสอบวัดความฉลาดทางดิจิทัลมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.79 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2564 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร จำนวน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
คำอธิบาย
ตารางและรูปภาพประกอบ
คำหลัก
ความฉลาดทางดิจิทัล, การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง
การอ้างอิง
ปิยะพงษ์ ธรรมรักษ์. 2563. "การพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง." สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการเรียนรู็และการสอน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.